ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการสร้างองค์กรแห่งความเป็นเลิศ ของบุคลากรโรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี
DOI:
https://doi.org/10.14456/tisr.2024.2คำสำคัญ:
องค์กรแห่งความเป็นเลิศ, แรงจูงใจในการทำงาน, ทักษะการทำงานในศตวรรษที่ 21, ความสำเร็จในการทำงานบทคัดย่อ
บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความสำเร็จในการสร้างองค์กรแห่งความเป็นเลิศ 2) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยด้านแรงจูงใจและทักษะการทำงานในศตวรรษที่ 21 และ 3) ศึกษาปัจจัยและสร้างสมการพยากรณ์ปัจจัยที่ทีผลต่อความสำเร็จในการสร้างองค์กรแห่งความเป็นเลิศ ของบุคลากรโรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการสร้างองค์กรแห่งความเป็นเลิศของบุคลากรโรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ ปัจจัยด้านด้านแรงจูงใจในการทำงาน ได้แก่ ความสำเร็จในการทำงาน (X1) ด้านลักษณะงาน (X2) การยอมรับจากเพื่อนร่วมงาน (X3) ค่าตอบแทนที่เป็นธรรม (X4) และความรับผิดชอบ (X6) โดยทั้ง 5 ปัจจัยร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 73.10 (Adjusted R2 = .731) และสร้างสมการพยากรณ์ได้ดังนี้ Y = 0.471 + 0.224(X1) + 0.194(X2) + 0.200(X3) + 0.096(X4) + 0.171(X6) และปัจจัยด้านทักษะการทำงานในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ ความฉลาดทางสังคม (X3) และความเข้าใจในวัฒนธรรมที่แตกต่าง (X4) โดยทั้ง 2 ปัจจัยร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 56.80 (Adjusted R2 = .568) และสร้างสมการพยากรณ์ ได้ดังนี้ Y = 1.596 + 0.045(X3) + 0.564(X4)
References
กฤติกา โรจนประดิษฐ. (2564). ทักษะทางสังคมและแรงจูงใจที่ส่งผลต่อความสำเร็จของงานด้านบัญชี และการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพของบุคลากรกรมการเงินกลาโหม สำนักปลัดกระทรวงกลาโหม. การค้นคว้าอิสระ บัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
จักรี ศรีจารุเมธีญาณ และ สุรศักดิ์ อุดเมืองเพีย. (2563). แรงจูงใจในการทำงาน: ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 5(1), 424-436.
ชนิตา รักษ์พลเมือง, ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง, กมลวรรณ ตังธนกานนท์, เฟื่องอรุณ ปรีดีดิลก และ สุมิตร สุวรรณ. (2556). การพัฒนากระบวนการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของคณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย, 26(3), 301-321.
ณัฏฐ์พัชร์ ลาภบำรุงวงศ์. (2562). การประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 9(2), 161-171.
ณัฐธิดา น้ำมนต์ดี และ สมชาย เทพแสง. (2565). ภาวะผู้นำคุณภาพและความสำเร็จขององค์กร. วารสารบริหารการศึกษา มศว, 19(37), 164-174.
ณิชา คงสืบ. (2558). แรงจูงใจในการทำงาน วัฒนธรรมองค์กร และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรที่มีผลต่อการทำงานเป็นทีม กรณีศึกษา: บริษัท ลิสซิ่ง แห่งหนึ่ง เขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
นวรัตน์ เพชรพรหม. (2562). วัฒนธรรมองค์กรและคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
บวร ประพฤติดี. (2558). วัฒนธรรมองค์กรกับความสำเร็จในการบริหาร: เปรียบเทียบสองวัฒนธรรมองค์กร. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 5(2), 1-13.
บุรินทรวรวิทย์ พ่วนอุ๋ย, อนุชิต บูรณพันธ์ และ มัทนา วังถนอมศักดิ์. (2565). แรงจูงใจการทำงานในยุคปรกติใหม่. วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร, 5(4), 227-244.
พัณณ์ชิตา รุ่งหิรัญธนากิตติ์. (2561). ความฉลาดทางอารมณ์ ความสามารถในการสื่อสาร ความผูกพันและความพึงพอใจในงาน และบรรยากาศในองค์กรที่มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทเอกชนในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
มนต์รัก วงศ์พุทธะ, ณัฐวรรณ พุ่มดียิ่ง และ พิชญาภา ยืนยาว. (2564). ทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อสมรรถนะหลักในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรีเขต 2. วารสารสิรินธรปริทรรศน์, 22(2), 180-192.
รักติบูล สิทธิลภ. (2566). ทักษะการทำงานที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21. การค้นคว้าอิสระ การจัดการมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล.
รัตนา ปฏิสนธิเจริญ, จตุพล ยงศร และ จักรกฤษณ์ โปณะทอง. (2563). การประเมินความต้องการจําเป็นทักษะการทํางานแห่งอนาคต สําหรับนักศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาในกํากับของรัฐ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 8(6), 2377-2391.
วนิดา พิงสระน้อย. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการทำวิจัยของบุคลากรสายวิชาการ กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. การค้นคว้าอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
วาสนา เลิศมะเลา และ เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์. (2561). การพัฒนาองค์การสู่ความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, 9(2), 209-248.
วิชญะ น้อยมาลา. (2564). ทักษะจำเป็นของการทำงานในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 3(1), 45-57.
สัณหจุฑา ชมภูนุช. (2563). แรงจูงใจในการทำงานที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการลาออกของพนักงานธนาคารในสำนักงานใหญ่ของธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Abu-Naser, S., & Al-Shobaki, M. (2017). Organizational Excellence and the Extent of Its Clarity in the Palestinian Universities from the Perspective of Academic Staff. International Journal of Information Technology & Electrical Engineering, 6(2), 47-59.
Al-Dhaafri, H., Al-Swidi, A., & Al-Ansi, A. (2016). Organizational Excellence as the Driver for Organizational Performance: A Study on Dubai Police. International Journal of Business and Management, 11(2), 47-52.
Bhardwaj, A. (2022). Organizational culture and effective leadership in academic medical institutions. Journal of Healthcare Leadership, 14, 25-30.
Bhende, P., Mekoth, N., Ingalhalli, V., & Reddy, Y. (2020). Quality of Work Life and Work-Life Balance. Journal of Human Values, 26(3), 256-265.
Herzberg, F., Mausner, B., & Snyderman, B. (1959). The motivation to work. 2nd ed. New Jersey: John Wiley.
Yamane, T. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. 2nd ed. New York: Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Authors
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.