การพัฒนาเมืองเพชรบุรีแบบร่วมมือกันตามแนวคิดภาคประชาสังคมเมืองเพชรบุรี

Main Article Content

สรัญพัทธ์ เอี๊ยวเจริญ

บทคัดย่อ

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์แนวคิดภาคประชาสังคมเมืองเพชรบุรี (2) วิเคราะห์การพัฒนาเมืองเพชรบุรีแบบร่วมมือกันตามแนวคิดภาคประชาสังคมเมืองเพชรบุรี และ (3) เสนอแนวทางการพัฒนาเมืองเพชรบุรีแบบร่วมมือกันตามแนวคิดภาคประชาสังคมเมืองเพชรบุรี


            การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพประกอบด้วยการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากการวิจัยเอกสาร และการสัมภาษณ์เจาะลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญประกอบด้วย ผู้แทนภาครัฐ ผู้แทนภาคเอกชน และผู้แทนภาคประชาสังคม ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 31 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เจาะลึกและการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาและตีความ และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลแบบสามเส้าและตรวจสอบโดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญ


            ผลการวิจัยพบว่า (1) แนวคิดภาคประชาสังคมเมืองเพชรบุรี พบว่า กลุ่มงานสกุลช่างเมืองเพชร กลุ่มสืบสานประเพณีและการละเล่นพื้นบ้าน และกลุ่มสืบสานภูมิปัญญาชาวบ้านและเทคโนโลยีท้องถิ่น มีฐานคิดที่เป็นกลไกสำคัญต่อการเป็นเครื่องมือช่วยในการพัฒนาเมืองเพชรบุรี (2) การพัฒนาเมืองเพชรบุรีแบบร่วมมือกันตามแนวคิดภาคประชาสังคม (2.1) การพัฒนาเมืองเพชรบุรีตามแนวคิดภาคประชาสังคม พบว่า กลุ่มงานสกุลช่างเมืองเพชร ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาด้านกายภาพ และด้านสังคม กลุ่มสืบสานประเพณีและการละเล่นพื้นบ้านส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาด้านสังคม และด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม และกลุ่มสืบสานภูมิปัญญาชาวบ้านและเทคโนโลยีท้องถิ่นส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาด้านสังคม และด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม (2.2) การทำงานแบบร่วมมือกัน พบว่า มีความร่วมมือกันแบบปรึกษาหารือร่วมกัน ความร่วมมือกันเพื่อสร้างความเข้มแข็ง และความร่วมมือกันด้วยการพัฒนามาจากระบบกลไกการทำงานของรัฐ (3) แนวทางการพัฒนาเมืองเพชรบุรีแบบร่วมมือกันตามแนวคิดภาคประชาสังคม (3.1) แนวทางการพัฒนาเมืองเพชรบุรีตามแนวคิดภาคประชาสังคม พบข้อเสนอแนะต่อแนวทางการพัฒนาด้านกายภาพ ได้แก่ การสร้างสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรมและการใช้พื้นที่สาธารณะ ด้านสังคมคือ การพัฒนาทุนบุคลากร ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม ได้แก่ การประยุกต์งานศิลปะสู่การเป็นสินค้าและของฝาก การยกระดับงานประเพณีและการละเล่นพื้นบ้านให้ปฏิบัติเป็นเทศกาล และการบำรุงรักษาสิ่งแวดล้อมผ่านงานประเพณี (3.2) แนวทางการพัฒนาเมืองเพชรบุรีแบบร่วมมือกันคือ การปรับปรุงกระบวนการและขั้นตอนในการจัดทำแผนพัฒนา การพัฒนาและส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. (2558). บทบาทของภาคประชาสังคมในการคุ้มครองสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

ชาวดี ง่วนสน. (2560). พัฒนาการและแนวทางการพัฒนายานตาขาว จังหวัดตรังอย่างยั่งยืน. วารสาร เจ-ดี: วารสารวิชาการ การออกแบบสภาพแวดล้อม, 4 (2), 51-64.

เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2554). ภูมิปัญญาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: บริษัท เอ.พ. กราฟิค ดีไซน์และการพิมพ์ จำกัด.

ธงชัย สมบูรณ์. (2550). การศึกษาเพื่อการพัฒนา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พระเทพเวที. (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2532). วัฒนธรรมกับการพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์ พริ้นติ่ง กรุ๊พ จำกัด.

พระมหาวมศักดิ์ ธีรวํโส (แหวนคำ). (2561). กระบวนการพัฒนาชุมชนเมืองและชนบทสู่ความยั่งยืน ในอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ. (2561). รายงานการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 11 เรื่อง การพัฒนาพื้นที่สาธารณะเพื่อสุขภาวะและการพัฒนาอย่างยั่งยืน: เขตเมือง โดย สมัชชาสุขภาพ วันที่ 21 สิงหาคม 2561

สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย. (2561). ความรู้พื้นฐานสำหรับการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด. กรุงเทพฯ. สำนักพัฒนาและส่งเสริมการบริหารราชการจังหวัด สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย.

สุนันท์ นีลพงษ์. (ม.ป.ป.). รายงานผลงานของกลุ่มคนรักเมืองเพชร. เพชรบุรี: สถาบันราชภัฎเพชรบุรี

องค์การเพื่อการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO). (2563). มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน (พูลศักดิ์ เอกโรจนกุล,ผู้แปล). กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมวัฒนธรรม.

องค์การเพื่อการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ. (2563). “ข้อแนะนำเกี่ยวกับภูมิทัศน์เมืองประวัติศาสตร์” แปลและเรียบเรียงจาก “UNESCO Recommendation on the Historic Urban Landscape โดย เกรียงไกร เกิดศิริ (2559) วารสารวิชาการ ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์, ฉบับที่ 30 (มกราคม-ธันวาคม) หน้า 29-35

Ansell, C., & Gash, A. (2008). Collaborative Governance in Theory and Practice. Journal of Public Administration Research and Theory, 18(4), 543-571.

Bingham, L.B., Nabatchai, T., & O’Leary, R. (2005). The new governance: Practices and processes for stakeholder and citizen participation the work of government. Public Administration Review, 65(5), 547-558.

Bryson, J. M., Crosby, B. C., & Stone, M. M. (2006). The Design and Implementation of Cross-Sector Collaborations: from the Literature. Public Administration Review, 66, 44-55

Booher, D. E. (2004). Collaborative Governance Practices and Democracy. National Civic Review. 93(4), 32-46

Emerson, k., & Nabatchai, T. (2015). Collaborative Government Regimes. Washington, DC: Georgetown University Press.

Emerson, k., & Nabatchai, T., & Balogh, S. (2010). An Integrative Framework for Collaborative Government. . Journal of Public Administration Research and Theory, 22(1), 1-29.

Grant, M., & Lease, H., Scally, G., Ison, E., Simos, J., Spanswick, L. & Nicola Palme. (2014). World Health Organization Regional Office for Europe “Healthy Cities Promoting health and equity-evidence for local policy and practice” Summary evaluation of Phase V of the WHO European Healthy Cities Network, UN City: Denmark.

Head, B. W. (2008). Wicked Problems in Public Policy. Public Policy, 3(2), 101-118

Sachs, J. D. (2015). The age of sustainable development. New York: Columbia University Press.

Koppenjan, J., & Klijn, E.-H. (2004). Managing Uncertainties in networks: a network approach to problem solving and decision making. Oxford: Routledge.

Olmedo, P. (2016). Civil Society’s Participation Towards Habitat III. Ecuador. Friedrich-Ebert-Stiftung (FES) Ecuador Instituto Latinoamericano de Inverstigaciones Sociales (ILDIS)

Thomson, A. M., & Perry, J. L. (2006). Collaboration Processes: Inside the Black Box. Public Administration Review, 66(1), 20-32.