การสร้างจิตสำนึกสาธารณะทางการเมืองของสถานีโทรทัศน์รัฐสภา

ผู้แต่ง

  • ณิชาภา แก้วประดับ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

DOI:

https://doi.org/10.14456/tisr.2024.13

คำสำคัญ:

จิตสำนึกสาธารณะทางการเมือง, สถานีวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา, ประเภทรายการโทรทัศน์, รูปแบบรายการโทรทัศน์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและประเภทของเนื้อหาเกี่ยวกับการสร้างจิตสำนึกสาธารณะทางการเมืองของสถานีโทรทัศน์รัฐสภา และเพื่อศึกษาบทบาทการสร้างจิตสำนึกสาธารณะทางการเมืองของสถานีโทรทัศน์รัฐสภา งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา จากรายการทั้งหมดที่ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์รัฐสภา ในปี 2566 จำนวน 74 รายการ นำมาวิเคราะห์จำแนกตามประเภทรายการโทรทัศน์ และชนิดของรายการโทรทัศน์ โดยใช้แบบลงรหัส นอกจากนี้ยังสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์รัฐสภาและผู้ปฏิบัติงานของสถานีโทรทัศน์รัฐสภาที่มีอายุการทำงานในสถานีโทรทัศน์รัฐสภา 5 ปีขึ้นไป รวมจำนวน 9 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบ และประเภทของเนื้อหาเกี่ยวกับการสร้างจิตสำนึกสาธารณะทางการเมืองของสถานีโทรทัศน์รัฐสภา พบว่า สถานีโทรทัศน์รัฐสภามีรายการที่ออกอากาศในปี พ.ศ.2566 รวมจำนวน 74 รายการ โดยมีรูปแบบรายการสัมภาษณ์มากที่สุด รองลงมาคือ รายการสารคดี รายการข่าว รายการพูดคุย รายการอภิปราย และรายการละคร ตามลำดับ รายการที่ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์รัฐสภา ส่วนใหญ่เป็นรายการประเภทความรู้ และรายการประเภทข่าวและเหตุการณ์ปัจจุบัน และรายการประเภทบันเทิง 2) บทบาทการสร้างจิตสำนึกสาธารณะทางการเมืองของสถานีโทรทัศน์รัฐสภา พบว่า รายการที่ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์รัฐสภา เน้นบทบาทการเป็นสื่อกลางในการรายงานข่าวสารของพรรคการเมือง มากที่สุด รองลงมาคือบทบาทการวางตัวเป็นกลาง ไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง บทบาทการสนับสนุนให้มีการเลือกตั้งอย่างโปร่งใส และบทบาทการส่งเสริมให้ประชาชนออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ตามลำดับ

References

จิตรกร ละออศรี, ธัชชนันท์ อิศรเดช และ จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์. (2565). การสร้างจิตสำนึกทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของเยาวชนในเทศบาลเมืองอโยธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 11(5), 101-115.

พิจิตรา ปิติไกรสร. (2552). บทบาทการสร้างจิตสาธารณะทางการเมืองของสื่อมวลชนก่อนการเลือกตั้งวันที่ 23 ธันวาคม 2550. การค้นคว้าอิสระ นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สมพงศ์ เกษมสิน. (ม.ป.ป.). บทบาทของสื่อมวลชน. สืบค้นจาก www.baanjomyut.com/library_4/politics/08_6.html.

สุปรีดี สุวรรณบูรณ์. (2557). รูปแบบรายการวิทยุโทรทัศน์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-29

How to Cite

แก้วประดับ ณ. (2024). การสร้างจิตสำนึกสาธารณะทางการเมืองของสถานีโทรทัศน์รัฐสภา. สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย, 13(1), 152–161. https://doi.org/10.14456/tisr.2024.13