ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจิตต่อภาวะการติดสื่อสังคมออนไลน์ ของนักศึกษามหาวิทยาลัย

ผู้แต่ง

  • พณัฐ เชื้อประเสริฐศักดิ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ปริยานุช วุฒิ ชูประดิษฐ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • สุภัทร ชูประดิษฐ์ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ภาวะการติดสื่อสังคมออนไลน์, โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจิต, สุขจิตศึกษาแบบกลุ่ม, การบำบัดความคิดและพฤติกรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจิตต่อภาวะการติดสื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัย โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักศึกษาที่กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2565 มหาวิทยาลัยพะเยา โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจิตพัฒนาขึ้นโดยประยุกต์เทคนิคการบำบัดความคิดและพฤติกรรมร่วมกับการให้สุขจิตศึกษาแบบกลุ่ม จำนวน 10 กิจกรรมๆ ละ 60 นาที ต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 2 วัน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบทดสอบการติดสื่อสังคมออนไลน์ แบบประเมินภาวะสุขภาพจิต แบบวัดความรู้สึกว้าเหว่ยูซีเอลแบบ 6 ข้อ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีภาวะวิตกกังวล ภาวะความเครียด และภาวะการติดสื่อสังคมออนไลน์ลดลงเมื่อเปรียบเทียบจากระยะก่อนและหลังการรับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จึงสรุปได้ว่าโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจิตต่อภาวะการติดสื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยนำไปสู่การลดภาวะวิตกกังวล ภาวะความเครียด และภาวะการติดสื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยได้

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-11