รูปแบบของหลักธรรมาภิบาลที่เหมาะสมในบทบาท และหน้าที่ของทนายความ

Main Article Content

supawit kamtita

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ศึกษาและวิจัยเรื่องรูปแบบของหลักธรรมาภิบาลที่เหมาะสมในบทบาทและหน้าที่ของทนายความ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อ วิจัยนี้ศึกษาและวิจัยเรื่องรูปแบบของหลักธรรมาภิบาลที่เหมาะสมในบทบาทและหน้าที่ของทนายความ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัญหาเกี่ยวกับบทบาทและหน้าที่ ความเชี่ยวชาญในวิชาชีพ และการขออนุญาตเปิดบริษัทที่ปรึกษากฎหมายของทนายความ (2) ศึกษาแนวคิด หลักการ และทฤษฎี ที่เกี่ยวข้องกับบทบาทและหน้าที่ ความเชี่ยวชาญ และการขออนุญาติเปิดบริษัทที่ปรึกษาของทนายความ (3) ศึกษาหลักธรรมมาภิบาลและกฎหมายเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ ความเชี่ยวชาญ และการขอเปิดบริษัทที่ปรึกษาของระหว่างประเทศ ต่างประเทศ และประเทศไทย  (4) ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้กับบทบาทและหน้าที่ของทนายความ ความเชี่ยวชาญในวิชาชีพทนายความ และการขออนุญาตเปิดบริษัทที่ปรึกษากฎหมาย  (5) ศึกษาการจัดทำรูปแบบหลักธรรมาภิบาลที่เหมาะสมเพื่อบทบาทและหน้าที่ของทนายความ ความเชี่ยวชาญ และการขอเปิดบริษัทที่ปรึกษากฎหมายโดยใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก


          ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัญหาเกี่ยวกับการฝึกหัดงานในสำนักงานทนายความ พบว่าสำนักงานทนายความเปิดรับผู้เข้าอบรมฝึกงานในภาคปฏิบัติหลายสำนักงาน แต่มีบางแห่งที่ยอมลงลายมือชื่อรับรองให้ผู้ฝึกงาน โดยที่ผู้ฝึกงานนั้นไม่เข้าฝึกงานอย่างแท้จริง หรือที่เรียกว่าฝากชื่อไว้ ส่งผลให้ผู้ฝึกงานนั้นขาดองค์ความรู้ในการประกอบวิชาชีพทนายความ (2) ปัญหาเกี่ยวกับความเชี่ยวชาญของทนายความ พบว่าในกฎหมายควบคุมการวิชาชีพทนายความกลับไม่ได้กำหนดถึงความเชี่ยวชาญไว้ ส่งผลให้ปัจจุบันทนายความหนึ่งท่านสามารถว่าความได้ทุกคดีตามที่ลูกความมาว่าจ้าง ทำให้ขาดความชำนาญ (3) ปัญหาเกี่ยวกับมาตรฐานของบริษัทที่ปรึกษากฎหมาย พบว่ากฎหมายไม่ได้จำกัดหรือห้ามมิให้การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทในรูปแบบของการว่าความ ให้คำปรึกษาด้านกฎหมาย หรือการทำคดีต่าง ๆ จึงมีผลว่าการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทเพื่อกระทำกิจการใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย แม้ว่าบุคคลนั้นจะไม่ใช่ทนายความและไม่มีใบอนุญาตให้เป็นทนายความ ทำให้การควบคุมมาตรฐานบริษัทที่ปรึกษากฎหมายยังไม่มีประสิทธิภาพ


          ดังนั้น การวิจัยครั้งนี้จึงได้เสนอรูปแบบของหลักธรรมาภิบาลที่เหมาะสมในบทบาทและหน้าที่ของทนายความ คือ พระราชบัญญัติทนายความ (ฉบับที่..) พ.ศ. .... ประกอบด้วยเนื้อหาที่เกี่ยวกับหลักธรรมาภิบาลที่เหมาะสมเพื่อบทบาทและหน้าที่ของทนายความ ความเชี่ยวชาญในวิชาชีพทนายความ และการขออนุญาตเปิดบริษัทที่ปรึกษากฎหมาย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สำนักงานกฤษฎีกา. (2564). พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2563. จาก http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%B701/% B701-20-2528-001.htm.

ภัทระ ลิมป์ศิระ. (2556). หลักนิติธรรมสากลกับวิชาชีพทนายความ. งานวิจัย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

กรมทรัพยากรธรณี. (2564). ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2563. จาก http://www.dmr.go.th/download/10.pdf.

มะโน ทองปาน. (2546). บทบาทของสภาทนายความกับช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย. การอบรมหลักสูตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง (บ.ย.ส.) วิทยาลัยการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม.

สมัคร เชาวภานันท์. (2540). การปฏิรูประบบงานของสภาทนายความ. การอบรมหลักสูตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง (บ.ย.ส.) วิทยาลัยการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม.

สุจริต ถาวรสุข. (2513). ความสำคัญของทนายความ. กรุงเทพฯ: ไทยสัมพันธ์.