การจัดการองค์ความรู้ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ จังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

ณัฐวุฒิ ทะนันไธสง
ชนัดดา รัตนา
อาลัย จันทร์พาณิชย์
ชลาวัล วรรณทอง

บทคัดย่อ

การจัดการองค์ความรู้ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อศึกษาองค์ความรู้ด้านอนุรักษ์และแนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ใช้วิธีการศึกษาแบบมีส่วนร่วม การสังเกต สัมภาษณ์และการจัดเวทีชุมชน พบว่า ภูมิปัญญาที่พบในชุมชนบ้านคลองโป่งและบ้านคลองหิน สามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภท ได้แก่ ภูมิปัญญาด้านความเชื่อพิธีกรรมและด้านวิถีชีวิตวิทยาการ ซึ่งด้าน ความเชื่อและพิธีกรรมพบภูมิปัญญาทั้งหมด 4 ภูมิปัญญา ได้แก่ พิธีกรรมการบวชป่า การปลูกต้นไม้ในช่วงปริวาสกรรม ความเชื่อด้านเจ้าป่าและความเชื่อเกี่ยวกับผีบรรพบุรุษ ส่วนด้านวิถีชีวิตและวิทยาการพบภูมิปัญญาในการอนุรักษ์ทั้งหมด 7 ภูมิปัญญา ได้แก่ แบ่งพื้นที่ออกเป็นพื้นที่ปลูกพืชและพื้นที่อนุรักษ์ ปลูกพืชไว้เป็นอาหารสัตว์ เพาะชำต้นกล้าไม้คืนสู่ป่า ตั้งชมรมอาสาพิทักษ์ป่า กิจกรรมร่วมกันดับไฟป่า อนุรักษ์แหล่งน้ำธรรมชาติไว้เป็นแหล่งน้ำดื่มของสัตว์ป่าและการประยุกต์ทำเครื่องส่งสัญญาณเสียงเพื่อขับไล่สัตว์ป่า มีแนวทางการจัดการในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แบ่งออกเป็นทั้งหมด 6 แนวทางด้วยกัน ได้แก่ การจุดประกายพลังชุมชน การสร้างเครือข่าย การพัฒนาแผนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติชุมชน การสร้างการเรียนรู้และมีส่วนร่วมของเยาวชน การบูรณาการร่วมกับหลักศาสนาและการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

Article Details

How to Cite
ทะนันไธสง ณ., รัตนา ช., จันทร์พาณิชย์ อ., & วรรณทอง ช. (2020). การจัดการองค์ความรู้ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น, 15(1), 81–91. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RDIBRU/article/view/225349
บท
บทความวิจัย

References

จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร. (2548). การพัฒนาศักยภาพชุมชนในการจัดการองค์ความรู้ท้องถิ่นทางด้านสุขภาพ บ้านกึ้ดสามสิบหมู่ 6 ต.สบป่อง อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
พระครูพิพิธสุตาทร. (2552). การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการอนุรักษ์ป่าชุมชน บนฐานเศรษฐกิจพอเพียง. รายงานการวิจัย. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มูลนิธิสืบนาคะเสถียร. (2561). สถานการณ์ป่าไม้ไทย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.seub.or.th/document/สถานการณ์ป่าไม้ไทย/รายงานสถานการณ์ป่าไม้ไ-6/. (วันที่ค้นข้อมูล : 9 มีนาคม 2562).
สมาคมท่องเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์. (2556). เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ ผืนป่ามรดกโลกใน บุรีรัมย์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://burirambta.wordpress.com/2013/05/02/437/. (วันที่ค้นข้อมูล : 10 มีนาคม 2562).
สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดบุรีรัมย์. (2561). เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://province.mots.go.th/ewtadmin/ewt/buriram/news_view.php?nid=426. (วันที่ค้นข้อมูล : 8 มีนาคม 2562).
สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2561). เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://motogp.thailandtourismdirectory.go.th/th/attraction/item/เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่.html. (วันที่ค้นข้อมูล : 8 มีนาคม 2562).
WCS Thailand. (2007). A Manual for Human-Elephant Conflict Mitigation. Bangkok : Saeng Muang Printing Co.,Ltd.