Login or Register to make a submission.

As part of the submission process, authors are required to check off their submission's compliance with all of the following items, and submissions may be returned to authors that do not adhere to these guidelines.

  • ข้าพเจ้าปฏิบัติตามข้อกำหนดของกองบรรณาธิการโดยส่ง
    (1) ต้นฉบับบทความ (2) หนังสือนำส่งบทความ (3) ตรวจสอบ Format แล้ว
  • ข้าพเจ้าขอรับรองการจัดรูปแบบต้นฉบับนั้น เป็นไปตามที่วารสารกำหนด
    (หากไม่ถูกต้องตามกำหนดวารสาร ยินยอมให้วารสารฯ พิจารณาไม่รับบทความเพื่อลงตีพิมพ์)
  • ข้าพเจ้าขอรับรองว่าเป็นบทความซึ่งไม่เคยตีพิมพ์ที่อื่นมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารอื่น
  • ข้าพเจ้าขอรับผิดชอบเกี่ยวกับเนื้อหาที่ปรากฎในบทความนี้
    (กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งที่ปรากฎในบทความ ให้ผู้เขียนและผู้เขียนร่วมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว)
  • วารสารจะติดต่อและแจ้งข้อความต่าง ๆ ผ่าน Thai Journal Online เท่านั้น โดยระบบจะแจ้งที่ Email ของผู้ Submission บทความ ดังนั้นขอให้ตรวจสอบกล่องจดหมาย (Email) ของท่านว่าได้รับข้อความจากระบบหรือไม่
    *ในกรณีที่ท่านไม่ได้รับอีเมลโปรดตรวจสอบที่ Spam mail / Junk mail

หลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารศิลปศาสตร์

1. เป็นบทความวิจัย บทความวิชาการ งานแปล หรือบทความปริทัศน์หนังสือ (Book Review) ด้านมนุษศาสตร์ สังคมศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ วิทยศาสตร์สุขภาพ พลศึกษา สุขศึกษา และนันทนาการ
2.  เป็นบทความที่ไม่ได้อยู่ระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ หรือไม่ได้อยู่ระหว่างการพิจารณาของสื่อสิ่งพิมพ์อื่นๆ และไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดมาก่อนทั้งในประเทศและต่างประเทศ หากตรวจสอบพบว่ามีการตีพิมพ์ซ้ำซ้อน ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว
3. เป็นบทความที่แสดงให้เห็นถึงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีคุณค่าทางวิชาการ มีความสมบูรณ์ของเนื้อหา และมีความถูกต้องตามหลักวิชาการ
4. เป็นบทความภาษาไทยหรือบทความภาษาอังกฤษ ในกรณีเป็นบทความภาษาอังกฤษต้องผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญด้านภาษา ก่อนส่งบทความมายังกองบรรณาธิการ
5. ต้องเป็นบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน
6. หากเป็นงานแปลหรือเรียบเรียงจากภาษาต่างประเทศ ต้องมีหลักฐานการอนุญาตให้ตีพิมพ์เป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าของลิขสิทธิ์
7.  บทความที่ส่งมาเพื่อตีพิมพ์จะได้รับการอ่านประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ในสาขาที่เกี่ยวข้องกับบทความ จำนวน 3 ท่านต่อบทความ ในลักษณะ Triple-blinded Review  และต้องได้รับผลการประเมินให้ผ่านจากผู้ทรงคุณวุฒิ 2 ใน 3 ท่าน จึงมีสิทธิ์ได้รับการตีพิมพ์บทความลงในวารสาร

