การพัฒนาผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวสูตรเข้มข้นน้ำมันมะพร้าวเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของวิสาหกิจชุมชนบ้านแสงอรุณ อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

Main Article Content

กฤตชน วงศ์รัตน์
โสภาพร กล่ำสกุล
กนกพร บุญธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวสูตรเข้มข้นน้ำมันมะพร้าว และ  2) ประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวสูตรเข้มข้นน้ำมันมะพร้าว  เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของวิสาหกิจชุมชนบ้านแสงอรุณ อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สมาชิกกลุ่มผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวสูตรเข้มข้นน้ำมันมะพร้าวของวิสาหกิจชุมชนบ้านแสงอรุณ จำนวน 5 คน และผู้บริโภคในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 100 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า  1) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวสูตรเข้มข้นน้ำมันมะพร้าวเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ พบว่า การพัฒนาผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวสูตรเข้มข้นน้ำมันมะพร้าว โดยเนื้อครีมมีสีขาว มีกลิ่นหอม อุดมด้วยสารสกัดเข้มข้นจากน้ำมันมะพร้าวบริสุทธ์ มีวิตามินอีสูง ช่วยให้ความชุ่มชื้น ไม่มีความระคายเคืองต่อผิว  โดยจะบรรจุใส่กระปุก ขนาด 50-100 กรัม และออกแบบบรรจุภัณฑ์เป็นแบบกล่องกระดาษที่บรรจุกระปุกครีมได้พอดี  และสีของบรรจุภัณฑ์ประกอบด้วยสีขาว สีฟ้า ออกแบบเป็นลวดลายที่มีความเป็นเอกลักษณ์  และ 2) ผู้บริโภคในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์มีความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวสูตรเข้มข้นน้ำมันมะพร้าว โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก  เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ผู้บริโภคมีความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์มีเนื้อครีมเข้มข้นบางเบาทาแล้วซึมลงสู่ผิวหนังได้ดีมากที่สุดมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ เนื้อครีมมีความนุ่มอ่อนโยนต่อผิวไม่เหนียวจับกับผิวได้ดี  มีกลิ่นหอม  ไม่มีความระคายเคืองต่อผิว  การบรรจุภัณฑ์สวยงามและน่าสนใจ สามารถป้องกันน้ำและเหงื่อไม่ไหลเยิ้มระหว่างกัน รายละเอียดส่วนผสมและป้ายฉลากที่ชัดเจน  มีสามารถป้องกันผิวไหม้และหมองคล้ำ  และสามารถป้องกันผิวจากรังสี UV จากแสงแดดได้ดี ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ฉัตรชัย สังข์ผุด. (2557). การเพิ่มคุณสมบัติการต้านอนุมูลอิสระและเชื้อจุลินทรีย์ของน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นโดยการดัดแปลงโครงสร้างทางเคมีด้วยการประยุกต์ใช้เอนไซม์ไลเปส. (รายงานการวิจัย), นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

ณัฐกาญจน์ สุวรรณธารา. (2560). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อความพึงพอใจในการเลือกซื้อเครื่องสำอางตราสินค้าไทยของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 11(25), หน้า 164-171.

นภาทิพย์ ไตรกุลนิภัทร. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์กันแดดในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

มันตาภรณ์ อนะวัชพงษ์. (2559). พฤติกรรมการเลือกซื้อและทัศนคติต่อรูปแบบบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางประเภทดูแลผิวของผู้บริโภคเพศชายสมัยใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, นิเทศศาสตร์และ นวัตกรรม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

วรรณพรรธน์ ริมผดี. (2554). กลยุทธ์การสื่อสารตลาดเชิงบูรณาการสำหรับธุรกิจโรงแรม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต.

วรุณกาญจน์ วริศเศรษฐ์ชาญ. (2552). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ของธุรกิจ OTOP กลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าไหมในกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสาร. วิทยานิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี. (2563). ความเป็นมาโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://district.cdd.go.th/bansang/services/ความเป็นมาโครงการหนึ่ง/. (วันที่สืบค้นข้อมูล 1 กรกฎาคม 2563).

Tipphachartyothin, P. (2014). Quality Control: The importance of consistency. Journal of Productivity world, 19(110), หน้า 91-96.