คุณภาพชีวิตของเกษตรกรภาคใต้: ชาวสวนยางจังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • พีรดาว สุจริตพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิต, เกษตรกรชาวสวนยาง, จังหวัดนครศรีธรรมราช

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรชาวสวนยาง และวิเคราะห์เปรียบเทียบปัจจัยเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ ที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของเกษตรกรชาวสวนยาง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 384 คน และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test และค่า F-test ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพชีวิตของเกษตรกรชาวสวนยาง อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านจิตวิญญาณ และด้านครอบครัว อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านสุขภาพและหน้าที่ และด้านสังคมเศรษฐกิจ อยู่ในระดับน้อย เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคล พบว่าเพศต่างกัน และระดับการศึกษาส่งผลต่อคุณภาพชีวิตโดยรวมไม่แตกต่างกัน อายุต่างกันส่งผลต่อด้านสุขภาพและหน้าที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านสังคมเศรษฐกิจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และด้านครอบครัวแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และด้านจิตวิญญาณ ไม่แตกต่างกัน ส่วนรายได้ต่างกัน ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตแตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านสุขภาพและหน้าที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านสังคมเศรษฐกิจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านจิตวิญญาณและด้านครอบครัว ไม่แตกต่างกัน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-04

How to Cite

หมัดอ่าดัม พ. (2023). คุณภาพชีวิตของเกษตรกรภาคใต้: ชาวสวนยางจังหวัดนครศรีธรรมราช. สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย, 11(2), 188–198. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/264331