สิทธิสตรีในครอบครัว ทัศนะของสตรีชนบท จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

จริยาภรณ์ นาจาน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาทัศนะเกี่ยวกับสิทธิสตรีในครอบครัวของ ผู้หญิงชนบท โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Senai-structured Interview) และวิธีการสัม ภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) รวมทั้งการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม ผู้ให้ ข้อมูลประกอบด้วย ผู้รู้ และผู้หญิงชนบทจาก 3 กลุ่มอายุ คือกลุ่มผู้หญิงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น (อายุประ มาณ 20-30 ปี) กลุ่มผู้หญิงวัยผู้ใหญ่ตอนกลาง (อายุประมาณ 31-50 ปี) และกลุ่มผู้หญิงวัยผู้ใหญ่ ตอนปลาย (อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป) การแบ่งผู้หญิงออกเป็น 3 กลุ่มนั้น แบ่งตามเกณฑ์ของชาวบ้าน ซึ่งได้แก่ เกณฑ์ด้านอายุพัฒนาการของครอบครัว และการร่วมทํากิจกรรมหรือการรวมกลุ่มของผู้หญิง ในการเลือกตัวอย่างผู้หญิงชนบทในแต่ละกลุ่มอายุดังกล่าวยังได้พิจารณาให้มีความแตกต่างกันในด้าน การศึกษา การประกอบอาชีพ และลักษณะของครอบครัว พื้นที่ทําการศึกษาคือหมู่บ้านนาดี (ชื่อ สมมติ) อําเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
ผลการวิจัยพบว่า ผู้หญิงชนบทให้นิยามคําว่า “สิทธิสตรี” หมายถึง การที่ผู้หญิงสามารถ ทําและได้รับในสิ่งที่ต้องการและมีความเสมอภาคกับผู้ชาย ทั้งนี้ความเสมอภาคไม่ได้หมาย ถึงการที่ผู้หญิงจะทําหรือได้รับเท่าเทียมกับผู้ชายทุกอย่าง แต่หมายถึงการที่ผู้หญิงควรได้รับและ ได้กระทําตามที่ตนต้องการแต่ต้อง าอยู่ภายใต้ความเหมาะสมกับตนเองและสอดคล้องกับค่า นิยมของชุมชน ส่วนประเด็นสิทธิสตรีในครอบครัวที่ผู้หญิงชนบทให้ความสําคัญ ได้แก่ สิทธิ ในชีวิตร่างกาย สิทธิในการสมรส สิทธิในการประกอบอาชีพ สิทธิในการจัดการทรัพย์สิน สิทธิ ในการศึกษา สิทธิในการรับมรดกและสิทธิในการมีส่วนร่วมในชุมชน
สําหรับทัศนะเกี่ยวกับสิทธิที่ผู้หญิงได้รับ สิทธิที่ผู้หญิงควรได้รับ และการเรียกร้องสิทธิจาก ครอบครัวนั้น ผู้หญิงแต่ละวัยมีทัศนะแตกต่างกัน ซึ่งสรุปได้ดังนี้
1) ผู้หญิงที่อยู่ในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น เป็นกลุ่มที่มีค่านิยมความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย มีความเชื่อว่าผู้หญิงและผู้ชายมีความสามารถเหมือนกัน จึงควรได้กระทําอย่างที่ตนต้องการหรือ ได้รับอะไรเหมือนกับผู้ชาย ผู้หญิงกลุ่มนี้จึงมีทัศนะที่แตกต่างจากผู้หญิงวัยอื่นโดยเฉพาะ ในเรื่องที่เกี่ยวกับงานบ้านและสิทธิในชีวิตร่างกาย ผู้หญิงกลุ่มนี้เห็นว่าผู้ชายควรช่วยแบ่งเบาภาระ งานบ้านให้มากขึ้น และผู้หญิงควรมีสิทธิในการแสดงออกถึงความต้องการทางเพศและสามารถ ปฏิเสธการมีเพศสัมพันธ์ได้หากไม่ต้องการ หากผู้หญิงกลุ่มนี้ไม่พึงพอใจในสิทธิที่ตนเองได้รับก็มัก เรียกร้องสิทธิต่อสมาชิกในครอบครัวเพื่อให้ได้สิทธินั้นซึ่งวิธีการเรียกร้องนั้นขึ้นอยู่กับบุคลิกภาพของผู้หญิง โดยมี 2 ลักษณะคือผู้หญิงที่มีบุคลิกกล้าแสดงออกมักเรียกร้องสิทธิในแบบที่ค่อนข้างจริงจังมีการตกลง ต่อรอง ตลอดจนต่อว่า ส่วนผู้หญิที่มีบุคลิกเรียบร้อยมีวิธีการเรียกร้องที่นุ่มนวลกว่าด้วยการขอร้อง และพูดจาหว่านล้อม
