ปัจจัยเชิงปฏิกิริยาที่ก่อกำเนิดรัฐบาลแบบคณะรัฐมนตรี และตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

ผู้แต่ง

  • โกวิท วงศ์สุรวัฒน์ สานักธรรมศาสตร์และการเมือง สานักงานราชบัณฑิตยสภา / Moral and Political Sciences Division, Office of the Royal Society, Thailand

คำสำคัญ:

รัฐบาลแบบคณะรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรี, โรเบิร์ต วอลโพล, การเมืองอังกฤษ

บทคัดย่อ

ปัจจัยเชิงปฏิกริยาที่ก่อให้เกิดรัฐบาลแบบคณะรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีขึ้นในอังกฤษนั้นสรุปได้เป็น 4 ประการ ดังนี้คือ 1) พัฒนาการของการปกครองในอังกฤษ 2) ปัญหาด้านศาสนาในอังกฤษ 3) กฎหมายเกี่ยวกับการสืบราชสันติวงศ์4) นายโรเบิร์ต วอลโพล การกา เนิดขึ้นของรัฐบาลแบบคณะรัฐมนตรีและตาแหน่งนายกรัฐมนตรีในอังกฤษนั้น มิได้เกิดขึ้นมาด้วยปัจจัยอย่างใดอย่างหนึ่งแบบปัจ จุบันทันด่วน ทว่า เกิดจากปัจ จัยหลากหลายประการที่สะสมกันมาและส่งผลกระทบต่อเนื่องกันเป็นลูกโซ่หรือเรียกว่าเป็น “ปัจจัยเชิงปฏิกิริยา” ทาให้เกิดขึ้นมาเรมิ่ ตั้งแต่ “พัฒนาการของการปกครองในอังกฤษ” ได้สัง่ สมและก่อสร้างรากฐานรูปแบบการปกครองที่มีรัฐสภามีการแบ่งอา นาจให้แก่ขุนนาง เสานาบดี รวมถึงก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงราชวงศ์ต่างๆ กระทั่ งมาถึงราชวงศ์ทิวดอร์ ซึ่งในช่วงนี้ก็เป็นจุดกาเนิดของ “ปัญหาด้านศาสนาในอังกฤษ” ส่งผลให้มีการแยกนิกายของคริสต์ศาสนาออกมาเป็นนิกายอังกฤษ ที่กลายเป็นความยึดถือและค่านิยมของชาวอังกฤษว่าพระมหากษัตริย์แห่งอังกฤษจะต้องเป็นโปรเตสแตนท์ที่นับถือนิกายอังกฤษเท่านั้น ปัจจัย เช่นนี้เองที่กลายเป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการทางการปกครองในอังกฤษและก่อให้เกิด “กฎหมายเกี่ยวกับการสืบราชสันติวงศ์” ที่กา หนดบังคับให้พระมหากษัตริย์อังกฤษต้องเป็นโปรเตสแตนท์ และกีดกันเชื้อสายที่มีสิทธิใ์ นราชบัลลังก์แต่เป็นโรมันคาทอลิกออกไป ส่งผลกระทบให้เกิดราชวงศ์ฮันโนเวอร์ อันเป็นเชื้อสายที่อยู่ในดินแดนของเยอรมันขึ้นมาและภายใต้สถานการณ์ยุคต้นราชวงศ์ฮันโนเวอร์นี้เอง “นายโรเบิร์ต วอลโพล” ก็เป็นผู้ที่สามารถยึดกุมโอกาสที่เกิดขึ้นเอาไว้ได้ ส่งให้ตัวเขามีฐานะเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกในประวัติศาสตร์และเป็นรากฐานของรัฐบาลแบบคณะรัฐมนตรีมาถึงปัจจุบัน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-16

How to Cite

วงศ์สุรวัฒน์ โ. (2019). ปัจจัยเชิงปฏิกิริยาที่ก่อกำเนิดรัฐบาลแบบคณะรัฐมนตรี และตำแหน่งนายกรัฐมนตรี. สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย, 8(1), 1–14. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/229682