การยกระดับศักยภาพการจัดการและคุณภาพการบริการของธุรกิจโฮมสเตย์ จังหวัดยะลา

ผู้แต่ง

  • กัลยรัตน์ พินิจจันทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
  • นันทรัตน์ นามบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
  • สุกฤษตา รักสุจริต มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
  • เจนตา แก้วไฝ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
  • ซูซัน หามะ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
  • ณฏฐาระวี พงค์กระพันธุ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
  • ชินวัตร จันทร์ฉายรัศมี มหาวิทยาลัยรังสิต

DOI:

https://doi.org/10.14456/tisr.2024.11

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยว, ศักยภาพการจัดการธุรกิจ, คุณภาพการบริการ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพการจัดการและคุณภาพการบริการของธุรกิจโฮมสเตย์ และพัฒนาต้นแบบการจัดการธุรกิจโฮมสเตย์เพื่อยกระดับศักยภาพการจัดการและคุณภาพการบริการของธุรกิจโฮมสเตย์ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ คือการที่ในพื้นที่มีสภาพแวดล้อมที่สวยงาม มีแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลาย ชุมชนมีความตื่นตัวในการต้อนรับท่องเที่ยว รวมถึงการได้รับจากสนับสนุนและส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวจากหน่วยงานของรัฐ ปัญหาหรืออุปสรรคการดำเนินงาน คือ ผู้ประกอบการขาดทักษะด้านการบริหารธุรกิจโฮมสเตย์ ทักษะด้านการบริการ การสื่อสารกับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ และความพร้อมด้านสาธารณูปโภค การพัฒนาต้นแบบการจัดการธุรกิจโฮมสเตย์เพื่อยกระดับศักยภาพการจัดการและคุณภาพการบริการ เน้นการดำเนินงานที่สอดคล้องตามมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย คำนึงถึงความต้องการของนักท่องเที่ยว รวมถึงบริบทของพื้นที่ การจัดกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ผู้ประกอบการโฮมสเตย์เพื่อให้เข้าใจถึงแนวทางการจัดการธุรกิจโฮมสเตย์ของตนเอง

References

กรประพัสสร์ เขียวหอม และ พรพันธุ์ เขมคุณาศัย. (2560). องค์ความรู้งานวิจัยโฮมสเตย์ในบริบทของสังคมไทย (พ.ศ.2544-2558). บทความนำเสนอในงานประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 8 มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, 22 มิถุนายน 2560.

กรมการท่องเที่ยว. (2558). มาตรฐานโฮมสเตย์ไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). สถิตินักท่องเที่ยวภายในประเทศ Q1-Q4 ปี 2563 (ภาคใต้). สืบค้นจาก www.mots.go.th/news/category/740.

จุติมา บุญมี, ธนินทร์ สังขดวง และ ปภัศร์ชกรณ์ อารีย์กุล. (2561). ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโฮมสเตย์ในภาคใต้. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 29(3), 74-89.

ดวงธิดา พัฒโน และ เกิดศิริ เจริญวิศาล. (2558). แนวทางปฏิบัติที่ดีของการท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ภายใต้แนวคิดของความยั่งยืน. วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 21(2), 3-35.

ดาวเดือน อินเตชะ, สุทธิศักดิ์ แสวงศักดิ์ และ พิมพ์พิศา จันทร์มณี. (2566). ศักยภาพการพัฒนาโฮมสเตย์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของชุมชนวอแก้ว อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา, 16(1), 1-17.

ตุ้ยวิไล พิลาคำ, นิศานาจ โสภาพล และ มาลี ไชยเสนา. (2562). รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชนเผ่า แขวงเซกอง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 7(เพิ่มเติม), S407-S421.

ประพันธ์พงษ์ ชิณพงษ์. (2562). รูปแบบศักยภาพวิสาหกิจชุมชนที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวโฮมสเตย์. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 13(2), 83-100.

วรากรณ์ ใจน้อย, ชูพักตร์ สุทธิสา และ เสาวภา สุขประเสริฐ. (2555). การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ เขตเทศบาลตำบลเชียงคาน อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 7(22), 109-121.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-29

How to Cite

พินิจจันทร์ ก., นามบุรี น., รักสุจริต ส., แก้วไฝ เ., หามะ ซ., พงค์กระพันธุ์ ณ., & จันทร์ฉายรัศมี ช. (2024). การยกระดับศักยภาพการจัดการและคุณภาพการบริการของธุรกิจโฮมสเตย์ จังหวัดยะลา. สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย, 13(1), 124–133. https://doi.org/10.14456/tisr.2024.11