การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริการองค์การ ร้านค้าปลีกวัสดุก่อสร้างแบบดั้งเดิม ตามความคาดหวังของผู้บริโภค

ผู้แต่ง

  • มงคล เบญจนากาศกุล นักศึกษา หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดองค์กรสมัยใหม่ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำสำคัญ:

การเปลี่ยนแปลงองค์การ, ร้านค้าปลีกวัสดุก่อสร้าง, ผู้บริโภค

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคาดหวังและสิ่งที่ผู้บริโภคได้รับจริงก่อนการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริการองค์การร้านค้าปลีกวัสดุก่อสร้างแบบดั้งเดิม ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริโภคที่ต้องการซื้อวัสดุก่อสร้างที่ร้านค้าปลีกวัสดุก่อสร้าง ในจังหวัดกรุงเทพฯ จานวน 400 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่มตามลักษณะผู้บริโภค คือ ผู้รับเหมาก่อสร้าง 200 คน และผู้บริโภคที่เป็นเจ้าของบ้าน 200 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน T-Test, F-Test, Chi-Square, Two-Sample t-test (Two-Tailed test) และการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธี LSD ที่ระดับนัยสาคัญ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็น เป็นเพศชาย ร้อยละ 84.5 อายุระหว่าง 36-45 ปี ร้อยละ 39.5 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนระหว่าง 15,000-30,000 บาท ร้อยละ 31.8 และมีการศึกษาต่ากว่าปริญญาตรี ร้อยละ 46.8 มีพฤติกรรมการซื้อสินค้ากลุ่มฮาร์ดแวร์ร้อยละ 43.5 โดยตัดสินใจซื้อด้วยตนเอง ร้อยละ 60.5 และมีวิธีการซื้อสินค้าด้วยการจัดทารายการแล้วยื่นให้ทางร้านเป็นผู้จัดหาให้ตามรายการนั้น ร้อยละ 44.8 โดยเลือกซื้อสินค้าเฉพาะตราที่ไม่มีชื่อเสียงจานวน ร้อยละ 79.0 ซึ่งพิจารณาซื้อสินค้าจากร้านค้าใกล้สถานที่ทางาน ร้อยละ 57.5 ช่วงวันธรรมดา (จันทร์-ศุกร์) ร้อยละ 72.5 ช่วงเวลาระหว่าง 07.00-10.00 น. ร้อยละ 39.8 จานวนซื้อต่ากว่า 5,000 บาทร้อยละ 31.0 และมีรูปแบบการซื้อโดยซื้อเท่าที่ต้องการจะใช้ร้อยละ 61.5 ส่วนความคาดหวังในร้านค้าปลีกวัสดุก่อสร้างแบบดั้งเดิมของผู้บริโภคก่อนใช้บริการและหลังใช้บริการอยู่ในระดับมากที่ระดับ 4.08 และ 3.91 ตามลาดับ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อโดยความคาดหวังของผู้บริโภคในการบริการของร้านค้าปลีกวัสดุก่อสร้างแบบดั้งเดิมอยู่ในระดับมาก ซึ่งด้านสินค้าเป็นด้านที่ผู้บริโภคมีความคาดหวังในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านช่องทางการจัดจาหน่าย ด้านบุคลากร ด้านกระบวนการ ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านราคา และด้านการส่งเสริมการตลาด ตามลาดับ ซึ่งผู้บริโภคมีความคาดหวังในระดับมากที่สุดในเรื่องมีสินค้าให้เลือกหลากหลาย และสินค้ามีคุณภาพได้มาตรฐาน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-11-18