การจัดเตรียมต้นฉบับ

1. ขนาดของต้นฉบับ พิมพ์หน้าเดียวบนกระดาษขนาด A4 โดยเว้นระยะห่างระหว่างขอบกระดาษด้านบนและซ้ายมือ 3.5 เซนติเมตร ด้านล่างและขวามือ 2.5 เซนติเมตร

2. รูปแบบอักษรและการจัดวางตำแหน่ง
ใช้รูปแบบอักษร TH SarabunPSK ทั้งภาษาไทย-ภาษาอังกฤษพิมพ์ด้วยโปรแกรมไมโครซอฟท์เวิร์ด โดยมีขนาด ชนิดของตัวอักษร และการจัดวางตำแหน่งดังนี้                  
     2.1 ชื่อเรื่อง (ภาษาไทย) ขนาด 16 ชนิดตัวหนา ตำแหน่งกึ่งกลางหน้ากระดาษ
     2.2 ชื่อเรื่อง (ภาษาอังกฤษ) ขนาด 16 ชนิดตัวหนา ตำแหน่งกึ่งกลางหน้ากระดาษ
     2.3 ชื่อผู้เขียน ให้ระบุทั้งชื่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษของผู้เขียนทุกคน เรียงลำดับจากซ้ายไปขวา ชื่อผู้แต่งภาษาอังกฤษให้ระบุในบรรทัดต่อไปจากชื่อภาษาไทย ขนาด 14 ชนิดตัวหนา ชิดขวาใต้ชื่อเรื่อง (ใส่เลขเชิงอรรถท้ายชื่อ)
     2.4 รายละเอียดในส่วนเชิงอรรถ (ท้ายกระดาษหน้าแรก) ระบุตำแหน่งและต้นสังกัดพร้อม E-mail ของผู้เขียนทุกคน ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาด 12 ชนิดตัวบาง
     2.5 บทคัดย่อ (Abstract)
           - หัวข้อของบทคัดย่อไทย/อังกฤษ ขนาด  14  ชนิดตัวหนา ตำแหน่งชิดขอบกระดาษด้านซ้ายบรรทัดใต้ชื่อผู้เขียน
           - เนื้อหาบทคัดย่อไทย/อังกฤษ ขนาด 14 ชนิดตัวธรรมดา จัดพิมพ์เป็น 1 คอลัมน์ บรรทัดแรกเว้น 1 ซ.ม. จากขอบกระดาษด้านซ้าย และพิมพ์ให้ชิดขอบทั้งสองด้านความยาวไม่ควรเกิน 250 คำ หรือ 15 บรรทัด กรณีบทคัดย่อของบทความวิจัย เนื้อหาควรประกอบไปด้วยวัตถุประสงค์ (objective) ระเบียบวิธีวิจัย (Methodology) ผลการศึกษา (Results) บทสรุปและวิจารณ์(Discussion and Conclusion) โดยให้ลำดับบทคัดย่อภาษาไทยก่อนบทคัดย่อภาษาอังกฤษ (Abstract) บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษต้องมีเนื้อหาตรงกัน ใช้อักษรตัวตรง และใช้ตัวเอนเฉพาะศัพท์วิทยาศาสตร์
     2.6 คำสำคัญ (Keywords) ระบุคำสำคัญจำนวนสูงสุดไม่เกิน 5 คำ ซึ่งเกี่ยวข้องกับบทความที่นำเสนอ ชื่อ “คำสำคัญ หรือ Keywords” ใช้ตัวอักษรขนาด 14 ชนิดตัวหนา เนื้อความขนาด 14 ชนิดตัวธรรมดา
     2.7 การพิมพ์เนื้อหาในบทความ
          - หัวข้อเรื่อง ขนาด 14 ชนิดตัวหนา ตำแหน่งชิดขอบกระดาษด้านซ้าย
          - หัวข้อย่อย ขนาด 14 ชนิดตัวธรรมดา ระบุหมายเลขไว้หน้าหัวข้อย่อยโดยเรียงตามลำดับหมายเลขตำแหน่งเว้น 1 ซ.ม. จากขอบกระดาษด้านซ้าย
          - เนื้อหา ขนาด 14 ชนิดตัวธรรมดา จัดพิมพ์เป็น 1 คอลัมน์ และพิมพ์ให้ชิดขอบทั้งสองด้าน
          - ชื่อตาราง ระบุชื่อเหนือตาราง ขนาด 14 ตัวธรรมดา ตำแหน่งชิดขอบกระดาษด้านซ้าย เนื้อหาของตารางจัดอยู่กึ่งกลางหน้ากระดาษ
          - ชื่อภาพประกอบ ระบุชื่อภาพขนาด 14 ตัวธรรมดา ตำแหน่งกึ่งกลางหน้ากระดาษและใส่ชื่อใต้ภาพประกอบ

3. จำนวนหน้าต้นฉบับ  ควรมีความยาวระหว่าง 10 -15 หน้ารวมบทคัดย่อและเอกสาร อ้างอิง และระบุเลขหน้าในตำแหน่งชิดขอบกระดาษด้านขวาล่าง

        รูปแบบการเขียนบทความภาษาไทย  (word) (pdf)

        English language articles              (word) (pdf)


รูปแบบการเขียนรายการอ้างอิง

    
วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กำหนดรูปแบบการอ้างอิงออกเป็น 2 ส่วน ดังต่อไปนี้
   1. การอ้างอิงในเนื้อหา (In-text citations) ให้ใช้การอ้างอิงแบบนาม-ปี (the author-date method of in-text citation) โดยระบุ ชื่อ-สกุล ผู้แต่ง ไว้ในเนื้อหาตามด้วยปีที่พิมพ์ และตามด้วยเลขหน้าของเอกสารที่อ้างถึง สำหรับผู้แต่งที่เป็นชาวต่างชาติให้ใส่เฉพาะนามสกุลเท่านั้น
   2. การอ้างอิงท้ายบทความ ให้มีการอ้างอิงโดยการรวบรวมเอกสารทั้งหมดที่ใช้อ้างอิงในการเขียนบทความ จัดเรียงรายการตามลำดับอักษรชื่อผู้แต่ง ภายใต้หัวข้อ “รายการอ้างอิง” สำหรับบทความภาษาไทย หรือ “Reference” สำหรับผลงานภาษาอังกฤษ และให้ใช้การอ้างอิงตามรูปแบบ APA 6th edition (2010)  

  (รายละเอียดเกี่ยวกับการเขียนรายการอ้างอิง)


การส่งต้นฉบับ

              ผู้เขียนส่งต้นฉบับไฟล์ word และ pdf ที่พิมพ์ตามข้อกำหนดของหลักเกณฑ์วารสารพร้อมหนังสือนำส่งบทความผ่านระบบออนไลน์ที่ https://www.tci-thaijo.org/index.php/liberal artsjournal/index เมื่อกองบรรณาธิการได้รับบทความจะดำเนินการตามขั้นตอนการพิจารณาของวารสาร และแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้เขียนบทความทราบ สำหรับบทความที่ผ่านการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิแล้วจะได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสารเพื่อเผยแพร่ต่อไป