การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารจัดการท่องเที่ยวเชิงกีฬาในจังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

อานนท์ สีดาเพ็ง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารจัดการท่องเที่ยวเชิงกีฬาในจังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล 3 วิธี คือ การใช้ข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ผลการวิจัย พบว่า องค์กรด้านการท่องเที่ยวเชิงกีฬาทั้งภาครัฐและเอกชนในจังหวัดเชียงใหม่ มีภารกิจหลักในการให้บริการ ส่งเสริมและพัฒนาด้านการท่องเที่ยว มีเป้าหมายในการบริหารจัดการโดยการส่งเสริมการท่องเที่ยวในทุกมิติ ยกระดับมาตรฐาน รวมถึงการพัฒนาบุคลากรและงานวิจัย มีการกำหนดแผนงานสอดคล้องกับนโยบายและแผนพัฒนาการท่องเที่ยวทั้งในระดับจังหวัดและระดับชาติ มีการกำหนดมาตรฐานการทำงานตามระเบียบของแต่ละองค์กร แต่ยังมีข้อจำกัดด้านงบประมาณ สำหรับการจัดองค์กรและระบบงาน พบว่า มีการมอบหมายงานตามโครงสร้างขององค์กร แต่ยังไม่ครอบคลุมถึงอำนาจการตัดสินใจเกี่ยวกับงบประมาณ ในส่วนของการนำองค์กรมีกระบวนการตัดสินใจโดยยึดหลักเกณฑ์ขององค์กรเป็นสำคัญ แต่ก็พบอุปสรรคในด้านความล่าช้าและปัญหาการได้มาของบุคลากร นอกจากนี้ในด้านการควบคุมงาน พบว่า ได้ให้ความสำคัญกับการติดตามงาน โดยมีรูปแบบและกระบวนการในการวัดผลอย่างเป็นระบบ อย่างไรก็ตาม พบว่า บุคลากรบางส่วนเกิดความเบื่อหน่ายและมีความไม่เสมอภาคในการประเมินผลการปฏิบัติงาน สำหรับแนวทางการบริหารจัดการท่องเที่ยวเชิงกีฬาในจังหวัดเชียงใหม่ ควรคำนึงถึงองค์ประกอบด้านพื้นที่ ด้านการจัดการ ด้านกิจกรรมและกระบวนการ รวมถึงองค์ประกอบด้านการมีส่วนร่วม เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการท่องเที่ยว. (2557). คู่มือการตรวจประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. กรุงเทพฯ:
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติฉบับที่ 2 พ.ศ. 2560 - 2564. กรุงเทพฯ:
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2559). กิจกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่. สืบค้น 10 มีนาคม 2559, จาก
http://thai.tourismthailand.org/กิจกรรมท่องเที่ยว/ค้นหา?view=101&lifestyle_id=23&cat_id=&subcat
กิติศักดิ์ พลอยพานิชเจริญ. (2550). หลักการการควบคุมคุณภาพ. กรุงเทพฯ: สมาคมสงเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุน).
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2559). การจัดการด้านการตลาดอุตสาหกรรมกรรมการท่องเที่ยว. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ:
ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
รังสรรค์ ประเสริฐศรี. (2549). การจัดการสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2545). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: ธรรมสาธร.
สราวุฒิ พงษ์พิพัฒน์, ประกรณ์ ตุ้ยศรี, ณัชชาจารย์ โรจน์วัฒนดิษกุล. (2559). การบริหารจัดการศูนย์กีฬาและ
วิทยาศาสตร์การกีฬาในมหาวิทยาลัย. (รายงานการวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สาคร สุขศรีวงศ์. (2560). การจัดการ : จากมุมมองนักบริหาร. (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ: จีพี. ไซเบอร์พรินท์.
สุกัญญา โฆวิไลกูล. (2547). การวิเคราะห์ระบบเพื่อการบริหารสถาบันอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2555). ยุทธศาสตร์สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
พ.ศ. 2555 - 2559. กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
สำนักงานสถิติจังหวัดเชียงใหม่. (2558). ฐานข้อมูลตารางสถิติจังหวัดเชียงใหม่. สืบค้น 2 มีนาคม 2559, จาก
http://chiangmai.nso.go.th/chmai/index
อานนท์ สีดาเพ็ง. (2559). รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงกีฬากอล์ฟโดยการประยุกต์ทฤษฎีการแลกเปลี่ยนทางสังคม.
(ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
Stott, K., & Walker, A. (1992). Making Management Work: A Practical Application. New Jersey:
Prentice-Hall.