รูปแบบการบริหารจัดการแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน บ้านเมืองแก ตำบลเมืองแก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

ฐิตาภรณ์ เวียงวิเศษ
อุดมพงษ์ เกศศรีพงษ์ศา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อหารูปแบบการบริหารจัดการแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านเมืองแก ตำบลเมืองแก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ และ 2. เพื่อหาแนวทางการปฏิบัติร่วมกันที่เหมาะสมในการการบริหารจัดการแหล่งน้ำของชุมชนเพื่อการอุปโภคบริโภคอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านเมืองแก ตำบลเมืองแก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลจากชุมชนในเป้าหมาย คือ ชุมชนบ้านเมืองแก ตำบลเมืองแก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ใช้วิธีการเลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง จำนวน 10 ครัวเรือน ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการบริหารจัดการแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านเมืองแก ตำบลเมืองแก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า ปัญหาการจัดการแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านเมืองแก ขาดองค์ความรู้ใหม่ ๆ การบริหารจัดการแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน ยังไม่มีรูปแบบการบริหารจัดการน้ำอย่างชัดเจน ยังไม่มีรูปแบบการนำแหล่งน้ำธรรมชาติไปให้ถึงคนที่ยังไม่ได้ประโยชน์ ต้องการนำน้ำมาปลูกพืชนอกฤดูกาลทำนาเพื่อให้ประชานมีรายได้เพิ่มขึ้น ต้องการบริหารจัดการน้ำโดยใช้พลังงานทางเลือก ขาดการประชาสัมพันธ์การบริหารจัดการแหล่งน้ำ จากงานวิจัยนี้จึงทำให้ได้รูปแบบการบริหารจัดการแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคอย่างมีส่วนร่วม โดยจัดการแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านเมืองแก มีการนำนวัตกรรมระบบสูบน้ำใช้แรงดันอากาศที่คนในชุมชนสามารถลงทุนเองได้ ต้นทุนต่ำ ซึ่งผลการดำเนินงานของครัวเรือนในชุมชน ช่วยลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนจากการใช้พลังงานไฟฟ้าหรือพลังงานน้ำมัน ลงได้ร้อยละ 10

Article Details

How to Cite
เวียงวิเศษ ฐ., & เกศศรีพงษ์ศา อ. (2020). รูปแบบการบริหารจัดการแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน บ้านเมืองแก ตำบลเมืองแก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น, 15(1), 92–101. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RDIBRU/article/view/236674
บท
บทความวิจัย

References

ขนิษฐา นันทบุตร และคณะ. (2558). การพัฒนาทักษะกระบวนการวิจัยชุมชนเชิงชาติพันธุ์วรรณนาแบบเร่งด่วน (RECAP). กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
คณพัฒน์ ทองคำ และคณะ. (2556). โครงการวิจัยเพื่อการพัฒนาระบบบูรณาการความร่วมมือในระดับพื้นที่ กรณีประเด็นเพื่อการจัดการทรัพยากรน้ำ และภัยพิบัติจากน้ำอย่างมีส่วนร่วม ลุ่มน้ำย่อยคลองท่าดี จังหวัดนครศรีธรรมราช. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
ณัฐวรรธน์ สุนทรวริทธิโชติ. (2556). การศึกษาสภาพปัญหาสิ่งแวดล้อมในเขตตำบลสามบัณฑิต : กรณีศึกษา ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประชาชน. รายงานการวิจัย คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์. พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
ปราโมทย์ ไม้กลัด. (2557). ทางออกการบริหารการจัดการน้ำของไทย. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : https://thaipublica.org/2014/03/water-management-solutions/. (สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2560).
มูลนิธิชัยพัฒนา. (2555). โครงการวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : www.haii.or.th /wiki84/index.php/. (สืบค้นเมื่อวันที่ 11 มษายน 2560).
สุรศักดิ์ นุ่มมีศรี และคณะ. (2557). การจัดการทรัพยากรนํ้าเพื่อการอุปโภคและบริโภคในพื้นที่ลุ่มนํ้ายวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพและสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่.