การพัฒนาระบบการจัดการ เครือค่ายวิสาหกิจชุมชน เพื่อเสิรมสร้างขีดความสามารถในท้องถิ่นอย่างเป็นระบบและยั่งยืน จังหวัดนครพนม

Main Article Content

วีระศักดิ์ จุลดาลัย
พณิฐา ยงพิทยาพงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบชุมชนมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพของกลุ่ม วิสาหกิจชุมชน การสร้างเครือข่าย การเรียนรู้ เครือข่ายข้อมูลข่าวสาร เครือ ข่ายวัตถุดิบ เครือข่ายการตลาด เครือข่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ เครือข่ายบรรจุภัณฑ์ รวมทั้งการหาแนวทางการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน ในพื้นที่จังหวัดนครพนม และจังหวัดมุกดาหาร มีกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วยกลุ่มวิสาหกิจชุมชนประเภทผ้า ทอพื้นบ้าน จํานวน 5 กลุ่ม กลุ่มวิสาหกิจจักสาน 1 กลุ่ม กลุ่มวิสาหกิจ เครื่องปั้นดินเผา 1 กลุ่ม และกลุ่มวิสาหกิจอุ 1 กลุ่ม ดังต่อไปนี้ คือกลุ่มผ้าทอ พื้นเมืองบ้านโพนค้อ หมู่ที่ 4 ศูนย์ส่งเสริมหัตถกรรมทอผ้ามุกนครพนม กลุ่มทอ ผ้ามัดหมีหนองผักตบ หมู่ที่ 4 กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรหนองผักตบพลังใหม่ หมู่ที่ 9 กลุ่มทอผ้าฝ้ายบ้านปากช่อง กลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านกลาง หมู่ที่ 1 กลุ่ม อุบ้านภูไท และกลุ่มจักสานบ้านนามูลสิ้น ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนทั้ง 8 กลุ่ม มีความหลากหลายทั้งบริบทกลุ่ม มีทุน ทางวัฒนธรรม ทุนทางสังคม ทุนทาง ทรัพยากรธรรมชาติ และศักยภาพที่แตกต่างกัน โดยการวิเคราะห์ด้วยกระบวนการ SWOT Analysis และนําผลจากกระบวนการวิเคราะห์ ศักยภาพกลุ่มมาทําแผนพัฒนาศักยภาพของกลุ่ม เพื่อนําไปบูรณาการสู่ “เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน” ที่มีความหลากหลาย โดยการนําจุดแข็งของกลุ่ม วิสาหกิจชุมชนกลุ่มหนึ่งมาเสริมจุดอ่อนของอีก กลุ่มหนึ่ง เป็นการหาแนวทางการพัฒนาเครือ ข่ายร่วมกัน รวมทั้งการแบ่งปันทรัพยากรซึ่งกัน และกัน ทําให้เกิดเครือข่ายวัตถุดิบ เครือข่าย ข้อมูลข่าวสาร เครือข่ายการเรียนรู้ เครือข่าย บรรจุภัณฑ์ เครือข่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ เครือข่าย การตลาดแบบต่างตอบแทน ประเภท Bater Trade โดยใช้สถาบันการศึกษาและส่วนราชการที่ เกี่ยวข้องเป็นที่ปรึกษา กระบวนการมีส่วนร่วมของกลุ่มวิสาหกิจ - ชุมชนในการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน จะ - ต้องมีแกนนําที่เข้มแข็ง มีเป้าหมายที่ชัดเจน
สมาชิกต้องเคารพในกฎระเบียบ มีการเรียนรู้ร่วม เกัน มีการแบ่งปันทรัพยากรที่เป็นธรรม มีการทํา กิจกรรมร่วมกัน มีความรู้สึกเป็นพี่เป็นน้องกัน โดยยึดหลักการพัฒนาทางด้านวัตถุและจิตใจควบคู่ กันไป เพื่อเติมเต็มและส่งเสริมซึ่งกันและกันตาม หลักการพัฒนาการเศรษฐกิจที่ยั่งยืน การอนุรักษ์ “และส่งเสริมคุณค่าทางวัฒนธรรม การรักษาสิ่ง
แวดล้อมทางธรรมชาติ การมีธรรมมาภิบาล การ - เชื่อมโยงและการพัฒนาเครือข่ายจะต้องเป็นไป
ตามความต้องการของกลุ่มต่าง ๆ ที่เป็นไปโดย 2. ธรรมชาติ ซึ่งปราศจากการจัดตั้งจากส่วนราชการ หรือองค์กรจากภายนอก เพื่อสร้าง “เครือข่าย แบบประสานพลัง” ให้เกิดความยั่งยืนต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย