การรังแกกันของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น: ความสัมพันธ์เชิงทฤษฎีความกดดันทั่วไปและทฤษฎีการควบคุมตนเอง

ผู้แต่ง

  • ณัฏฐาภรณ์ โสกัณฑัต คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สุณีย์ กัลยะจิตร คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ศุภกร ปุญญฤทธิ์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พัชราพรรณ นาคพงษ์ โรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

คำสำคัญ:

การรังแก, นักเรียนมัธยม, ความกดดันทั่วไป, ควบคุมตนเอง

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรังแกกันกับทฤษฎีความกดดันทั่วไปและทฤษฎีการควบคุมตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จากการทบทวนวรรณกรรมการศึกษาในครั้งนี้จะแบ่งประเภทของการรังแกกันออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ การรังแกทางร่างกาย วาจา สังคม และไซเบอร์ ส่วนทฤษฎีความกดดันทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ความกดดันที่เกิดจากความผิดหวัง ความกดดันที่ทำให้เกิดแรงกระตุ้นทางลบ ความกดดันที่เกิดจากการถอนแรงกระตุ้นทางบวก และทฤษฎีการควบคุมตนเอง โดยใช้ระเบียบวิธีการศึกษาเชิงปริมาณ จำนวน 400 ตัวอย่าง ซึ่งผลการศึกษา พบว่า การรังแกกันทางด้านไซเบอร์มีความสัมพันธ์ในทิศทางบวกกับความกดดันที่มาจากแรงกระตุ้นทางลบ หากปัจจัยด้านใดด้านหนึ่งมีปริมานสูง ปัจจัยอีกด้านก็จะสูงขึ้นตาม โดยมีความสัมพันธ์ที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และในส่วนของการรังแกกันกับการควบคุมตนเองนั้นไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-10