ประเภทของบทความ

    วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ รับพิจารณาตีพิมพ์ประเภทของบทความ โดยผู้เขียนจะต้องระบุประเภทของบทความให้ชัดเจน ดังนี้
1. บทความวิชาการ
    บทความวิชาการ คืองานเขียนทางวิชาการซึ่งมีการกำหนดประเด็นที่ต้องการอธิบายหรือวิเคราะห์อย่างชัดเจน ทั้งนี้มีการวิเคราะห์ประเด็นดังกล่าวตามหลักวิชาการ โดยมีการสำรวจวรรณกรรมเพื่อสนับสนุน จนสามารถสรุปผลการวิเคราะห์ในประเด็นนั้นได้ อาจเป็นการนำความรู้จากแหล่งต่าง ๆ มาประมวลร้อยเรียงเพื่อวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ โดยที่ผู้เขียนแสดงทัศนะทางวิชาการของตนไว้อย่างชัดเจนด้วย
2. บทความวิจัย
    บทความวิจัย คือผลงานทางวิชาการที่เป็นงานศึกษาหรืองานค้นคว้าอย่างมีระบบด้วยวิธีวิทยาการวิจัยที่เป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้น ๆ และมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลคำตอบหรือข้อสรุปรวมที่จะนำไปสู่ความก้าวหน้าทางวิชาการ หรือเอื้อต่อการนำวิชาการนั้นไปประยุกต์บทความควรมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้ (สามารถมีหัวข้อหรือองค์ประกอบที่แตกต่างได้)
      - บทนำ (Introduction) ที่ครอบคลุมความสำคัญและที่มาของปัญหาวิจัยพร้อมทั้งเสนอภาพรวมของบทความ
      - ทบทวนวรรณกรรม (Literature Review)
      - วิธีการวิจัย (Research Methodology) ที่สามารถอธิบายวิธีดำเนินการวิจัยรวมถึงการเก็บข้อมูลหรือเครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัยอย่างชัดเจน
      - ผลการศึกษา (Research Finding)
      - อภิปรายและสรุปผลการวิจัย (Discussion/Conclusion)
3. งานแปล
    งานแปล คือ ผลงานที่แปลมาจากตัวงานต้นแบบที่เป็นงานวรรณกรรม หรืองานด้านปรัชญา หรือประวัติศาสตร์ หรือวิทยาการสาขาอื่นบางสาขาที่มีความสำคัญและทรงคุณค่าในสาขาวิชานั้น ๆ ซึ่งเมื่อนำมาแปลแล้วจะเป็นการเสริมความก้าวหน้าทางวิชาการที่ประจักษ์ชัด เป็นการแปลจากภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทยหรือจากภาษาไทยเป็นภาษาต่างประเทศ หรือแปลจากภาษาต่างประเทศเป็นภาษาต่างประเทศอีกภาษาหนึ่ง (ผู้แปลต้องได้รับอนุญาตจากผู้เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร)
4. บทความปริทัศน์หนังสือ (Book Review)
    บทความปริทัศน์หนังสือ  (book review ) คืองานเขียนที่เรียบเรียงขึ้น เพื่อวิเคราะห์วิจารณ์หรือวิพากษ์หนังสือหรือตำราเล่มใดเล่มหนึ่งอย่างเป็นวิชาการ  เพื่อให้ผู้อ่านได้แนวคิดต่างๆ ที่ปรากฏอยู่โดยสังเขป  ตลอดจนทราบถึงข้อดี ข้อด้อย และ/หรือประโยชน์ของหนังสือหรือตำรานั้น

กระบวนการพิจารณาต้นฉบับ

    เมื่อวารสารได้รับบทความต้นฉบับ กองบรรณาธิการจะตรวจสอบ กลั่นกรองรูปแบบตามหลักเกณฑ์การเสนอผลงานเพื่อตีพิมพ์ฯ หากบทความต้นฉบับไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ฯ กองบรรณาธิการจะแจ้งผลการพิจารณากลั่นกรองพร้อมส่งคืนผลงานให้แก่ผู้เขียน หากเป็นไปตามหลักเกณฑ์ฯ จะเข้าสู่กระบวนการพิจารณา ดังนี้
1. กองบรรณาธิการพิจารณาและทาบทามผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับบทความ3 ท่านต่อเรื่อง
2. ส่งบทความให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาประเมิน
3. เมื่อได้รับผลการประเมิน กองบรรณาธิการรวบรวมผล และ/หรือสรุปข้อเสนอแนะเพื่อแจ้งผู้เขียน
              - กรณีผลการประเมินไม่ผ่าน กองบรรณาธิการ แจ้งปฏิเสธการตีพิมพ์ผลงาน
              - กรณีผลการประเมินผ่าน แต่มีข้อแก้ไข ให้ผู้เขียนพิจารณาแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ จากนั้น ส่งผลงานฉบับแก้ไขมายังกองบรรณาธิการอีกครั้ง
4. หากผลงานแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่เรียบร้อย กองบรรณาธิการจะแจ้งตอบรับการตีพิมพ์ผลงานไปยังผู้เขียน

ลิขสิทธิ์

    ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นเสียแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร

ความรับผิดชอบ

    เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์