การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านเครื่องปั้นดินเผาบ้านกลาง ตำบลโนนตาล อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม

Main Article Content

วีระศักดิ์ จุลดาลัย
พณิฐา ยงพิทยาพงศ์
อาติมา ศรีปากดี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้อง ถิ่นด้านเครื่องปั้นดินเผาบ้านกลาง และชุมชนสามารถจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้อง ถิ่นด้านเครื่องปั้นดินเผาได้ด้วยตนเอง อันนำไปสู่การวิเคราะห์ สังเคราะห์เพื่อยก ระดับความรู้ ดำเนินการวิจัยโดยใช้เทคนิคการสัมภาษณ์ การสังเกต กิจกรรมจัดเวที แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การระดมสมอง และการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่มจากชุมชนบ้านกลาง คือ กลุ่มผู้นำชุมชน จำนวน 10 คน กลุ่มเยาวชน จำนวน 10 คน และกลุ่มผู้ประกอบอาชีพเครื่องปั้นดินเผา จำนวน 45 คน
ผลจากการวิจัย พบว่า การทำเครื่องปั้นดินเผาบ้านกลางมีการสืบทอดกันมา มากกว่า 150 ปี โดยช่างคนแรก คือ ปู่ไห และชุมชนบ้านกลางมีทรัพยากรและสิ่ง แวดล้อมตามธรรมชาติอย่างสมบูรณ์ ได้แก่ 1. แหล่งดินเหนียวจากแหล่งหนองกุดค้าว ซึ่งมีคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา 2. แหล่งป่าที่ ใช้ทำฟัน โดยกลุ่มผู้ผลิตได้จากป่าหัวไร่ปลายนา และสวนที่ถูกปรับพื้นที่เป็นไร่ สับปะรดและสวนยางพารา และตามที่สาธารณะรกร้างรอบหมู่บ้าน 3. ทรัพยากรบุคคล มีกลุ่มช่างทำเครื่องปั้นดินเผาที่นำวิชาชีพหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผามาเผยแพร่และ ถ่ายทอดสู่ชุมชนรุ่นหลังในเวลาต่อมาเป็นจำนวนมาก สำหรับรูปแบบกระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นเครื่องปั้นดินเผาบ้านกลาง เริ่มต้นจากพ่อและแม่ที่เป็นครูภูมิปัญญาด้านเครื่องปั้นดินเผาบ้านกลาง โดยเป็นการถ่ายทอดแบบตัวต่อตัว พ่อจะเน้นภูมิ ปัญญาการปั้น การออกแบบ การตกแต่งลวดลาย การเลือกดิน การเลือกพื้น การขุดดิน การก่อเตาเผา ส่วนภรรยาจะทำหน้าที่รอง คือ เป็นผู้สนับสนุน เกี่ยวกับการปั้น ได้แก่ การตากดิน การบดดิน การแช่ดิน การนวดดิน การล้อดิน การหมุนแป้น การ ตากผลิตภัณฑ์ การคัดเลือกผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้ เป็นการถ่ายทอดตามธรรมชาติ โดยเป็นไปตามวิถี ชีวิตของแต่ละครอบครัว การรับการถ่ายทอดจะมีระดับแตกต่างกันตามความพร้อมของผู้ถ่ายทอด และผู้รับการถ่ายทอด โดยส่วนใหญ่กระบวนการ ถ่ายทอดการทำเครื่องปั้นดินเผาเริ่มต้นตั้งแต่อายุ 7 ขวบขึ้นไป สามารถฝึกนวดดินช่วยพ่อแม่ได้ และ เมื่อเด็กเหล่านี้เติบโตขึ้นมา เขาสามารถฝึกทักษะ ได้อย่างรวดเร็ว ส่วนผู้เป็นแม่ จะเน้นหนักไปงาน ด้านความละเอียดตั้งแต่การบดดิน การนวดดิน การ ล้อดิน การหมุนแป้น โดยจะสอนในเวลาว่าง หรือ ช่วงเวลาพักผ่อน หรือการใช้ให้ช่วยทำงานแทน เมื่อเห็นว่าฝึกจนเกิดทักษะแล้ว นอกจากการถ่ายทอด ภูมิปัญญาเครื่องปั้นดินเผาภายในครอบครัวแล้ว เยาวชนชุมชนบ้านกลางได้รับการถ่ายทอดภูมิ ปัญญาเครื่องปั้นดินเผาภายในชุมชน โดยมีการนำ ปัญหาไปปรึกษาช่างผู้อาวุโสกว่า และได้รับการ บอกเล่าประสบการณ์และเทคนิคต่าง ๆ ให้ฟัง ทำให้ สามารถนำองค์ความรู้และเทคนิคต่าง ๆ ไปสู่การปฏิบัติ การทดลองทำและประยุกต์ใช้ ดัดแปลง เพื่อพัฒนาจนถึงปัจจุบัน และได้รับการถ่ายทอดจากหน่วยงานของรัฐ เช่น การเข้ารับการอบรม แต่จากกรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงอุตสาหกรรมรวมทั้งการถ่ายทอดจากภายนอกชุมชน มีการศึกษาดูงานนอกสถานที่ หรือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภูมิปัญญากับกลุ่มผู้ผลิตภายนอกชุมชน และสามารถหาแนวทางนำภูมิปัญญาท้องถิ่นด้าน เครื่องปั้นดินเผามาบูรณาการกับเทคโนโลยีการ ผลิตสมัยใหม่ เพื่อสร้างสรรค์มูลค่าเพิ่ม (Value Creation) ให้กับผลิตภัณฑ์ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย