การบริหารจัดการและดำเนินโครงการประกวดอุทยานแห่งชาติสีเขียวด้านขยะมูลฝอยของอุทยานแห่งชาติภูเรือ จังหวัดเลย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบการจัดการขยะของอุทยานแห่งชาติภูเรือ จังหวัดเลย การประเมินการปฏิบัติตามเกณฑ์ด้านการจัดการขยะของโครงการประกวดอุทยานแห่งชาติสีเขียว เพื่อเสนอแนะแนวทางการจัดการขยะที่เหมาะสมสำหรับอุทยานแห่งชาติภูเรือ จังหวัดเลย ซึ่งเป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิจากแบบสัมภาษณ์ การสังเกต และข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัย พบว่า ระบบการจัดการขยะของอุทยานแห่งชาติภูเรือ ประกอบด้วย การเก็บรวบรวมขยะ การขนส่งขยะ การคัดแยกขยะ การกำจัดขยะ และการจัดการขยะตามหลัก 3Rs ได้แก่ ลดการใช้ การใช้ซ้ำ และการนำกลับมาใช้ใหม่ สำหรับเกณฑ์การประเมินด้านการจัดการขยะของโครงการอุทยานแห่งชาติสีเขียว ประกอบด้วย 4 เกณฑ์ ได้แก่ การลดปริมาณขยะโดยใช้หลัก 3Rs การคักแยกขยะ การเก็บรวบรวมขยะ การกำจัดขยะ โดยอุทยานแห่งชาติภูเรือมีการดำเนินการในภาพรวมได้ดี ไม่มีขยะตกค้าง มีนักท่องเที่ยวและเจ้าหน้าที่บางส่วนมีการคัดแยกขยะมูลฝอยไม่ถูกต้อง รวมถึงการกำจัดขยะทั่วไปยังใช้วิธีการกำจัดที่ไม่เหมาะสม ซึ่งแนวทางการจัดการขยะมูลฝอยที่เหมาะสมของอุทยานแห่งชาติภูเรือ เช่น จัดซื้อเครื่องมือ อุปกรณ์สำหรับจัดการขยะให้เพียงพอ เพิ่มมาตรการการการจัดการขยะในช่วงเทศกาล อบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากร และปรับปรุงระบบกำจัดขยะให้ถูกหลักสุขาภิบาล เป็นต้น
Article Details
เนื่อหาและข้อมูลในบทความ เป็นความรับผิดชอบของผุ้แต่ง
บทความในวารสารเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น
References
กรมประชาสัมพันธ์. สำนักข่าว. (2562). อุทยานแห่งชาติภูกระดึงและอุทยานแห่งชาติภูเรือ จังหวัดเลยได้ระดับเหรียญทอง "อุทยานแห่งชาติสีเขียว 2562. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG190828174421725 (วันที่ค้นข้อมูล : 25 มกราคม 2563).
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2562). สรุปผลการดำเนินโครงการอุทยานแห่งชาติ (Green National Park) ปีงบประมาณ 2562. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.datacenter.deqp.go.th/media/881160/รายงานผลการดำเน-นโครงการ-green-park.pdf. (วันที่ค้นข้อมูล : 25 มกราคม 2563).
กรมอนามัย. สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม. (2559). แนวทางการดำเนินงาน GREEN & CLEAN Hospital. พิมพ์ครั้งที่ 1. พระนครศรีอยุธยา: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. สำนักอุทยานแห่งชาติ. (2561). โครงการประกวดอุทยานแห่งชาติสีเขียว (Green National Parks) ประจำปี 2561. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://park.dnp.go.th/file/โครงการประกวดอุทยานแห่งชาติสีเขียว%2061.pdf. (วันที่ค้นข้อมูล : 11 สิงหาคม 2562).
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. สำนักอุทยานแห่งชาติ. (2560). เกณฑ์อุทยานแห่งชาติสีเขียว ปี 2560 ปรับปรุงเมื่อ 3 สิงหาคม 2560. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://park.dnp.go.th/file/เกณฑ์อุทยานแห่งชาติสีเขียว%20ปี%202560%20ปรับปรุงเมื่อ%203%20สิงหาคม%202560.pdf. (วันที่ค้นข้อมูล : 5 กรกฎาคม 2562).
