บทบาทสื่อมวลชนที่มีอิทธิพลต่อการยุบพรรคการเมืองในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ภาคิน โชติเวศย์ศิลป์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

บทบาทสื่อมวลชน, การยุบพรรคการเมือง, การเมืองในประเทศไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับบทบาทสื่อมวลชนและระดับการยุบพรรคการเมืองในประเทศไทย
2) ศึกษาองค์ประกอบบทบาทสื่อมวลชนที่มีอิทธิพลต่อการยุบพรรคการเมืองในประเทศไทย 3) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค บทบาทสื่อมวลชนที่มีอิทธิพลต่อการยุบพรรคทางการเมืองในประเทศไทย ผลการวิจัยพบว่า 1) การศึกษาระดับบทบาทสื่อมวลชนและระดับการยุบพรรคการเมืองในประเทศไทย โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ผลการศึกษาองค์ประกอบบทบาทสื่อมวลชนที่มีอิทธิพลต่อการยุบพรรคการเมืองในประเทศไทย พบว่า องค์ประกอบบทบาทสื่อมวลชนทั้ง 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านการให้ข่าวสาร ด้านการประสานสัมพันธ์ ด้านการสร้างความต่อเนื่องทางสังคม ด้านการให้ความเพลิดเพลินแก่สมาชิกสังคม และด้านการรณรงค์ทางสังคม การเมืองและเศรษฐกิจ 3) จุดแข็ง คือ สื่อมวลชนใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการให้ข่าวสารทางการเมืองที่รวดเร็ว สถาบันทางการเมืองและสถาบันพระมหากษัตริย์นับเป็นที่มาแห่งความชอบธรรมสูงสุดในระบอบการเมืองไทย จุดอ่อน คือ บางข่าวสารที่ถูกเผยแพร่ผ่านสื่อที่ขาดการกลั่นกรอง โอกาส คือ ช่องทางสื่อสาร เช่น เฟสบุ๊ค เปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นทางการเมือง อุปสรรค คือ การวางแผนของรัฐในการเข้าควบคุมระงับการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารยังไม่รัดกุม รวมถึง นักการเมืองบางท่านแสวงหาผลประโยชน์ทับซ้อนและแสวงหาประโยชน์ส่วนตนจากการบริหารทางการเมืองซึ่งเป็นภาพลักษณ์ที่ไม่ดี

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-31