การศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของกลุ่มผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนบ้านโคกเขา ตำบลโคกมะม่วง อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาพัฒนาการกลุ่มผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยของชุมชนบ้านโคกเขา ตำบลโคกมะม่วง อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ 2. เพื่อศึกษาองค์ความรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของกลุ่มผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยชุมชนบ้านโคกเขา ตำบลโคกมะม่วง อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ 3. เพื่อค้นหาแนวทางการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ของชุมชนบ้านโคกเขา ตำบลโคกมะม่วง อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เจาะลึก สนทนากลุ่ม การเดินสำรวจ และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม ผลการศึกษา พบว่า พัฒนาการกลุ่มผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยของชุมชนบ้านโคกเขามี 2 ประการ คือ 1. การก่อตัวทางประวัติศาสตร์ของกลุ่มผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยชุมชนบ้านโคกเขา 2. การประกาศอิสรภาพภายใต้ระบอบประชาธิปไตยกลุ่มผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยชุมชนบ้านโคกเขา นอกจากนี้ยังพบองค์ความรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของกลุ่มผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยชุมชนบ้านโคกเขาเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ต่อสู้กับรัฐบาลไม่ว่าจะเป็นองค์ความรู้สัญลักษณ์การสื่อสารของกลุ่ม องค์ความรู้การเชิญชวนให้เข้าร่วมกลุ่มผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย และองค์ความรู้การดำรงชีวิตในป่า เป็นต้น จนนำไปสู่การค้นพบแนวทางการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของชุมชนบ้านโคกเขา 4 ประการ ได้แก่ 1. แหล่งเรียนรู้อนุสรณ์สถานประชาชนอีสานใต้ 2. แหล่งเรียนรู้อาคารพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน 3. แหล่งเรียนรู้ศาลาหลวงปู่เกาะ ยโสธโร 4. แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาสมุนไพรไทยและแพทย์แผนจีน การวิจัยนี้จึงนับได้ว่าเป็นการวิจัยที่สะท้อนการค้นพบคุณค่าของประวัติศาสตร์ท้องถิ่นให้กลายเป็นองค์ความรู้ที่สำคัญนำไปสู่การพัฒนาต่อยอดให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
Article Details
เนื่อหาและข้อมูลในบทความ เป็นความรับผิดชอบของผุ้แต่ง
บทความในวารสารเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น
References
ปัญญาจังหวัดบุรีรัมย์. กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ.
จักษ์ พันธ์ชูเพชร. (2548). รัฐศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 4. ปทุมธานี : มาย พับลิชชิ่ง.
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. (2538). ประวัติการเมืองไทย. กรุงเทพฯ : ดอกหญ้า.
ชัยณรงค์ แกล้วกล้า. (2560). คอมมิวนิสต์ฤาจะล่ม. กรุงเทพฯ : สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์.
ดุษฎี ช่วยสุข. (2559). การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ กรณีศึกษา บ้านชีทวน. วารสารวิถีสังคมมนุษย์. 4 (2) ; 296-309.
ธิกานต์ ศรีนารา. (2548). ยุทธศาสตร์ของคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ความเปลี่ยนแปลงและความต่อเนื่อง. กรุงเทพฯ: เอเชียปริทัศน์.
นิลวดี พรหมพักพิง มณีมัย ทองอยู่ และวิยุทธ์ จำรัสพันธุ์. (2557). การช่วงชิงพื้นที่การเมืองระหว่างรัฐและ
ท้องถิ่น กรณีศึกษาหมู่บ้านผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยในภาคอีสาน. วารสารสังคมลุ่มน้ำโขง. 10 (2) ; 131-157.
ประจวบ อัมพะเศวต. (2546). พลิกแผ่นดิน ตอนขบวนการสังคมนิยมไทย. กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ.
ประภาส รวมรส. (2553). ยุทธการ ยุทธพิชัย. กรุงเทพฯ : มิ่งมิตร.
ภูมิวัฒน์ พรวนสุข. (2558). กลวิธีการโฆษณาชวนเชื่อของคอมมิวนิสต์ต่อประเทศไทย. กรุงเทพฯ :
เรืองศิลป์.
ยงยุทธ ชูแว่น. (2551). ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
ยศ สันติสมบัติ. (2543). จากวานรถึงเทวดา : มากซิสม์และมานุษยวิทยามากซิสต์. พิมพ์ครั้งที่ 3.
กรุงเทพ ฯ : ธรรมศาสตร์.
ลภัส อัครพันธุ์. (2558). ยุทธศาสตร์ ยุทธวิธีกับการปฎิวัติไทย. กรุงเทพฯ : เจ้าพระยา.
ลัด เสารี. (2554). การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นแล้ว. วารสารสโมสร19. 37 (3) ; 34-36.
สุภางค์ จันทวานิช. (2552). ทฤษฏีสังคมวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เสรี พงศ์พิศ. (2546). แผนชีวิตเศรษฐกิจชุมชน. กรุงเทพฯ : ภูมิปัญญาไท.
อ่อน อีศานปุระ. (2559). พื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรมของการเมืองไทย. วารสารมนุษยศาสตร์
สังคมศาสตร์. 33 (47) ; 217-221.
โอฬาร ถิ่นบางเตียว. (2558). ข้อสังเกตว่าด้วยแนวทางการกระจายอำนาจของคณะทำงานการปฏิรูปด้านการปกครองท้องถิ่น
และข้อควรพิจารณาในการปฏิรูปการกระจายอำนาจแนวเศรษฐศาสตร์การเมืองท้องถิ่น. วารสารเศรษฐกิจ
การเมืองบูรพา. 3 (2) ; 105-136.
_______. (2559). การศึกษาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจการเมืองท้องถิ่น ด้วยวิธีการประวัติศาสตร์บอกเล่า : กรณีศึกษา
ตำบลกระแสบน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง. วารสารเศรษฐศาสตร์การเมือง
บูรพา. 4 (2) ; 1-29