กัลยาภัสร์ ภูริเดชเมธาวัชรีกุล. (2553). การจัดการขยะมูลฝอยในอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาอุทยานและนันทนาการ, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2557). แนวคิดสีเขียว 7 ประการ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://7greens.tourismthailand.org/howtobe7green/. (วันที่ค้นข้อมูล : 25 ธันวาคม 2562).
ฆริกา คันธา และณพงศ์ นพเกตุ. (2561, กันยายน-ธันวาคม). การบริหารจัดการขยะชุมชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับชุมชนในอำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 6(3), หน้า 497-508.
ชูชีพ ศิริ. (2549). การจัดการขยะในเทศบาลตำบลบ้านกาด อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระ ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ณัฐยศ ชัยชนะทรัพย์. หัวหน้าอุทยานแห่งชาติภูเรือ. (7 ตุลาคม 2562). สัมภาษณ์.
ไทยพีบีเอสนิวส์. (2560). เขาใหญ่แชมป์ขยะตกค้างมากกว่า 4.5 ตัน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://news.thaipbs.or.th/content/259680. (วันที่ค้นข้อมูล : 5 กรกฎาคม 2562).
นักท่องเที่ยว ก. นักท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติภูเรือ. (7 เมษายน 2563). สัมภาษณ์.
นักท่องเที่ยว ข. นักท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติภูเรือ. (7 เมษายน 2563). สัมภาษณ์.
นักท่องเที่ยว ค. นักท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติภูเรือ. (7 เมษายน 2563). สัมภาษณ์.
ปราณี ไพบูลย์สมบัติ. (2546). ชนิด ปริมาณขยะ และพฤติกรรมการทิ้งขยะของนักท่องเที่ยว และผู้ประกอบการในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาอุทยานและนันทนาการ, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ผู้ประกอบการร้านอาหาร ก ภายในอุทยานแห่งชาติภูเรือ. ผู้ประกอบการร้านอาหารภายในอุทยานแห่งชาติภูเรือ. (7 เมษายน 2563). สัมภาษณ์.
พิทยา จตุวรพัฒน์. (2551). การบริหารจัดการขยะในอุทยานแห่งชาติ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://app.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00623.pdf. (วันที่ค้นข้อมูล : 5 กรกฎาคม 2562).
วิจิตร หอมชื่น, วาสนา ผดุงโกเม็ด และพรชัย ทับพิมล. เจ้าหน้าที่ฝ่ายก่อสร้างและบำรุง. (6 ตุลาคม 2562). สัมภาษณ์.
วิทิตา หัตถกรรม. (2547). พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่เกี่ยวกับปัญหาขยะมูลฝอย กรณีศึกษา อุทยานแห่งชาติเขาชะเมา-เขาวง จังหวัดจันทบุรีและจังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการสิ่งแวดล้อม, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สุริยะ หาญพิชัย และจันทร์ฉาย จันทร์ลา. (2561). การจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมของเทศบาลตำบลลำนารายณ์ อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี, 12(1), หน้า 67-85.
อนุสรณ์ ศรีประไหม. หัวหน้าฝ่ายนันทนาการ. (25 กรกฎาคม 2562ก). สื่อสารส่วนบุคคล.
อนุสรณ์ ศรีประไหม. หัวหน้าฝ่ายนันทนาการ. (6 ตุลาคม 2562ข ). สัมภาษณ์.
อุทยานแห่งชาติภูเรือ. (2561). แผนที่อุทยานแห่งชาติภูเรือ จังหวัดเลย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.facebook.com/PhuRueaNationalPark/photos/a.859509274209360/1091003561059929/?type=3&theater. (วันที่ค้นข้อมูล : 8 ตุลาคม 2562).
Oosterhuis, F., Papyrakis, E.,& Boteler, B. (2014). Economic instruments and marine litter control. Ocean & Coastal Management, 102 (A), pp. 47 – 54.