แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวที่เหมาะสมสำหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุภายใต้บริบทพื้นที่ภาค ตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) วิเคราะห์ความต้องการของนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุที่มีต่อแหล่งท่องเที่ยวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 2) ประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 ที่ตรงกับความต้องการของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ และ 3) เสนอแนะแนวทางในการจัดการการท่องเที่ยวที่เหมาะสมสำหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุ ผลการประเมินความต้องการของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ พบว่า วัตถุประสงค์ในการท่องเที่ยวส่วนใหญ่ต้องการมาท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อน ในช่วงวันหยุดเทศกาล/นักขัตฤกษ์ ระยะเวลาการท่องเที่ยวสั้น ๆ เพียง 1 วัน ส่วนใหญ่ท่องเที่ยวกับครอบครัว/ญาติ ใช้รถยนต์ส่วนตัวในการเดินทางท่องเที่ยว ค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวแต่ละครั้งน้อยกว่า 1,000 บาท ต้องการความสะดวก ทั้งสถานที่จอดรถ ทางเดิน ทางเท้า ห้องน้ำ ความรู้ สิทธิพิเศษแก่ผู้สูงอายุ (ราคาตั๋ว, การบริการอื่น ๆ ) และความเอาใจใส่จากพนักงานบริการ แนวทางการจัดการท่องเที่ยวที่เหมาะสมสำหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุภายใต้บริบทพื้นที่ในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 คือ ควรมีการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ห้องน้ำ ทางเดินลาดชัด สถานที่จอดรถที่อยู่ใกล้กับสถานที่ท่องเที่ยว การปรับภูมิทัศน์ ความสะอาด ความปลอดภัย ป้ายบอกทาง สัญลักษณ์ และการจัดทำข้อมูลประชาสัมพันธ์ในช่องทางต่าง ๆ นอกจากนี้ ควรวางแผนการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้มีกิจกรรมการท่องเที่ยวที่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุมากยิ่งขึ้น การจัดทำเส้นทางการท่องเที่ยวเพื่อเชื่อมต่อกับแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงในจังหวัดนั้น ๆ เส้นทางการท่องเที่ยวระยะสั้น ๆ แต่สามารถเชื่อมต่อกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ เดินทางท่องเที่ยวได้ภายในหนึ่งวัน นอกจากนี้ควรนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้สนับสนุนแหล่งท่องเที่ยว ปรับปรุงและเพิ่มเติมสิ่งบริการที่อำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ และบุคคลทั่วไป โดยคำนึงถึงความเหมาะสมตามบริบทของพื้นที่ และ สร้างรูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวที่เหมาะสมกับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ และศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยว
Article Details
เนื่อหาและข้อมูลในบทความ เป็นความรับผิดชอบของผุ้แต่ง
บทความในวารสารเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น
References
2546. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://dop.go.th (วันที่ค้นข้อมูล : 19 สิงหาคม
2562).
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ : สุรีวิทยาสาส์น.
ลัดณา ศรีอัมพรเอกกุล และธีระวัฒน์ จันทึก. (2561). การท่องเที่ยวคุณภาพเพื่อ
นักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์,
4(1), หน้า 12-28.
ศุภวัตร มีพร้อม. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวโบราณสถาน
ในกลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 35(2), หน้า
73-87.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). “สถิติบอกอะไร ผู้สูงวัยปัจจุบันและอนาคต”. [ออนไลน์].
เข้าถึงได้จาก : http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/Press_Release/2561/
N10-04-61-1.aspx (วันที่ค้นข้อมูล : 18 มิถุนายน 2562).
Chiang, L., et al. (2014). A comparative study of generational preferences for
trip-planning resources : A case study of international tourists to Shanghai.
Quality Assurance in Hospitality and Tourism, 15(1), pp 78 – 99.
Nabin Paudyal. (2017). 10 Reasons Why Traveling Is The Best Form of Education.
[Online]. Available from : http://www.lifehack.org/359773/10-reasons-why-
traveling-the-best-form-education (Retrieved May 13, 2018].