โปรแกรมพัฒนา การรู้ดิจิทัลสำหรับครูโรงเรียนประถมศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผู้แต่ง

  • ในตะวัน กำหอม คณะสังคมศาสตร์และศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยทองสุข

DOI:

https://doi.org/10.14456/tisr.2024.9

คำสำคัญ:

โปรแกรมพัฒนาการ, ความรู้ดิจิทัล, โรงเรียนขนาดเล็ก

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) องค์ประกอบและตัวชี้วัดการรู้ดิจิทัล 2) สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นการรู้ดิจิทัล 3) พัฒนาโปรแกรมการรู้ดิจิทัล และ 4) นำโปรแกรมไปสร้างสมรรถนะครูด้านการรู้ดิจิทัล ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบการรู้ดิจิทัลของครู ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับการค้นหาเนื้อหาทางดิจิทัล ความรู้เกี่ยวกับการสื่อสารโดยใช้ดิจิทัล และความรู้เกี่ยวกับการสร้างสรรค์สื่อดิจิทัล ทั้งนี้ การรู้ดิจิทัล มี 10 ตัวบ่งชี้ 2) สภาพปัจจุบันของสมรรถนะครูในการรู้ดิจิทัล โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และ 3) การนำโปรแกรมเสริมสมรรถนะครูไปใช้ พบว่า ครูมีพฤติกรรมตามตัวบ่งชี้อยู่ในระดับสมบูรณ์ครบ 19 ข้อ และมีพฤติกรรมตามตัวบ่งชี้อยู่ในระดับปานกลาง/พอใช้ 8 ข้อ ผลการประเมินก่อนพัฒนาโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง หลังพัฒนาโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผลประเมินความพึงพอใจผู้เข้าร่วมโปรแกรมการพัฒนาโดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด

References

กรณัฏฐ์ ฐิตากรพงศ์สถิต, สุมาลี ศรีพุทธรินทร์ และ วัชรี แซงบุญเรือง. (2565). สภาพ ความต้องการจําเป็นและแนวทางพัฒนาทักษะดิจิทัลของครูเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร. วารสารรัชต์ภาคย์, 16(47), 189-206.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). การเตรียมความพร้อมของกระทรวงศึกษาธิการ ก่อนเปิดภาคเรียน 1 กรกฎาคม 2563. สืบค้นจาก www.moe.go.th/การเตรียมความพร้อมของก/.

กิตติพงศ์ สมชอบ, วัลลภา อารีรัตน์, ปาริชาต ทุมนันท์ และ วรเทพ ฉิมทิม. (2563). การศึกษาองค์ประกอบของการเรียนรู้ดิจิทัลสำหรับบุคลากรสายสนับสนุน

มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย. บทความนำเสนอในงานวิชาการระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 21 มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 27 มีนาคม 2563.

ธนบดี สอนสระคู. (2564). โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการรู้ดิจิทัลของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์. การค้นคว้าอิสระ ศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นรีกานต์ ทํามาน, สุมาลี ศรีพุทธรินทร์ และ จารุวรรณ เขียวน้ำชุม. (2564). สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และแนวทางพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(42), 189-203.

นิตยา วงศ์ใหญ่. (2560). แนวทางการพัฒนาทักษะการรู้ดิจิทัลของดิจิทัลเนทีฟ. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ), 10(2), 1630-1642.

บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

วราพินทร์ ชาววิวัฒน์. (2565). แนวทางการส่งเสริมทักษะดิจิทัลของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พิษณุโลก เขต 2. การค้นคว้าอิสระ ศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ศักดิ์ดนัย โรจน์สราญรมย์. (2562). กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดความฉลาดรู้ทางดิจิทัลของนักเรียน. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภัทรา ภูษิตรัตนาวลี. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสำหรับคณาจารย์วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้. การค้นคว้าอิสระ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). คู่มือการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

อัญชลี วิมลศิลป์. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนผ่านเว็บตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยตลาดวิชา. วารสารปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 6(1), 31-45.

อำนาจ ไชยสงค์, ทัศนา ประสานตรี และ สุมาลี ศรีพุทธรินทร์. (2565). ทักษะดิจิทัลของครูที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการชั้นเรียนในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 19(1), 163-174.

Phakamach, P., & Panjarattanakorn, D. (2024). The Development of a Blended Learning Management Digital Platform on Entrepreneurship and Ventures in Education for Graduate Learner. Asian Education and Learning Review, 2(1), 1-16.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-15

How to Cite

กำหอม ใ. (2024). โปรแกรมพัฒนา การรู้ดิจิทัลสำหรับครูโรงเรียนประถมศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย, 13(1), 101–109. https://doi.org/10.14456/tisr.2024.9