การศึกษาศักยภาพเศรษฐกิจ ภายในจังหวัดบุรีรัมย์ กรณีศึกษาภาคอุตสาหกรรมและเกษตร

Main Article Content

ปรีชา ปาโนรัมย์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์อยู่ 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาถึงสภาพทั่วไป ปัญหา อุปสรรคทางด้านเศรษฐกิจภายในจังหวัดบุรีรัมย์ 2) เพื่อศึกษาศักยภาพ ทางเศรษฐกิจของจังหวัดบุรีรัมย์ ของภาคอุตสาหกรรมและ เกษตรภายในจังหวัด บุรีรัมย์ 3) เพื่อศึกษาถึงองค์ความรู้ด้านศักยภาพทางเศรษฐกิจ เพื่อนําไปใช้เสริม ความเข็มแข็ง สร้างความมั่นคง และเพิ่มศักยภาพทางด้านเศรษฐกิจภายใน จังหวัดบุรีรัมย์ ผลการศึกษามีดังนี้ ด้านสภาพทั่วไปในจังหวัดบุรีรัมย์พบว่า จังหวัดบุรีรัมย์ มีพื้นที่ทั้งหมด 718,235 ตร.กม. หรือ 437,807 ไร่ แบ่งการ ปกครองออกเป็น 21 อําเภอ 2 กิ่งอําเภอ 189 ตําบล 2,460 หมู่บ้าน 312,898 หลังคาเรือน 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด 184 องค์การบริหารส่วนตําบล และ 24 เทศบาล ปี 2549 มีจํานวนประชากรคือ 1,531,430 คน เป็นชาย 764,450 คน เป็นหญิง 766,973 คน ปัญหาและอุปสรรคทางเศรษฐกิจภายในจังหวัด บุรีรัมย์ เรียงลําดับจากมากไปหาน้อย คือ ปัญหาหนี้สิน ปัญหาความยากจน ปัญหารายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย ปัญหาทางด้านการผลิต ปัญหาการว่างงาน ปัญหาความเหลื่อมล้ําของการกระจายรายได้ ปัญหาไม่มีที่ดินทํากิน ปัญหาด้าน การศึกษาเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ ปัญหาเงินเฟ้อและเงินฝืด ปัญหาการรอ ฤดูกาล ปัญหาการรุกคืบของธุรกิจต่างชาติ ด้านศักยภาพเศรษฐกิจทางการ เกษตร ครัวเรือนทั้งหมดมี 349,934 ครัวเรือน เป็นครัวเรือนเกษตรกร จํานวน 247,847 ครัวเรือน พืชเศรษฐกิจที่สําคัญได้แก่ 1) ข้าว 2) มันสําปะหลัง 3) อ้อย 4) ยางพารา 5) หม่อนไหม สัตว์เศรษฐกิจที่สําคัญได้แก่ โค กระบือ ไก่ สุกร เศรษฐกิจทางด้านอุตสาหกรรม ปี 2550 มีโรงงานจํานวน 1,583 โรงงาน ส่วน ใหญ่เป็นโรงสีข้าว โรงงานน้ําตาล โรงงานเสื้อผ้า และโรงงานรองเท้า ด้านองค์ความรู้เกี่ยวกับ ศักยภาพเศรษฐกิจ พบว่า ด้านการเกษตร มีแนว โน้มจะพัฒนาขึ้นมาคือ ข้าว มันสําปะหลัง อ้อย ยางพารา ปศุสัตว์ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ํา ฟาร์ม ปลอดสารพิษ และเกษตรอินทรีย์ ส่วนศักยภาพ ของอุตสาหกรรม มี โรงสีข้าว โรงงานน้ําตาล โรงงานวิก โรงงานรองเท้า (ซีเบิร์ด) โรงงานทอ ผ้าในหมู่บ้าน โรงโม่หิน ร้านซ่อมรถ โรงงานผลิต เครื่องแต่งกาย โรงงานผลิตเครื่องนุ่มห่ม โรงงาน ผลิตภัณฑ์คอนกรีต ในศักยภาพเหล่านี้ หากมีการ ส่งเสริมและเพิ่มความเข้มแข็งแก่สินค้าเกษตรและ อุตสาหกรรมอย่างมีระบบ และมีการวางแผนการ ทํางานเป็นขั้นตอน จะทําให้สินค้าเกษตรและ อุตสาหกรรมมีการผลิตที่เข็มแข็งและยั่งยืน ลักษณะการส่งเสริมนั้นอาจอยู่ในรูปของ เงิน ลงทุน การจัดอบรมให้ความรู้เพื่อให้การผลิตมี ประสิทธิภาพและมีคุณภาพ การเตรียมการช่อง - การตลาดภายในประเทศและตลาดภายนอก “ประเทศ การส่งเสริมเพื่อให้เกิดมีการผลิตสินค้าใน รูปแบบอื่น ๆ โดยใช้วัสดุที่มีอยู่ และการส่งเสริม เพื่อให้เกิดการผลิตสินค้าโดยไม่ต้องรอฤดูกาล

Article Details

บท
บทความวิจัย