การสร้างรูปแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาโบราณที่เป็นเอกลักษณ์ประจำจังหวัดกำแพงเพชร

Main Article Content

สฤษณ์ พรมสายใจ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ได้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ดังนี้ 1) เพื่อศึกษารูปแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา ของจังหวัดกำแพงเพชร 2) เพื่อศึกษาความต้องการผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาโบราณเป็นของที่ระลึก จังหวัดกำแพงเพชร 3) เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาโบราณด้วยวิธีการขึ้นรูปด้วยวิธีหล่อน้ำดิน 4) เพื่อประเมินรูปแบบการถ่ายทอดเทคโนโลยีกระบวนการผลิตเครื่องปั้นดินเผาด้วยวิธีหล่อน้ำดิน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 คน  ผู้ประเมินความคิดเห็นรูปแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาโบราณ  21 รูปแบบ จำนวน 50 คน และผู้เข้ารับการอบรมเครื่องปั้นดินเผา จำนวน 20 คน  เครื่องมือที่นำมาใช้  ได้แก่ แบบสอบถามความพึงพอใจ และแบบทดสอบจำนวน 15 ข้อ เป็นมาตราส่วนประมาณค่ามี 5 ระดับ สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวน


            ผลจากการวิจัยพบว่า


  1. ผลจากการวิเคราะห์รูปแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา ของจังหวัดกำแพงเพชร พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 10 คน มีเพศชายมากกว่าเพศหญิงคิดเป็นร้อยละ 60 ที่มีระดับความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์คิดเป็นค่าร้อยละ 50 อยู่ในระดับมาก

  2. ผลจากการวิเคราะห์ศึกษาความต้องการผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาโบราณเป็นของที่ระลึก จังหวัดกำแพงเพชร พบว่า รูปแบบเครื่องปั้นดินเผาจำนวน 21 รูปแบบ มีระดับความต้องการมากสุด คือ รูปแบบที่ 1 รองลงมา รูปแบบที่ 13 และรูปแบบที่ 14

  3. ผลจากการวิเคราะห์การสร้างผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาโบราณด้วยวิธีหล่อน้ำดิน พบว่า การพิจารณาเป็นรายข้อ 4 ด้าน มีความต้องการมากสุด คือ ผลิตภัณฑ์มีความสวยงาม มีค่า (=4.75 S.D. = 0.43) รองลงมา  คือ ความหนาผลิตภัณฑ์มีค่า ( =4.30  S.D. = 0.64) และน้ำหนักของผลิตภัณฑ์มีค่า ( =4.30  S.D. = 0.56)

  4. ผลจากการวิเคราะห์การประเมินรูปแบบการถ่ายทอดเทคโนโลยีกระบวนการผลิตเครื่องปั้นดินเผา ด้วยวิธีหล่อน้ำดิน พบว่า ผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 20 คน ก่อนอบรมมีความรู้ค่าเฉลี่ย () ร้อยละ = 22.33 และหลังอบรมมีความรู้ค่าเฉลี่ย () ร้อยละ = 73.66 มีความก้าวหน้าค่าเฉลี่ย () = 51.33, (S.D.) =  19.49 ค่าที (t-test) = 35.86  ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กานดา พูนลาภทวี. (2530). สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ : ฟิสิกส์เซ็นเตอร์การพิมพ์.
จำเริญ เชื้อประดิษฐ์. (2551). เรื่อง หลักสูตรการทำเครื่องปั้นดินเผาพื้นบ้านทุ่งหลวงรายวิชาเพิ่มเติมกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 .
ชัชวาลย์รัตนพันธุ์ สมบูรณ์สารสิทธิ์ และปรีชา อมรรัตน์. (2553). การออกแบบผลิตภัณฑ์โคมไฟที่มีแนวความคิดจากการบูรณาการเครื่องปั้นดินเผา กับศิลปะการแกะหนังตะลุง. นครศรีธรรมราช. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กำแพงเพชร: คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
พีรพงษ์ พันธะศรี. (2561). เครื่องปั้นดินเผาสร้างสรรค์ : กรณีศึกษาเครื่องปั้นดินเผาประกอบไม้ยางพารา และในจังหวัดสงขลา.สงขลา.: มหาวิทยาลัยสงขลา.
ไพเวช วังบอน. (2551). หลักสูตรการอบรม โครงการพัฒนาบุคลากรด้านผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์. กรุงเทพฯ. ส่งเสริมอุตสาหกรรม.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2539). หลักการสร้างแบบทดสอบความถนัดทางการเรียน.(พิมพ์ครั้งที่ 5) กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช.
สุจิรา ร่มโพธิ์. (2553). การศึกษาอัตราส่วนผสมของวัตถุดิบสำหรับนำมาใช้ในงานประติมากรรม.
กำแพงเพชร: คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
Andrews, A.l. (1957). Ceramic Test and Calculation. New York: John Milley and Sons.
Nishimura, O. (1978). Technology Testing for Ceramics. Products in Ceramic Engineering Nagoya : Nagoya Internation Training Center.