การปรับตัวข้ามวัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่นวัยหลังเกษียณในจังหวัดเชียงใหม่: กระบวนการและแนวทางในการปรับตัว

Main Article Content

พิณนภา หมวกยอด
ศนิ ไทรหอมหวล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากระบวนการปรับตัวข้ามวัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่นวัยหลังเกษียณในจังหวัดเชียงใหม่ และวิเคราะห์แนวทางในการปรับตัวข้ามวัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่นวัยหลังเกษียณในจังหวัดเชียงใหม่


วิธีการศึกษา กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นชาวญี่ปุ่นวัยหลังเกษียณที่พำนักระยะยาวอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่มาไม่ต่ำกว่า10 เดือน จำนวน 15 คน ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกแล้วทำการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการศึกษา กระบวนการปรับตัวข้ามวัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่นวัยหลังเกษียณ มี 7 ระยะ 1) ระยะการเกิดแรงจูงใจ 2) ระยะค้นหาข้อมูล 3) ระยะจัดการเรื่องตั้งหลักปักฐาน 4) ระยะน้ำผึ้งพระจันทร์ 5) ระยะเผชิญความแตกต่างทางวัฒนธรรม 6) ระยะการปรับตัว 7) ระยะเป็นเจ้านายตนเอง และแนวทางในการปรับตัวข้ามวัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่นวัยหลังเกษียณ แบ่งเป็น 4 รูปแบบ 1) การตระหนัก แต่ไม่ใส่ใจ 2) การตระหนักและทำความเข้าใจเหตุและผลในเชิงบวก 3) การตระหนัก และทำความเข้าใจรวมทั้งหาวิธีการแก้ไขการปรับตัวที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้
4) การหลอมรวมตนเองเข้ากับคนไทยหรือสังคมวัฒนธรรมไทย


สรุป ผลการศึกษาจะเป็นประโยชน์สำหรับองค์การที่เกี่ยวข้องใช้เป็นแนวทางในการเตรียมความพร้อมให้กับชาวญี่ปุ่นที่มีความประสงค์จะเดินทางมาพำนักระยะยาวอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ ตลอดจนชาวไทยและชาวญี่ปุ่นที่อาศัยอยู่ในชุมชนเดียวกันได้ใช้เป็นแนวทางสร้างความเข้าใจและการปรับตัวที่ดีอันจะช่วยป้องกันและรักษาสุขภาพจิต และช่วยให้สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

เฉลิมพล แจ่มจันทร์, และอรไท โสภารัตน์. (2555).การพำนักระยะยาวของคนญี่ปุ่นในจังหวัดเชียงใหม่: การวิเคราะห์ปัจจัยกำหนดในช่วงก่อนและหลังการพำนัก. วารสารญี่ปุ่นศึกษา, 29(1)(เมษายน-กันยายน), 16-34.
นิภา นิธยายน. (2529). การปรับตัวและบุคลิกภาพ. กรุงเทพฯ: สารศึกษาการพิมพ์.
ปัญจมา แผลงศร. (2557). การสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนญี่ปุ่นที่พำนักระยะยาวกับคนไทยในท้องถิ่นกรณีศึกษา จ.เชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต (ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัย
เชียงใหม่, เชียงใหม่.
ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์. (2530). สุขภาพจิตเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: บัณฑิตการพิมพ์.
เมตตา วิวัฒนานุกูล (กฤตวิทย์). (2559). การสื่อสารระหว่างวัฒนธ ร รม = Intercultural Communication. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศนิ ไทรหอมหวล, และพิณนภา หมวกยอด. (2562). การปรับตัวข้ามวัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่นวัยหลังเกษียณในจังหวัดเชียงใหม่: การสำรวจกระบวนการ ปัจจัย ผลกระทบ และแนวทาง
การปรับตัว (รายงานผลการวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
สุดปรารถนา ดวงแก้ว. (2557-2558). การปรับตัวทางสังคมและวัฒนธรรมของคนญี่ปุ่นวัยหลังเกษียณที่พำนักระยะยาวในจังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย. วารสารญี่ปุ่นศึกษา, 31(2)(ต.ค. 2557- มี.ค.2558), 37-75.
อมรา พงศาพิชญ์. (2543). ความหลากหลายทางวัฒนธรรม (วิธีวิทยาและบทบาทในประชาสังคม) (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Kim, Y.Y. (2001). Becoming intercultural: An integrative theory of communication and cross-culturaladaptation. Thousand Oaks, CA: Sage Publications.
_______. (2017). Cross-Cultural Adaptation. Retrieved March 10, 2020, from https://oxfordre.com/communication/view/10.1093/acrefore/9780190228613.001.0001/ acrefore9780190228613-e-21?fbclid=IwAR2LGwi3jyo8IfjAlqAdH393pfmDAA-q_5KtqQkb0agz5bxul FmVcTCi9Js#acrefore-9780190228613-e-21-bibliography-0002.
Long Stay Foundation. (2012). Research and statistic of long stay 2013. Tokyo: Long Stay Foundation.
Lysgaard, S. (1955). Adjustment in a foreign society: Norwegian Fulbright grantees visiting the United States. International Social Science Bulletin. 7(January 1955),
45-50.
The Economist. (2010). Special report: JAPAN: Into the unknown. The Economist. (20-26 November).
Ting-Toomey, S. (1999). Communicating across Cultures. The Guilford Press, New York.