มูลค่าในการอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม ศิลปกรรมชุมชน บริเวณคลองอัมพวาในมุมมองนักเศรษฐศาสตร์

Main Article Content

ธานินทร์ ไซยเยชน์

บทคัดย่อ

ชุมชนริมน้ำคลองอัมพวา เป็นเมืองเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุ ศรีอยุธยา มีการสั่งสมมรดกทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย ทั้งสถาปัตยกรรม อาคารริมน้ํา ศิลปหัตถกรรม โบราณสถาน และประวัติศาสตร์ซึ่งเป็นสถานที่ ประสูติของสมเด็จพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี ในปัจจุบัน ศิลปกรรมและสิ่งแวดล้อมศิลปกรรม ของชุมชนซึ่งเป็นตัวแสดงถึงเอกลักษณ์หรือความเจริญงอกงามของมรดกทาง วัฒนธรรมกําลังอยู่ในสภาพเสื่อมโทรม ไม่ได้รับการดูแลรักษาเท่าที่ควร แม้ว่า ความหลากหลายทางวัฒนธรรมได้เอื้อประโยชน์ต่อชุมชนและสังคมโดยรวม
การศึกษาครั้งนี้ เน้นการประเมินมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ในการอนุรักษ์ และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมชุมชนบริเวณคลองอัมพวาให้เป็นตัวเงิน เพื่อให้การ จัดลําดับโครงการพัฒนาโดยภาครัฐเป็นไปอย่างถูกต้องและเหมาะสมกับประโยชน์ ที่จะได้รับ การประเมินใช้วิธีสมมติสถานการณ์ให้ประเมินค่า (contingent valuation method) ทั้งที่เป็นมูลค่าจากการใช้ (use value) และมูลค่าจากการ! มิได้ใช้ (non-use value) โดยการสอบถามความเต็มใจจะจ่าย (willingness to pay, WTP) ของประชาชนในชุมชนเขตเทศบาลตําบลอัมพวา 100 ตัวอย่าง และ ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล 150 ตัวอย่าง ที่มีต่อโครงการ อนุรักษ์และฟื้นฟูชุมชนเมืองริมน้ํา และโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูชุมชนชนบทริมน้ํา และเขตสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติคลองอัมพวา เฉลี่ยต่อเดือนของบุคคล โดยมูลค่าทาง เศรษฐศาสตร์รวมในการอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่ง แวดล้อมศิลปกรรมชุมชนบริเวณคลองอัมพวามีค่า เท่ากับ 1,695.42 2,191.92 และ 1,700.09 ล้านบาท ต่อปี สําหรับโครงการที่ 1 ระดับ 1 โครงการที่ 1 ระดับ 2 และโครงการที่ 2 ตามลําดับ

Article Details

How to Cite
ไซยเยชน์ ธ. (2008). มูลค่าในการอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม ศิลปกรรมชุมชน บริเวณคลองอัมพวาในมุมมองนักเศรษฐศาสตร์. วารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น, 3(1), 63–69. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RDIBRU/article/view/128764
บท
บทความวิจัย