การพัฒนานวัตกรรมการจัดการความรู้หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ : กรณีศึกษาบ้านสายออ หมู่ 1 ตำบลสายออ อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

กนกพร ฉิมพลี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการจัดการความรู้หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบเพื่อศึกษาเงื่อนไข/ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ และเพื่อพัฒนานวัตกรรมการจัดการความรู้ของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ เป็นการวิจัยโดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสนทนากลุ่ม และแบบสังเกต ในการวิเคราะห์ข้อมูลตามระเบียบวิธีกรณีศึกษา


            ผลการวิจัย พบว่า 1) การศึกษากระบวนการจัดการความรู้หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ มุ่งศึกษาในพื้นที่ หมู่ที่ 1 บ้านสายออ อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา จำแนกตามกระบวนการจัดการความรู้ จำนวน 5 ประเด็น ได้แก่ การกำหนดความรู้ การแสวงหาและยึดกุมความรู้ การแลกเปลี่ยนความรู้ การจัดเก็บความรู้ และการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ เป็นการศึกษาตามแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงผ่านกิจกรรมที่โดดเด่นของชุมชนจำนวน 5 กิจกรรม ได้แก่ 1) ความพอประมาณ ผ่านกิจกรรมการส่งเสริมการปลูกผักสวนครัวในระดับครัวเรือน 2) ความมีเหตุผลผ่านกิจกรรมการจัดเวทีประชาคมระดับหมู่บ้าน 3) การมีภูมิคุ้มกันที่ดี ผ่านกิจกรรมการส่งเสริมการทำบัญชีครัวเรือน 4) การสร้างองค์ความรู้ในชุมชน ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นดั้งเดิมของชุมชน5) การยึดหลักคุณธรรมในชุมชน ผ่านกิจกรรม


ส่งเสริมให้คนในชุมชน ลด ละ เลิก อบายมุข 2) เงื่อนไข/ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบในครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 2 ปัจจัย ได้แก่ (1) ปัจจัยภายในชุมชน ประกอบด้วย วัฒนธรรมของชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้นําชุมชน ระบบเศรษฐกิจของชุมชน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมของชุมชน และ (2) ปัจจัยภายนอกชุมชน ได้แก่ การส่งเสริมจากหน่วยงานภาครัฐ 3) การพัฒนานวัตกรรมการจัดการความรู้ในรูปแบบของนวัตกรรมระดับกระบวนการด้านการจัดการความรู้ โดยมีการพัฒนาเป็นคู่มือนวัตกรรมกระบวนการจัดการความรู้หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ที่มาพัฒนาภายในการอธิบายด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย มีภาพกระบวนการประกอบการดำเนินงาน ซึ่งในมาพัฒนาในรูปแบบของ E-BOOK” เพื่อง่ายต่อการเข้าถึง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการพัฒนาชุมชน. (2554). คู่มือการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ. กรุงเทพฯ : สำนักเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน กระทรวงมหาดไทย.

ณัฐนิชา สมฤทธิ์ .(2555). การจัดการความรู้ชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียงระดับประเทศ กรณีศึกษา ชุมชนบ้านดอกบัว หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านตุ่น อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา. วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ณัฏฐ์ฎาพร แสงสุวรรณ. (2555). ความสำเร็จในการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของหมู่บ้าน เศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบในจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. เชียงใหม่ :มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พระครูจันทธรรมานุวัตร (มะลิ โคตรแสง). (2560). นวัตกรรมการจัดการความรู้บนพื้นฐานวิถีพุทธประเพณี เพื่อชุมชนที่เข้มแข็งและยั่งยืน. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

สิปปภาส โรจนวสุธร และ บุญสม เกษะประดิษฐ์. (2561). “นวัตกรรมจากรากหญ้าแนวเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษา: กลุ่มเครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านอีสาน.” วารสารการบริหารปกครอง (Governance Journal). 7(1) : 681-702.

Davenport, Thomas H. and Lawrence Prusak. (1998). Working Knowledge: How

Organization Manage What They Know. Cambridge, MA: Harvard Business School Press.