ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชน ในจังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • พวงพรภัสสร์ วิริยะ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • สุภาพร ลักษมีธนสาร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

DOI:

https://doi.org/10.14456/tisr.2024.5

คำสำคัญ:

ประสิทธิผลการบริหารจัดการ, ลักษณะกลุ่ม, ลักษณะสภาพแวดล้อมของกลุ่ม, ลักษณะของสมาชิกกลุ่ม, นโยบายการบริหารและการปฏิบัติงาน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการจัดการวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดนครราชสีมา และแนวทางในการบริการจัดการ ประชากร คือ วิสาหกิจชุมชนทั้ง 32 อำเภอ ในจังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่าง คือ สมาชิกวิสาหกิจชุมชนที่ได้รับการประเมินระดับดี จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลสถิติด้วยการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยด้านลักษณะกลุ่ม ด้านลักษณะสภาพแวดล้อม ด้านลักษณะของสมาชิกกลุ่ม และด้านนโยบายการบริหารและการปฏิบัติงาน สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชม โดยมีประสิทธิภาพในการพยากรณ์เท่ากับร้อยละ 55.9 (R2 = 0.559) ซึ่งสามารถอธิบายได้ว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดนครราชสีมา ร้อยละ 55.9 และสามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์เชิงเส้นตรง ดังนี้ Y = 0.241 (ด้านลักษณะกลุ่ม) + 0.164 (ด้านลักษณะสภาพแวดล้อมของกลุ่ม) + 0.259 (ด้านลักษณะของสมาชิกกลุ่ม) + 0.225 (ด้านนโยบายการบริหารและการปฏิบัติงาน)

References

กองส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. (2562). สารสนเทศวิสาหกิจชุมชนจดทะเบียนทั้งประเทศ. สืบค้นจาก www.sceb.doae.go.th/Documents/STC/311262.pdf.

กองส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. (2563). วิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนที่อนุมัติการจดทะเบียนแล้ว จําแนกตามเขตและจังหวัด กรมส่งเสริมการเกษตร. สืบค้นจาก www.sceb.doae.go.th/Documents/STC/311263.pdf.

ใจมานัส พลอยดี. (2540). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จและความล้มเหลวของธุรกิจชุมชน เปรียบเทียบภาพรวมและภาพย่อย (อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร และอำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช). การค้นคว้าอิสระ เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชนนิกานต์ อินทรเผือก, ประเพศ ไกรจันทร์ และ ทวีศักดิ์ รูปสิงห์. (2564). รูปแบบการจัดการวิสาหกิจชุมชนเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 12(2), 46-56.

พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ.2548.

อริญชยา อดุลย์เดช และ พรรณา ไวคกุล. (2555). ความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเพาะเห็ดบ้านช่องโครุ่งเรือง ตำบลรังกาใหญ่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา. บทความนำเสนอในงานการประชุมวิชาการแห่งชาติ ครั้งที่ 9 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, 6-7 ธันวาคม 2555.

อันนา อ่อนมาก. (2553). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชน: ธุรกิจผลิตภัณฑ์เสื่อกก ตำบลแพง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

อัมพร เจือจันทร์ และ วรนุช แบบนา. (2562). การพัฒนาศักยภาพและการเรียนรู้เชิงธุรกิจของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดนครราชสีมา. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 3(2), 13-24.

Cronbach, L. (1970). Essentials of Psychological Testing. New York: Harper & Row.

Etzioni, A. (1964). Modern Organizations. New Jersey: Prentice Hall.

Gall, M., Borg, W., & Gall, J. (1996). Education research, an introduction. New York: Longman Publishers.

Likert, R. (1967). The Human Organization: Its Management and Values. New York: McGraw-Hill.

Steers, R. (1977). Antecedents and Outcomes of Organizational Commitment. Administrative Science Quarterly, 22(1), 46-56.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-04

How to Cite

วิริยะ พ., & ลักษมีธนสาร ส. (2024). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชน ในจังหวัดนครราชสีมา. สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย, 13(1), 57–65. https://doi.org/10.14456/tisr.2024.5