ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสำนักงานอัยการสูงสุด

ผู้แต่ง

  • ธวัลรัตน์ สภาภักดิ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
  • ลัดดาวัลย์ สำราญ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

DOI:

https://doi.org/10.14456/tisr.2024.8

คำสำคัญ:

วัฒนธรรมองค์การ, ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, เทคโนโลยีสารสนเทศ, องค์การแห่งการเรียนรู้

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความคิดเห็นของปัจจัยวัฒนธรรมองค์การ ปัจจัยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ปัจจัยเทคโนโลยีสารสนเทศ และการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสำนักงานอัยการสูงสุด และ 2) ปัจจัยวัฒนธรรมองค์การ ปัจจัยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และปัจจัยเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสำนักงานอัยการสูงสุด เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลจากข้าราชการที่ปฏิบัติหน้าที่ด้านธุรการของสำนักงานอัยการสูงสุด จำนวน 255 คน ผลการวิจัย พบว่า 1) ความคิดเห็นของปัจจัยวัฒนธรรมองค์การในภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง ส่วนปัจจัยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ปัจจัยเทคโนโลยีสารสนเทศ และองค์การแห่งการเรียนรู้ของสำนักงานอัยการสูงสุดในภาพรวม อยู่ในระดับเห็นด้วย 2) ผลการทดสอบสมมุติฐานพบว่า ปัจจัยวัฒนธรรมองค์การ ได้แก่ ด้านใฝ่รู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ด้านความร่วมมือร่วมใจ ด้านมุ่งมั่นสู่ความเป็นเลิศ และด้านการมีคุณธรรม ปัจจัยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ ด้านกระตุ้นทางปัญญา ปัจจัยเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้แก่ ด้านเทคโนโลยีการจัดเก็บ และด้านเทคโนโลยีสนับสนุน การทำงานร่วมกัน มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสำนักงานอัยการสูงสุด ผลการศึกษานี้ผู้บริหารสามารถใช้เป็นแนวทางในการสร้างการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืนต่อไป

References

กาญจนาพร วงศ์อาจ และ โชติ บดีรัฐ. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรด้านงานธุรการสังกัดสำนักงานอัยการสูงสุด ในเขตพื้นที่ภาค 6. Journal of Modern Learning Development, 7(5), 1-14.

จักรพันธ์ พันธ์หินกอง และ ชูชาติ พ่วงสมจิตร์. (2562). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 39(5), 128-144.

จิรพรรณ โพธิ์ทอง, อรุณี สังขพานิต และ สาวิตรี ศิริผลวุฒิชัย. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 4(2), 79-92.

ชลิดา ทรัพยะประภา. (2565). การพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ของภาครัฐตามหลักสังคหวัตถุธรรม. วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษย์สังคมศาสตร์, 3(2), 36-48.

ชุตินันท์ มุ่งการนา, วิภาวี พิจิตบันดาล, วรพิทย์ มีมาก และ วรวิทย์ จินดาพล. (2562). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง วัฒนธรรมองค์การ องค์การแห่งการเรียนรู้กับประสิทธิผลของเทศบาลนคร: การวิเคราะห์เส้นทาง. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 11(21), 1-22.

นิสรา ใจซื่อ. (2564). แนวทางการพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้เพื่อพร้อมรับความเปลี่ยนแปลง. วารสารการบริหารและสังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 4(4), 126-135.

บุญช่วย ศิริเกษ. (2560). การศึกษาวัฒนธรรมองค์การแบบสร้างสรรค์กับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง. วารสารสมาคมนักวิจัย, 22(2), 65-80.

ปริญาพร ขุนพรม. (2564). เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการโรงเรียนประถมศึกษา. การค้นคว้าอิสระ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พงษ์เทพ จันทสุวรรณ, ลาชิต ไชยอนงค์ และ คมวัชร เอี้ยงอ่อง. (2562). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำ แรงบันดาลใจ วัฒนธรรมองค์การ องค์การแห่งการเรียนรู้ และประสิทธิผลองค์การในบริบทของศาลยุติธรรม. วารสารสมาคมนักวิจัย, 24(1), 17-31.

