องค์ประกอบของหลักจริยธรรมวารสารศาสตร์ของนักข่าวพลเมือง

ผู้แต่ง

  • ณฐมน แก้วพิทูล มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • เสริมศิริ นิลดำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • จิราพร ขุนศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • กรกนก นิลดำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

DOI:

https://doi.org/10.14456/tisr.2024.7

คำสำคัญ:

นักข่าวพลเมือง, หลักจริยธรรมวารสารศาสตร์, องค์ประกอบของหลักจริยธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มุ่งศึกษาองค์ประกอบของหลักจริยธรรมวารสารศาสตร์และศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเชิงจริยธรรมวารสารศาสตร์ของนักข่าวพลเมือง ผลการศึกษาพบว่า องค์ประกอบของหลักจริยธรรมวารสารศาสตร์ของนักข่าวพลเมืองมี 9 องค์ประกอบ เรียงลำดับจากค่าน้ำหนักองค์ประกอบมากไปน้อย ได้แก่ 1) หลักผลประโยชน์ทางธุรกิจหรือการไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน 2) หลักการปกป้องคุ้มครองกลุ่มเปราะบาง 3) หลักการให้ความสำคัญกับนโยบาย เหตุการณ์สาธารณะและภัยพิบัติ 4) หลักสิทธิมนุษยชน ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และสิทธิส่วนบุคคล 5) หลักแห่งวัฒนธรรมและศีลธรรมของสังคม 6) หลักการเคารพในลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา 7) หลักประโยชน์สาธารณะและความรับผิดชอบต่อสังคม 8) หลักความสมดุลเป็นธรรม เสมอภาค รอบด้าน หลากหลายความคิดเห็น และ 9) หลักความถูกต้อง เที่ยงตรงของข้อมูลข่าวสาร ปัจจัยภายในที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเชิงจริยธรรมวารสารศาสตร์ของนักข่าวพลเมือง ได้แก่ 1) การเปิดเผยชื่อสกุลหรืออัตลักษณ์ของนักข่าวพลเมือง 2) ภูมิความรู้และประสบการณ์ของนักข่าวพลเมือง 3) ความใกล้ชิดกับผู้ตกเป็นข่าวหรือแหล่งข้อมูล 4) ผลประโยชน์ส่วนบุคคลของนักข่าวพลเมือง และ 5) ศักยภาพในการเข้าถึงแหล่งข้อมูล ส่วนปัจจัยภายนอก ได้แก่ 1) การแข่งขันกันของนักข่าวพลเมืองและผู้มีอิทธิพลในสื่อสังคมออนไลน์ 2) การขาดความระมัดระวังในการใช้เทคโนโลยีในการรายงานข่าว และ 3) การขาดการกำกับดูแลจากองค์กรสื่อมวลชนหรือสมาคมวิชาชีพ

References

เทียนทิพย์ เดียวกี่. (2560). จริยธรรมนักข่าวพลเมืองในการนำเสนอข่าวเด็กผ่านสื่อสังคมออนไลน์. การค้นคว้าอิสระ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

พรรณี อมรวิพุธพนิช. (2562). การกำหนดแนวทางปฏิบัติทาง “จริยธรรม” สำหรับนักข่าวพลเมือง ยุคสื่อสังคมออนไลน์. วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์, 23(1), 270-283.

พิศิษฐ์ ชวาลาธวัช. (2542). ปฏิรูปสื่อมวลชนท้องถิ่น: ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมและผลักดันองค์กรปกครองท้องถิ่นให้มีอิสระตามรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพฯ: ดับเบิ้ลนายน์.

มัทนา เจริญวงศ์ และ อาภาพรรณ ทองเรือง. (2556). การเกิดขึ้นและพัฒนาการของนักข่าวพลเมืองไทยพีบีเอส. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย, 33(2), 265-286.

วิโรจน์ ศรีหิรัญ. (2560). คุณค่าข่าวของสื่อมวลชนไทยในยุควารสารศาสตร์คอนเวอร์เจนซ์. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

สุรชัย เลาคำ. (2553). องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการแสดงบทบาทสุนัขเฝ้าบ้านของนักหนังสือพิมพ์. วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์, 13(2), 114-127.

เสริมศิริ นิลดำ. (2565). จริยธรรมวารสารศาสตร์. กรุงเทพฯ: โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

Fidalgo, J. (2013). Journalism is changing – and what about journalism ethics?. Retrieved from https://repositorium.sdum.uminho.pt/handle/1822/29727.

Hair Jr., J., Black, W., Babin, B., & Anderson, R. (2010). Multivariate Data Analysis: A Global Perspective. 7th ed. New Jersey: Pearson Education.

Lasica, J. (2003). Blogs and Journalism Need Each Other. Nieman Reports, 57(3), 70-74.

Noor, R. (2017). Citizen Journalism vs. Mainstream Journalism: A Study on Challenges Posed by Amateurs. Athens Journal of Mass Media and Communications, 3(1), 55-76.

Peat, D. (2010). Cellphone Cameras Making Everyone into a Walking Newsroom. Ontario: Toronto Sun.

Prelevic, I., & Milosavljevic, I. (2022). Citizen Journalism, Bloggers and Ethics. In B. Draškovic, J. Kleut & S. Milinkov. (eds.). Digitalne Medijske Tehnologije I Društveno-Obrazovne Promene 10 (pp. 29-42). Vojvodina: University of Novi Sad.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed. New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-02

How to Cite

แก้วพิทูล ณ., นิลดำ เ., ขุนศรี จ., & นิลดำ ก. (2024). องค์ประกอบของหลักจริยธรรมวารสารศาสตร์ของนักข่าวพลเมือง. สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย, 13(1), 77–87. https://doi.org/10.14456/tisr.2024.7