การพัฒนาชุมชนท้องถิ่นบนฐานวัฒนธรรม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม

Main Article Content

อุทิศ ทาหอม

บทคัดย่อ

 บทความวิชาการเรื่อง การพัฒนาชุมชนท้องถิ่นบนฐานวัฒนธรรม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ได้นำเสนอกรอบแนวทางการพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนายุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาชุมชนบนฐานวัฒนธรรม  โดยส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้กลายเป็นของกิน ของฝาก การท่องเที่ยวชุมชน เพื่อเกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมทางสังคม เพื่อตอบโจทย์ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศภายใต้คำว่า มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ซึ่งในบทความวิชานี้ได้นำเสนอแนวทางลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมบนฐานวัฒนธรรมไว้ 5 ประการ ได้แก่ 1. การพัฒนาคนในชุมชน 2. เน้นการพัฒนาบนฐานชุมชน 3. การพัฒนาทักษะศาสตร์สมัยใหม่ 4. สรุปบทเรียน 5. สร้างภาคีเครือข่าย ซึ่งการพัฒนาชุมชนบนฐานวัฒนธรรมวางรากฐานของสังคมให้เข้มแข็ง สร้างความรู้ความเข้าใจในศักยภาพ เตรียมความพร้อมชุมชนพึ่งตนเองได้นั้น ต้องสร้างความรู้ความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลกระทบต่อชุมชนภายใต้คำว่า “เท่าทัน เท่าเทียม” องค์ความรู้ทางวัฒนธรรมนับเป็นกลไกที่สำคัญกับการสร้างนวัตกรรมทางสังคม ส่งเสริมให้ชุมชนเกิดความคิดสร้างสรรค์สามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้อย่างชาญฉลาดบนพื้นฐานคำว่า “รหัสวัฒนธรรม” หรือ Creative DNA ของตนเอง ซึ่งเป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่สั่งสมจากบรรพบุรุษ และสามารถประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดต่อการพัฒนาเทศในปัจจุบันและอนาคต

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กนกวรา พวงประยงค์. (2561).บทบาทของเศรษฐกิจสร้างสรรค์และพฤติกรรมเชิงสร้างสรรค์ในการพัฒนายกระดับวิสาหกิจชุมชนไทย. วารสารพัฒนศาสตร์.1 (1) ; 220-252.
กมล ตราชู. (2561). การจัดการเพื่อการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น. วารสารจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสารคาม. 1 (1) ; 13-20.
กัลยาณมิตร นรรัตน์พุทธิ. (2562). วัฒนธรรมคุณค่าสู่มูลค่า. วารสารวัฒนธรรม. 57 (4) ; 3-17.
ชนัดดา ชินะโยธิน. (2558). โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในความสัมพันธ์ไทย-ลาว. วารสารศูนย์ศึกษาเอเชียตะวันออก. 15 (2) ; 2-29.
ณรัชช์อร ศรีทอง. (2558). กระบวนการสร้างชุมชนที่เข้มแข็งพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน.กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
เทศา ธรรมชน. (2555). ประชาธิปไตยต้นแบบ. กรุงเทพฯ : สยามความรู้.
นันทิยา หุตานุวัตร และณรงค์ หุตานุวัตร. (2551). คิดกลยุทธ์ด้วย SWOT. (พิมพ์ครั้งที 7). อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
นุชเนตร จักรกลม. (2561). SMEs 4.0 มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน. อุตสาหกรรมสาร วารสารของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. 60 (ฉบับพฤศจิกายน - ธันวาคม) ; 5-7.
บัวตะวัน มีเดีย. (2561). หมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์. วารสารของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. 60 (ฉบับเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม). ; 7-16.
ปรเมธี วิมลศิริ. (2560). ขับเคลื่อนแผนฯ 12 สู่อนาคตประเทศไทย. วารสารเศรษฐกิจและสังคม. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 54 (2) ; 2-6.
_______. (2560). ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง สร้างสังคมเป็นธรรมและเข้มแข็ง.วารสารเศรษฐกิจและสังคม. 54 ( 3) 8.
ปุรินทร์ นาคสิงห์ และอังกูร หงส์คณานุเคราะห์. (2561). การทำให้สงกรานต์กรุงเทพฯ เป็นสินค้าวัฒนธรรมในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. วารสารมานุษยวิทยา. 1 (1) ; 159-190.
พลเดช ปิ่นประทีปและคณะ. (2558). วิสัยทัศน์ 2035 หนึ่งศตวรรษ อภิวัฒน์ประเทศไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานประสานพัฒนาสังคมสุขภาวะ.
ยงจิรายุ อุปเสน. (2557). การสร้างเป้าหมายตัวชี้วัดความสุขชุมชน. กรุงเทพฯ : มูลนิธิหัวใจอาสา.
วิทยา คามุณี. (2561). องค์กรประชาสังคมและทุนทางสังคมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและสำเร็จของประชาธิปไตย.วารสารพิกุล. 16 (2) : 253-281.
สถาบันพระปกเกล้า. (2562). ก้าวข้ามความเหลื่อมล้ำความท้าทายของสังคมไทย. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.
สมศักดิ์ สามัคคีธรรม. (2551). การพัฒนาการจัดการความขัดแย้งกรมีส่วนร่วมและสังคมเข้มแข็ง.กรุงเทพฯ : นิวส์ เมคเกอร์
สุริชัย หวั่นแก้ว. (2554). โลกาภิวัตน์กับความรู้ท้องถิ่นโจทย์ท้ายทายต่อมหาวิทยาลัยในยุคสังคมความเสี่ยง. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. 4 (4) ; 16-46.
เสรี พงศ์พิศ (2551). แนวคิดแนวปฏิบัติยุทธศาสตร์พัฒนาท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : พลังปัญญา.
Fairclough, N. (2010). Critical Discourse Analysis: The Critical Study of language. 2nd ed. New York: Longman
Plsek Paul E. (1997). Creative,Innovation,and Quality. Miwaukee,Wis. : ASQC Quality Press.
Hall, S. (2001). Foucault: Power, Knowledge and Discouse. In Discouse Theory and Practice. London. Thousand Oaks and New Delhi: SAGE Publications.
Marger, M. N. (2005). Social inequality : Paterns & proceses New York : McGraw-Hill.
Ranciere,Jacques. (1999). Disagreement : Politics and Philosophy.Trans.Julie Rose. Minneapolis : University of Minneosota Press.
Rhodes, R. A. W. (1997). Understanding governance: Policy Networks, Governance, Reflexivity and Accountability. Open University Press, Buckingham.