การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • อาจยุทธ เนติธนากูล คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

DOI:

https://doi.org/10.14456/tisr.2024.17

คำสำคัญ:

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, องค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี, บุคลากร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ปทุมธานี และ 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานีจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 215 ตัวอย่างที่เป็นข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างภารกิจ และลูกจ้างทั่วไปในองค์การบริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างโดยใช้สถิติ t-Test และ F-Test ผลการวิจัย พบว่า 1) บุคลากรมีความคิดเห็นต่อแนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาพรวมระดับมาก และเมื่อพิจารณาแต่ละด้าน มีความคิดเห็นในระดับมากคือ ด้านการอบรม ด้านการพัฒนา และด้านการศึกษา ตามลำดับ 2) เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นแนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ พบว่า ปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ ด้านระดับการศึกษา ด้านประเภทของบุคลากร และด้านประสบการณ์ในการทำงานที่แตกต่างกันมีผลต่อความคิดเห็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05

References

วิทยา สุจริตธนารักษ์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาทุนมนุษย์ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 8(1), 181-185.

ศิริพร สกุลเจริญพร. (2554). กลยุทธ์การพัฒนาบุคลากรขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 22(2), 40-50.

เอกราช กิตฺติธโร. (2556). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ. การค้นคว้าอิสระ พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Bohlander, G., & Snell, S. (2010). Managing Human Resources. New York: Singapore: Cengage Learning.

Chinachoti, P. (2018). The Readiness of Human Resource Management for Industrial Business Sector towards Industrial 4.0 in Thailand. Asian Administration and Management Review, 1(2), 123-131.

Khangkhasri, C. (2017). Guidelines for Human Resource Development of Small Radio Stations: A Case Study of Chantaburi, Thailand. PSAKU International Journal of Interdisciplinary Research, 6(2), 36-42.

Nadler, L. (1979). Research: An HRD Activity Area. Training and Development Journal, 33(5), 60-64.

Namdech, P., Rattanasirivilai, S., & Rathachatranon, W. (2023). Factors Influencing Organizational Citizenship Behavior of Government Officials: A Conceptual Framework. Procedia of Multidisciplinary Research, 1(10), 1.

Sonwa, S., Jai-aree, A., & Sujjasophon, R. (2018). The Process of Human Resource Development to Become a Democratic Community: A Case Study of Excellent Democratic Communities in Kham Khuean Kaew District, Yasothon Province, Thailand. Asian Political Science Review, 2(1), 73-85.

Tavachalee, R., Pulanram, P., Sophonphattanabundit, P., Phathong, K., & Choutikavatchagul, S. (2019). Promoting Buddhist Ethics in Human Resources under the Context of Thai Society. Asian Political Science Review, 3(2), 22-31.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-31

How to Cite

เนติธนากูล อ. (2024). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี. สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย, 13(1), 195–202. https://doi.org/10.14456/tisr.2024.17