ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ด้านพัสดุของศาลในสังกัดสำนักศาลยุติธรรมประจำภาค 3

Main Article Content

ฐิญาภัสสร์ โคษา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านพัสดุของศาลในสังกัดสำนักศาลยุติธรรมประจำภาค 3 และเปรียบเทียบปัจจัยที่มีต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านพัสดุของศาลในสังกัดสำนักศาลยุติธรรมประจำภาค 3  จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล  ได้แก่ เพศ  อายุ  ระดับการศึกษา  สายงานที่ปฏิบัติ ประเภทตำแหน่งในสายงานและระยะเวลาการปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลกรศาล สังกัดสำนักศาลยุติธรรมประจำภาค 3 จำนวน  278 คน เพศชาย  165 คนและเพศหญิง 113  คน  โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิอย่างเป็นสัดส่วน (Proportionate Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t-Test และ ค่า F-Test และการวิเคราะห์แบบถดถอยพหุคูณ  ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านพัสดุของศาลในสังกัดสำนักศาลยุติธรรมประจำภาค 3  ทั้ง 5 ด้าน ค่าเฉลี่ยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านประสบการณ์ในการปฏิบัติงานพัสดุ  ด้านแนวนโยบายของผู้บริหาร  ด้านความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงาน  โครงสร้างองค์กรและด้านขวัญกำลังใจและความก้าวหน้า 2) การเปรียบเทียบปัจจัยที่มีต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านพัสดุของศาลในสังกัดสำนักศาลยุติธรรมประจำภาค 3 จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล  พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีเพศ  อายุ ระดับการศึกษา สายงานที่ปฏิบัติ  ประเภทตำแหน่งในสายงานและระยะเวลาการปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิตติมา อัครธิติพงศ์. (2556). เอกสารประกอบการสอนวิชาการพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน (Efficiency Development). คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
เฉลิมชัย อุทการ. (2562). ปัจจัยของการบริหารงานพัสดุที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ การบริหารงานพัสดุของนักวิชาการพัสดุในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. รายงานการวิจัย คณะการบัญชีและการจัดการมหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ณัฐชยา ยั่งยืน.(2559). ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานพัสดุของโรงเรียนในสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ บธ.ม.(บริหารธุรกิจ). มหาวิทยาลัยบูรพา.
ทัศนีย์ เสียงดัง. (2560). กลยุทธ์การบริหารงานพัสดุที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุของสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. วิทยานิพนธ์ บช.ม.(การบัญชี). มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.
นลพรรณ บุญฤทธิ์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ บธ.ม. (การจัดการสาธารณะ). มหาวิทยาลัยบูรพา.
ผาณิต นิติทัณฑ์ประภาศ. (2551). การบริหารพัสดุ. 28 ธันวาคม 2563. http://www.parathikarn police.go.th
พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560. ราชกิจจานุเบกษา. 24 กุมภาพันธ์ 2560 เล่ม 134 ตอนที่ 24 ก. หน้าที่ 13-45. 24 กุมภาพันธ์ 2560.
เยาวรักษ์ ฉัตรวิไล.(2560). ประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ รป.ม.(รัฐประศาสนศาสตร์). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
รัตนา อาสาทำและฤทัยรัตน์ สุวรรณแสน. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
วันทนีย แสนภักดี.(2553). การจัดการพัสดุและสำนักงาน. กรุงเทพฯ : ธรรกมลการพิมพ์.
ศาสตร์ศิลป์ ทองแรง.(2557). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ บธ.ม. (การจัดการ). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
Amir Elnaga, Amen Imran.(2013). “The Effect of Training on Employee Performance,” European Journal of Business and Management. www.iiste.org ISSN 2222-1905 (Paper) ISSN 2222-2839 (Online).
Herzberg, Frederick and others.(1959). The Motivation to work. New York : John Wiley and Sons.
Mohammad Kamal HossainI and Anowar Hossain.(2012). “Factors Affecting Employees Motivation in The Fast Food Industry : The Case of KFC UK Ltd.,” Research Journal of Economics Business and ICT. Volume 5, 2012. (September 2012).