ศึกษาเปรียบเทียบเหตุในการฟ้องหย่าและเหตุที่ทำให้การสมรสสิ้นสุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ครอบครัวกับคู่มือหลักกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดก (ฉบับศาลยุติธรรม)พ.ศ.2554 บรรพ 1 ครอบครัวในมิติสังคมพหุวัฒนธรรม

Main Article Content

สัญญา วัชราทักษิณ
อานิส พัฒนปรีชาวงศ์

บทคัดย่อ

วิจัยฉบับนี้เป็นการวิจัยทางเอกสารโดยจัดทำขึ้นเพื่อเปรียบเทียบเหตุในการฟ้องหย่าและเหตุที่ทำให้การสมรสสิ้นสุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ครอบครัวกับคู่มือหลักกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดก (ฉบับศาลยุติธรรม) พ.ศ.2554 บรรพ 1 ครอบครัว โดยเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างกันเป็นสำคัญ ปัญหาว่าด้วยการหย่าร้างในประเทศไทยนั้นไม่ใช่เรื่องที่กฎหมายไม่เคยมีการบัญญัติในเรื่องการหย่าร้าง แต่เป็นเรื่องที่กฎหมายในมาตรา 1516 ประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มีการบัญญัติไว้อย่างชัดเจนและรัดกุม หากคู่สมรสที่ไม่สามารถหย่าขาดจากกันได้โดยความยินยอมก็สามารถหยิบยกเหตุหย่าตามที่กฎหมายกำหนดมาเป็นเหตุฟ้องหย่าคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งได้ โดยแยกออกเป็นเหตุหย่าที่เกิดจากความผิดของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เช่น การมีชู้ การทำร้ายร่างกาย การจงใจทิ้งร้าง และเหตุหย่าที่ไม่ได้เกิดจากความผิดของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เช่น แยกกันอยู่ การเจ็บป่วยด้วยอาการวิกลจริต เป็นต้น ผลการศึกษาในครั้งนี้สามารถแบ่งประเด็นในการเปรียบเทียบเหตุแห่งการฟ้องหย่าและเหตุที่ทำให้การสมรสสิ้นสุดลงออกเป็น 3 ประเด็นหลักได้แก่ 1) กฎหมายที่ใช้บังคับ 2) เหตุในการหย่ามีความเหมือนกันในสี่ประเด็น แตกต่างกันเจ็ดประเด็น 3) เหตุที่ทำให้การสมรสสิ้นสุดลงมีความเหมือนกันในสองประเด็น แตกต่างกันหนึ่งประเด็น  ดังนั้นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องควรทำความเข้าใจและนำไปเผยแพร่ให้ความรู้ต่อชุมชนหรือหน่วยงานของรัฐเพื่อนำไปสู่ความสมานฉันท์ตามบริบทในมิติสังคมพหุวัฒนธรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นันทนัช สิมะโชคดี. (2559). เหตุหย่าเพราะครอบครัวแตกร้าว : ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายต่างประเทศ

(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปรัชญา นำศรีรัตน์ และสุรพล ศรีวิทยา. (2559). เหตุแห่งการฟ้องหย่า: ศึกษากรณีความเท่าเทียมระหว่างหญิง และ

ชาย. วารสารวิชาการคณะนิติศาสตร์, 6,(2) 71-82.

พระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลาและสตูล พ.ศ. 2489, ราชกิจจา

นุเบกษา เล่ม 63/ตอนที่ 77. หน้า 633/3.

พิชัย นิลทองคำ. (2550ก). พระราชบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (บรรพ 1-6). กรุงเทพฯ: อฑตยามิเล็น

เนียม.

พิชัย นิลทองคำ. (2550ข). พระราชบัญญัติประมวลกฎหมายอาญา. กรุงเทพฯ: อฑตยามิเล็นเนียม.

วิเชียร ดิเรกอุดมศักดิ์. (2563). กฎหมายแพ่งพิสดาร เล่ม 4 (ฉบับปรับปรุงใหม่). กรุงเทพฯ:ห้างหุ้นส่วนจำกัดแสง

จันทร์การพิมพ์.

สำนักงานศาลยุติธรรม. (2554). คู่มือหลักกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดก ฉบับศาลยุติธรรม. กรุงเทพฯ:

สำนักงานศาลยุติธรรม.

สำนักงานศาลยุติธรรม. (2559). คำอธิบายหลักกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดก ฉบับศาลยุติธรรม เล่ม

กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลยุติธรรม.

อัมพร ณ ตะกั่วทุ่ง.(2543).คำอธิบาย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์.กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์นิติบรรณการ