การพัฒนาศักยภาพธุรกิจชุมชนอย่างยั่งยืนของชุมชนนาหมื่นศรี อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง

ผู้แต่ง

  • ชารินี ใจเอื้อ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  • นิศานาถ มั่งศิริ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

DOI:

https://doi.org/10.14456/tisr.2024.14

คำสำคัญ:

การพัฒนาศักยภาพ, ธุรกิจชุมชน, นาหมื่นศรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพในการจัดทำแนวทางการบริหารจัดการและการส่งเสริมพัฒนาศักยภาพการประกอบธุรกิจของกลุ่มเป้าหมาย ทั้งในด้านกายภาพ การบริหารจัดการและบุคลากร และพัฒนาการดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจชุมชน ให้มีศักยภาพเพิ่มขึ้นในด้านการบริหารจัดการ กลุ่มตัวอย่างที่สำคัญในการให้ข้อมูล ได้แก่ ประธาน กลุ่มคณะกรรมการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชนนาหมื่นศรี อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มอาชีพที่ใช้ในการศึกษามีจุดแข็งในด้านภาวะผู้นำและความเป็นเอกลักษณ์ของสินค้า มีจุดอ่อนในด้านขาดแคลนแรงงานไม่มีตราสินค้าและขาดการประชาสัมพันธ์ มีโอกาสที่จะได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและจากกระแสความนิยม และอุปสรรคจากปัญหาด้านเศรษฐกิจและวัตถุดิบที่ต้องพึ่งจากธรรมชาติ 2) รูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการธุรกิจชุมชนโดยใช้ SCPD Integrated Model ได้แก่ 2.1) การสร้าง Story telling เพื่อเน้นเรื่องราวของผลิตภัณฑ์ 2.2) เน้นการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ 2.3) การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่สวยงามน่าสนใจและเหมาะที่จะเป็นของฝาก 2.4) การหาแนวทางในการเพิ่มปริมาณผลผลิตด้วยการสร้างเครือข่ายชุมชน 2.5) การรวมกลุ่มที่เข้มแข็งเพื่อผลิตภัณฑ์ที่มาจากชุมชน และ 2.6) พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐานสู่การขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน

References

กองส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. (2564). การต่อทะเบียนวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน ปี 2563. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการเกษตร.

จักรพงษ์ นวลชื่น. (2561). แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนให้ยั่งยืนด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นศึกษากรณี วิสาหกิจชุมชนในจังหวัดนครพนม และจังหวัดสกลนคร. รายงานการวิจัย หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 60 ลักษณะวิชาการเศรษฐกิจ, วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.

จันทิราพร ศิรินนท์. (2562). การพัฒนาศักยภาพความเป็นผู้ประกอบการเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของกลุ่มผู้ผลิตสินค้า OTOP จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม, 9(2), 31-37.

ชาลี อินทรชัย, วรารัตน์ เขียวไพรี และ ประภาพิทย์ อินทรชัย. (2560). รูปแบบการบริหารความเสี่ยง ด้านสิ่งแวดล้อมตามแนวทางเทคโนโลยีสะอาดของธุรกิจบริการที่พักและร้านอาหาร ในจังหวัดสมุทรปราการ. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

โชติมา หนูพริก และ สุเทพ อ่วมเจริญ. (2553). การพัฒนาระบบประเมินการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 2(1), 44-59.

ประพิน นุชเปี่ยม, ติญทรรศน์ ประทีปพรณรงค์ และ บงกช เจนจรัสสกุล. (2561). วิสาหกิจเพื่อสังคมในประเทศไทย: ข้อสังเกตบางประการต่อร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม. วารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน, 11(1), 109-141.

ปิยะดา พิศาลบุตร. (2561). กลยุทธ์การบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดปราจีนบุรี. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม, 8(1), 105-120.

วรินทร์ธร ธรสารสมบัติ. (2560). กลยุทธ์สินค้าวิสาหกิจชุมชนของผู้ประกอบการเขตอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารนวัตกรรมการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, 5(2), 27-41.

ศุภชัย เหมือนโพธิ์. (2559). การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการชุมชนตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์. การค้นคว้าอิสระ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศุภชัย เหมือนโพธิ์. (2560). การประยุกต์ใช้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยใช้รูปแบบ SCPD Intergrateed Model กรณีศึกษา กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม. Veridian E-Journal Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(1), 1698-1711.

สมเกียรติ สุทธินรากร. (2560). การพัฒนาโมเดลนวัตกรรมการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อการสร้างสรรค์ มูลค่าของผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชน. การค้นคว้าอิสระ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ.2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. สืบค้นจาก www.nesdc.go.th/main.php?filename=develop_issue.

สุดถนอม ตันเจริญ. (2560). การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนกับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของชุมชนบางขันแตก จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 13(2), 1-24.

สุภาภร ภิญโญฉัตรจินดา. (2561). การวิเคราะห์การเป็นผู้ประกอบการทางสังคมของผู้ประกอบการในเขตประกอบการสวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดอยุธยา. Veridian E-Journal Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(1), 662-678.

เสรี พงศ์พิศ. (2548). ฐานคิด: จากแผนแม่บทสู่วิสาหกิจชุมชน. กรุงเทพฯ: พลังปัญญา.

Babbie, E. (2001). The Practice of Social Research. 9th ed. California: Wadsworth-Thomson Learning Inc.

Cooper, D., & Schindler, P. (2001). Business Research Methods. 7th ed. London: McGraw-Hill Higher Education.

Denzin, N. (2009). The Research Act: A Theoretical Introduction to Sociological Methods. New York: Routledge.

Lohaus, D., & Kleinmann, M. (2002). Analysis of Performance Potential. In S. Sonnentag. (ed.). Psychological Management of Individual Performance (pp. 155-178). New Jersey: John Wiley & Sons.

Office of the National Economic and Social Development Council. (n.d.). The 20-Year National Strategy. Retrieved from http://nscr.nesdc.go.th/ns/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-16

How to Cite

ใจเอื้อ ช., & มั่งศิริ น. (2024). การพัฒนาศักยภาพธุรกิจชุมชนอย่างยั่งยืนของชุมชนนาหมื่นศรี อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง. สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย, 13(1), 162–171. https://doi.org/10.14456/tisr.2024.14