2) ผู้หญิงวัยผู้ใหญ่ตอนกลาง ผู้หญิงในกลุ่มนี้ยังแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่หนึ่ง กลุ่มที่มีค่านิยมความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย ผู้หญิงกลุ่มนี้เห็นว่าตนเองมีความสามารถเท่ากับ ผู้ชายอยากทําอะไรก็สามารถทําได้เห็นว่าตนเองพึงพอใจในสิทธิที่ตนได้รับ แต่หากไม่ได้รับสิทธิที่ต้อง การก็เรียกร้องสิทธิจากคนในครอบครัว โดยเฉพาะในเรื่องของงานบ้าน และการจัดการทรัพย์สิน กลุ่ม ที่สองเป็นกลุ่มที่มีค่านิยมให้ชายเป็นใหญ่แต่ไม่พึ่งพิงผู้ชาย กลุ่มนี้แม้มีความเชื่อว่าผู้ชายเป็นใหญ่แต่ ในขณะเดียวกันก็เชื่อว่าผู้หญิงก็มีสิทธิที่จะทําอะไรหรือได้ร้อะไรบางอย่างเหมือนกับผู้ชายและเห็นว่า ปัจจุบันผู้หญิงมีสิทธิในด้านต่างๆ เกือบเสมอภาคกับผู้ชายแล้ว ผู้หญิงกลุ่มนี้มีความพึงพอใจในสิทธิ ที่ตนเองได้รับ จึงไม่คิดเรียกร้องสิทธิในด้านใดอีก และกลุ่มที่สาม เป็นกลุ่มที่มีค่านิยมให้ชายเป็นใหญ่ และพึ่งพิงผู้ชาย กลุ่มนี้เห็นว่าผู้หญิงกับ ผู้ชายมีความแตกต่างกัน ผู้ชายเป็นผู้ที่มีสิทธิและมีอํานาจ เหนือกว่าผู้หญิง ผู้หญิงจึงไม่สามารถทําอะไรได้เหมือนกับผู้ชาย ผู้หญิงกลุ่มนี้บางคนถูกละเมิดสิทธิ ในชีวิตร่างกาย นั่นคือ ถูกสามีทําร้ายทั้งทางร่างกายและจิตใจ และไม่มีสิทธิในการจัดการทรัพย์สิน ผู้หญิงกลุ่มนี้แม้เห็นว่าตนเองไม่มีความเสมอภาคกับผู้ชาย และอยากได้รับสิทธิในเรื่องที่ตนเองเสีย เปรียบ แต่กลับไม่กล้าเรียกร้องในเรื่องดังกล่าว เพราะมีทัศนะว่าการเรียกร้องเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม
3)ผู้หญิงวัยผู้ใหญ่ตอนปลายเป็นกลุ่มผู้หญิงที่มีทัศนะว่าผู้หญิงกับผู้ชายนั้นแตกต่างกันและ ให้ความสําคัญกับความแตกต่างระหว่างเพศ และการแบ่งงานกันทําของผู้หญิง ผู้ชาย ผู้หญิงวัยนี้ มีทัศนะว่าผู้ชายมีคุณค่าและมีอํานาจเหนือกว่าผู้หญิงทุกด้าน ผู้หญิงนั้นไม่สามารถทอะไรได้เหมือน กับผู้ชาย ผู้หญิงกลุ่มนี้เห็นว่าตนเองได้รับสิทธิอย่างเหมาะสมกับเพศและเหมาะสมกับตนเองแล้ว จึงไม่ต้องการเรียกร้องสิทธิในด้านใดอีก
นอกจากนี้จากผลการวิจัยยังสรุปได้ว่า ทัศนะเกี่ยวกับสิทธิสตรีในครอบครัวของผู้หญิง ชนบทที่แตกต่างกันมีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านบริบทของหมู่บ้าน ลักษณะของครอบครัว คุณลักษณะและประสบการณ์ของผู้หญิง และคุณลักษณะของผู้ชายที่เป็นสามีอีกด้วย

Article Details

How to Cite
นาจาน จ. (2006). สิทธิสตรีในครอบครัว ทัศนะของสตรีชนบท จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น, 1(1), 56–67. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RDIBRU/article/view/244077
บท
บทความวิจัย