พรสุฎา เสนะวัต, อาภาภรณ์ ดาบณรงค์, วลี สงสุวงค์ และ จิณณพัต ชื่นชมน้อย. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของพนักงานที่เป็นคนไทยบริษัท N&N Foods Company Limited. บทความนำเสนอในงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 16 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, 3-4 ธันวาคม 2562.

พระสิฏฐชวิชญ์ สุปฏิปนฺโน (วงศ์อนุการ) และ ดำรงค์ เบญจคีรี. (2561). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2. วารสารบัณฑิตศาส์น มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 16(2), 29-39.

พัชรกันย์ เมธาอัครเกียรติ และ ประสพชัย พสุนนท์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(1), 1944-1960.

มัทนา วังถนอมศักดิ์. (2561). ภาวะผู้นำทางการศึกษา ทฤษฎีและการปฏิบัติ. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วัชรศักดิ์ นุกูล, สันติศักดิ์ กองสุทธิ์ใจ และ วินัย รังสินันท์. (2560). ภาวะผู้นำ การจัดการความรู้ และวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดพิจิตร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 11(1), 202-216.

วิภาวรรณ ตั้งวิริยะตระกูล, โสภนา สุดสมบูรณ์ และ กุลชลี จงเจริญ. (2564). สมรรถนะหลักและภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม, 8(2), 1-16.

สถิตย์ กุลสอน, ยืนยง ไทยใจดี และ ชานนท์ เศรษฐแสงศรี. (2563). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของวิทยาลัยสันตพล. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 15(1), 12-20.

สมชาย นำประเสริฐ. (2558). การจัดการความรู้. กรุงเทพฯ: บริษัท วี.พริ้นท์ (1991) จำกัด.

สำนักงานเลขาธิการสำนักงานอัยการสูงสุด. (2566). คู่มือการประเมินประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสำนักงานอัยการสูงสุด.

สำนักงานวิจัยและพัฒนาระบบงานบุคคล. (2560). ระบบราชการไทยในบริบทไทยแลนด์ 4.0. สืบค้นจาก www.ocsc.go.th/sites/default/files/document/thai-gov-system-context-thailand-4-0.pdf.

สำนักงานอัยการสูงสุด. (2563). แผนยุทธศาสตร์สำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ.2563-2566. สืบค้นจาก www3.ago.go.th/center/wp-content/uploads/2021/10/แผนยุทธศาสตร์-2563-2566.pdf.

สุภาวดี ลาภเจริญ, วิสุทธิ์ วิจิตรพัชราภรณ์ และ อัจฉรา นิยมาภา. (2561). ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษา, 1(1), 81-98.

อภิญญา ฉัตรช่อฟ้า และ บุญทัน ดอกไธสง. (2562). องค์การแห่งการเรียนรู้. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 5(1), 157-170.

อำนาจ วัดจินดา. (2566). การพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้. สืบค้นจาก www.hrcenter.co.th/file/columns/hr_f_20170510_172132.pdf.

Bass, B., & Avolio, B. (1994). Improving Organizational Effectiveness through Transformational Leadership. California: Sage Publications.

Cohen, J. (1977). Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences. New York: Academic Press, Inc.

Crocker, L., & Algina, J. (1986). Introduction to Classical and Modern Test Theory. New York: Holt Rinehart & Winston.

Denison, D. (1990). Corporate Culture and Organizational Effectiveness. New York: John Wiley & Sons.

Likert, R. (1932). A technique for measurement of attitudes. Archives of Psychology, 140, 5-55.

Rovinelli, R., & Hambleton, R. (1976). On the Use Content Specialists in the Assessment of Criteria Reference Test Item Validity. A Paper presented at the Annual Meeting of the 60th American Educational Research Association, San Francisco, California.

Senge, P. (1990). The Fifth Disciplines: The Art and Practice of Learning Organization. London: Random House, Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-15

How to Cite

สภาภักดิ์ ธ., & สำราญ ล. (2024). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสำนักงานอัยการสูงสุด. สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย, 13(1), 88–100. https://doi.org/10.14456/tisr.2024.8