การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการจัดการเรียนการสอนรายวิชาภาษาอังกฤษ สำหรับมัคคุเทศก์ โดยการยึดสื่อดิจิตอลวิดีทัศน์เป็นภาระงาน (DVM-TBL)ในสถานการณ์ Covid-19 ระบาด
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนการสอนรายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับมัคคุเทศก์ โดยการยึดสื่อดิจิตอลวิดีทัศน์เป็นภาระงาน (DVM-TBL) ในสถานการณ์Covid-19 ระบาดของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2563 วิทยาลัยเทคโนโลยีมารีย์บริหารธุรกิจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 ห้องที่ 4 แผนกวิชาภาษาต่างประเทศ วิทยาลัยเทคโนโลยีมารีย์บริหารธุรกิจ ที่กำลังศึกษารายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับมัคคุเทศก์ และมีผู้วิจัยเป็นที่ปรึกษา มีจำนวนทั้งหมด 29 คน จึงทำการสุ่มเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ให้เป็นกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนการสอนโดยยึดสื่อดิจิตอลวิดีทัศน์เป็นภาระงาน (DVM-TBL) ประกอบการเรียนการสอนรายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับมัคคุเทศก์ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับมัคคุเทศก์ (Achievement Test of English for Tourist Guides) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมารฐาน (Standard Deviation) และค่าที ( One Sample T-test)
ผลการวิจัย พบว่า นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับมัคคุเทศก์ผ่านเกณฑ์ และเมื่อได้ทำการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอนรายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับมัคคุเทศก์โดยการยึดสื่อดิจิตอลวิดีทัศน์เป็นภาระงาน พบว่า นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียนอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
ข้อเสนอแนะก่อนที่จะทำการวิจัยในครั้งต่อไป หรือครูผู้สอนที่สนใจนำวิธีการสอนแบบนี้ไปใช้ในอนาคตควรสอบถามความพร้อมของผู้เรียนด้านอุปกรณ์และด้านทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศกับผู้เรียนก่อนเพื่อไม่ทำให้ผู้เรียนรู้สึกว่าสิ่งที่ให้ทำยากกว่าความสามารถตนเอง
คำสำคัญ: ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอน การสอนภาษาอังกฤษในยุคโควิด-19 การจัดการเรียนการสอนโดยการยึดสื่อดิจิตอลวิดีทัศน์เป็นภาระงาน
Article Details
เนื่อหาและข้อมูลในบทความ เป็นความรับผิดชอบของผุ้แต่ง
บทความในวารสารเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น
References
Willis, J. (1996). A Framework for Task-Based Learning. Harlow: Longman.
เทื้อน ทองแก้ว. (พฤษภาคม – สิงหาคม 2563). การออกแบบการศึกษาในชีวิตวิถีใหม่: ผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID-19. คุรุสภาวิทยาจารย์ (ฉบับ 2 ปีที่ 1 ), 1-10. เข้าถึงได้จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/withayajarnjournal/article/view/241830/164268
ปราณี หลำเบ็ญสะ. (2559). การหาคุณภาพของเครื่องมือวัดผล. ยะลา : มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา .
ไพฑูรย์ มะณู. (13 เมษายน 2564). ความหมายของสื่อการสอน. เข้าถึงได้จาก gotoknow.org: https://www.gotoknow.org/posts/231415
วิทยา วาโย, อภิรดี เจริญนุกูล, ฉัตรสุดา กานกายันต์, และ จรรยา คนใหญ. (พฤษภาคม.- สิงหาคม 2563). การเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 : แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9(ฉบับที่ 34 ปีที่ 14), 285-298. เข้าถึงได้จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/242473/165778
สรณบดินทร์ ประสารทรัพย์, และ บํารุง โตรัตน์. (2561). การพัฒนารูปแบบการสอน แบบเน้นภาระงานร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อเสริมสร้าง ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิเคราะห์ และทักษะการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร. บัณฑิตศึกษา: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 68-81. เข้าถึงได้จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ssrugraduate/article/view/199670/139447
สราณีย์ สุทธิศรีปก. (13 เมษายน 2564). สื่อการเรียนการสอน. เข้าถึงได้จาก http://fed.bpi.ac.th/: http://fed.bpi.ac.th/2013/images/files/elearning/3%20(2).pdf
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.ศธ.). (21 เมษายน 2563). ศธ.360 องศา. เข้าถึงได้จาก ข่าว ศธ.360 องศา https://moe360.blog: https://moe360.blog/2020/01/02/นโยบายและจุดเน้น-ศธ/
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ . (6 สิงหาคม 2559). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561). เข้าถึงได้จาก http://www.onec.go.th: http://www.onec.go.th: www.infolop1.net/plan4/reform2552_2561.doc
สุทัศน์ สังคะพันธ์. (2557). แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศของการนิเทศในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งเสริมภาวะผู้นำครูของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏ. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุปรียา ศิริพัฒนกุล. (2555). การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21(The 21st Century Learning). The NAS Magazine(ฉบับที่ 2), หน้า 18-20.
อภัทรลิน พลยิ่ง, และ สมโภชน์ พนาวาส. (2558). การใช้ภาระงานในการสอนด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่5. การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ “สร้างสรรค์และพัฒนา เพื่อก้าวหน้าสู่ประชาคมอาเซียน” ครั้งที่ 2 (หน้า หน้า 318-327). จ.นครราชสีมา: วิทยาลัยนครราชสีมา .
อัญชลี โอ่งเจริญ, และ วีระศักดิ์ ธมฺมสาโร. (2556). สารสนเทศและสื่อการศึกษา. ฉะเชิงเทรา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.