การหาแนวปฏิบัติที่เหมาะสมในการจัดการป่าชุมชนอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลศรีณรงค์ อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

อุดมพงษ์ เกศศรีพงษ์ศา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาแนวปฏิบัติที่เหมาะสมในการจัดการป่าชุมชนอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลศรีณรงค์ อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ และ 2) เพื่อให้คนในชุมชนมีการบริหารจัดการในการใช้ประโยชน์จากป่าโดยชุมชน ผลการวิจัยพบว่า แนวปฏิบัติที่เหมาะสมในการจัดการทรัพยากรป่าของชุมชนนี้ ใช้รูปแบบของการจัดเป็นกลุ่มและแต่งตั้งคณะกรรมการดูแลป่าชุมชน เกิดกลุ่มคณะทำงานในการจัดการป่าชุมชน เป็นหมู่บ้านที่อยู่รอบป่า 3 หมู่บ้าน รวม 30 คน ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน คนที่ใช้ประโยชน์จากป่า เป็นกลุ่มในการขับเคลื่อน ส่งเสริม กระตุ้นให้คนในชุมชนในการจัดการป่าชุมชน มีการสำรวจทรัพยากรในป่า เน้นการดูแลและใช้ประโยชน์จากป่า ทำให้เกิดองค์ความรู้การบริหารจัดการป่าในชุมชน และมีข้อตกลงในการใช้ประโยชน์จากป่าโดยคนในชุมชนผ่านการตั้งกฎระเบียบเป็นข้อปฏิบัติในการใช้ประโยชน์จากป่าร่วมกัน สร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนโดยเน้นผู้นำและผู้ที่ใช้ประโยชน์จากป่า ผู้ที่เคยบุกรุกป่ามาก่อน เข้ามาเป็นสมาชิกกลุ่มหรือกรรมการกลุ่มเพื่อให้กลุ่มคนเหล่านี้ช่วยดูแลป่า มีการดำเนินกิจกรรมในการดูแลรักษาป่า เช่น ทำรั้วแนวเขตเสารอบป่าป้องกันการบุกรุก การปลูกป่าในวันสำคัญ ทำพิธีบวชป่า ในส่วนการใช้ประโยชน์และอนุรักษ์ป่าชุมชน ใช้รูปแบบการมีส่วนร่วมการบริหารจัดการป่าร่วมกันของพื้นที่ มีข้อตกลงออกกฎการใช้ป่าร่วมกัน มีบทลงโทษผู้บุกรุกป่า มีอาสาสมัครพิทักษ์รักษาป่าของชุมชน ซึ่งปัจจัยส่งเสริม ในการหาแนวปฏิบัติที่เหมาะสม ได้แก่ 1) ปัจจัยด้านการบริหารจัดการของ อบต. โดยมีการขับเคลื่อนโดยการให้ความรู้ในเรื่องการจัดการป่า มีการสร้างเครือข่ายการทำงานในชุมชน 2) การหนุนเสริม เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

อุดมพงษ์ เกศศรีพงษ์ศา, สาขาวิชวิศวกรรมการจัดการอุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์

ปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (2561)

ปริญญาโท วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.) สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา (2551)

ปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.บ.) สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (2547)

References

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2558). เอกสารเผยแพร่ – กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ : กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
ขนิษฐา นันทบุตร และคณะ. (2558). การพัฒนาทักษะกระบวนการวิจัยชุมชนเชิงชาติพันธุ์วรรณนาแบบเร่งด่วน (RECAP). กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
คำกอง บุญคำ และคณะ. (2555). รูปแบบการฟื้นฟูแหล่งอาหารในป่าหัวไร่ปลายนาที่เหมาะสมกับชุมชนหนองปอ ตำบลหนองเรือ อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
นิมิต หาระพันธ์ และคณะ. (2551). รูปแบบการจัดการป่าชุมชนดงต่อ – ดงยางเพื่อฟื้นฟูแหล่งอาหารและรายได้ของชุมชนบ้านบุ่งหวาย ตำบลสงเปือย อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
ประมวล เจริญยิ่ง และคณะ. (2549). การศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการป่าชุมชนป่าละหอกกระสัง ตำบลเขาคอก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
ประสิทธิ์ กาบจันทร์ และคณะ. (2547). ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการป่าชุมชน : กรณีศึกษาบ้านขุนแจ๋และบ้านสามลี่ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร, 27(3), หน้า 47-52.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). เนื้อที่ป่าไม้จากการแปลภาพดาวเทียม จำแนกตามภาคและจังหวัด พ.ศ. 2556 – 2560. กรุงเทพฯ : สำนักงานสถิติแห่งชาติ.
อุทัย บางเหลือ และคณะ. (2553). การใช้ประโยชน์และอนุรักษ์ป่าชุมชนโคกบ๋าใหญ่เพื่อหารูปแบบการแก้ปัญหาป่าโคกบ๋าใหญ่อย่างยั่งยืน ตำบลปลาค้าว อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
อุดมพงษ์ เกศศรีพงษ์ศา และคณะ. (2559). การยกระดับจิตสำนึกท้องถิ่นเพื่อการฟื้นฟูป่าชุมชนอย่างยั่งยืนตำบลโคกกลาง อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น และ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.