รูปแบบการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรของกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • ทศพล เมืองอินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • พิรภานุวัตณ์ ชื่นวงศ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • กิตติชัย จันธิมา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • กฤติวิชญ์ สุขอึ้ง มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • สิทธิศักดิ์ ปิ่นมงคลกุล มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

รูปแบบการอนุรักษ์ภูมิปัญญา, พืชสมุนไพร, กลุ่มชาติพันธุ์ม้ง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรของกลุ่มชาติพันธุ์ม้งในจังหวัดเชียงราย ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มชาติพันธุ์ม้ง มีกระบวนการจากการถ่ายทอดภูมิปัญญามาจากบรรพบุรุษ และมีบางส่วนได้รับการถ่ายทอดภูมิปัญญาโดยจากปราชญ์ชุมชน สำหรับปัจจัยภายในที่มีอิทธิพลกับการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ ภูมิปัญญาระบบการแพทย์พื้นบ้าน รองลงมา คือ ด้านปัจจัยวัฒนธรรมดั้งเดิม และปัจจัยด้านการผลิตเพื่อยังชีพ ส่วนปัจจัยภายนอกที่มีอิทธิพลกับการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ ระบบการแพทย์แผนใหม่ ยาแผนปัจจุบันมีราคาแพง และการเปลี่ยนแปลงตามวัฒนธรรมสมัยใหม่ ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยภายในและภายนอก ด้านวัฒนธรรมดั้งเดิม ได้แก่ ใช้ประกอบพิธีกรรม ใช้ประกอบอาหารและใช้ดูแลสุขภาพ มีความสัมพันธ์กับการอนุรักษ์ภูมิปัญญาในระดับสูง และปัจจัยภายนอก ได้แก่ การส่งเสริมจากหน่วยงานของรัฐช่วยให้มีการสืบทอดภูมิปัญญา โดยการกำหนดเป็นนโยบาย การขับเคลื่อนโดยผู้นำชุมชน การจัดตั้งชมรมหรือศูนย์ถ่ายทอดความรู้ มีความสัมพันธ์กับการอนุรักษ์ภูมิปัญญาในระดับปานกลาง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-18