การพัฒนาสื่อเพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชุมชนเขาอังคารบนฐานการมีส่วนร่วมของเยาวชน

Main Article Content

สรรเพชร เพียรจัด

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสื่อ ทดลองใช้และประเมินผลสื่อเพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชุมชนเขาอังคารบนฐานการมีส่วนร่วมของเยาวชน ใช้กระบวนวิจัยแบบผสมผสาน โดยอาศัย ADDIE Model ในการพัฒนาสื่อ พื้นที่เป้าหมายได้แก่ ป่าชุมชนเขาอังคารและชุมชนเจริญสุข มีเครื่องมือวิจัยได้แก่ แผนที่เดินดิน เส้นทางประวัติศาสตร์ ปฏิทินฤดูกาล การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม แบบประเมินความเป็นไปได้ของสื่อ แบบประเมินคุณภาพของสื่อ แบบประเมินการรับรู้สื่อและประเมินความรู้เจตคติและทักษะ กลุ่มเป้าหมายในการพัฒนาสื่อ ได้แก่ อาสาสมัครเยาวชนในชุมชนเจริญสุข จำนวน 30 ราย และกลุ่มตัวอย่างในการวัดผลการรับรู้สื่อ ได้แก่ ผู้ใช้ประโยชน์จากป่าชุมชน จำนวน 50 ราย


ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มอาสาสมัครเยาวชนมีความสัมพันธ์ที่ดีกับนักศึกษาสาขาศิลปศึกษา สามารถทำงานร่วมกันเป็นทีมได้ เกิดการแบ่งปันความรู้และผลประโยชน์ และสามารถใช้เทคโนโลยีในการสื่อสารให้เกิดประโยชน์ได้ สื่อที่เลือกพัฒนา คือ สื่อประเภทวีดีโอ ผลการประเมินความเป็นไปได้ของสื่อจากผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับดีมากมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.00 ผลการประเมินคุณภาพสื่อจากผู้เชี่ยวชาญโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก (= 4.16, = .770) ผลการรับรู้สื่อโดยรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.33 ,  = .59) ผลการประเมินความรู้เจตคติและทักษะในการพัฒนาสื่อโดยรวมมีผลความเปลี่ยนแปลงร้อยละ 17.27 ด้านเจตคติในการพัฒนาสื่อมีผลความเปลี่ยนแปลงมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 18.61 รองลงมาเป็น ความรู้ในการพัฒนาสื่อคิดเป็นร้อยละ 17.27 และ ทักษะในการพัฒนาสื่อคิดเป็นร้อยละ 15.93


 


 

Article Details

How to Cite
เพียรจัด ส. (2021). การพัฒนาสื่อเพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชุมชนเขาอังคารบนฐานการมีส่วนร่วมของเยาวชน . วารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น, 16(2), 135–147. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RDIBRU/article/view/255051
บท
บทความวิจัย

References

กิตติ สัจจาวัฒนา. (2560). งานวิจัยเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่ รูปแบบงานวิจัยใหม่ที่ท้าทายกระบวนทัศน์การวิจัย
ของประเทศไทย. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่. 9(1), มกราคม-กุมภาพันธ์ 2560, 3.
คณะกรรมการประกันคุณภาพภายในระดับอุดมศึกษา. (2558). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
ระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2557. นนทบุรี: ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.
ระพีพัฒน์ หาญโสภา และคณะ. (2563). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21: ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ Learning
management in 21st century : theory toward implementation.
วารสารวิชาการธรรมทรรศน์. 20(2), มกราคม - มิถุนายน 2563, 165-172.
รัฐพล ประดับเวทย์. (2560). แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีตามแนวคิดอนุกรมวิธาน ของบลูม. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. 10(3),
กันยายน – ธันวาคม 2560, 1051-1065.
ศุภิสรา สุวรรณชาติ และคณะ. (2562). การบูรณาการพันธกิจบทบาทที่ท้าทายของอาจารย์
ในสถาบันอุดมศึกษา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา, 25(1), 158-175.