การปรับประโยชน์ใช้สอยจวนผู้ว่าราชการจังหวัด ผ่านกระบวนการ การจัดทำคำแถลงนัยสำคัญอย่างมีส่วนร่วม เพื่อการพัฒนาพื้นที่สาธารณะของเมือง
DOI:
https://doi.org/10.14456/ajmt.2023.7คำสำคัญ:
การปรับประโยชน์ใช้สอย, คำแถลงนัยสำคัญ, จวนผู้ว่าราชการจังหวัด, อาคารที่มีคุณค่าบทคัดย่อ
จวนผู้ว่าราชการเป็นบ้านพักประจำตำแหน่งของผู้ว่าราชการที่ได้รับการแต่งตั้งมาจากส่วนกลาง แต่เนื่องจากแนวทางการกระจายอำนาจที่มีการผลักดันให้เกิดการเลือกตั้งผู้ว่าฯในทุกจังหวัด ทำให้จวนผู้ว่าฯหรือบ้านพักจะไม่ได้ถูกใช้งานปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อการทิ้งร้าง การเสื่อมถอยของอาคารที่มีคุณค่าและความสำคัญ จวนเหล่านี้จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในการรองรับการพัฒนาเมืองในอนาคต การปรับประโยชน์ใช้สอยอาคารเป็นการนำเอาอาคารเก่ามาปรับปรุง เพื่อการพัฒนาพื้นที่ให้เกิดการใช้งานในรูปแบบใหม่เพื่อรองรับการพัฒนาเมือง โดยผ่านกระบวนการจัดทำคำแถลงนัยสำคัญแบบมีส่วนร่วม ส่งผลทำให้เกิดความเป็นเจ้าของร่วมกัน ตามแนวทางและหลักการ เกิดการใช้งานที่เหมาะสมต่อยุคปัจจุบัน และไม่สูญเสียคุณค่าและความสำคัญ “จวนผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี”เป็นกรณีศึกษาภายใต้บริบทของ เมืองเก่าตั้งแต่ พ.ศ. 2474 ดำเนินการศึกษาและกระบวนการร่วมกับผู้คนในพื้นที่ มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาอันนำไปสู่ระบุคุณค่าผ่านคำแถลงนัยสำคัญ กำหนดแนวทางการปรับปรุง และสรุปแนวทางการดำเนินโครงการ โดยเริ่มต้น จากการศึกษาข้อมูลที่สำคัญ ลงพื้นที่จัดกระบวนการในการสอบถามข้อมูล ความคิดเห็นในประเด็นต่าง ๆ วิเคราะห์ เพื่อนำไปสร้างแนวทางการปรับประโยชน์ใช้สอยพื้นที่กรณีศึกษา ซึ่งงานวิจัยนี้พบว่ากระบวนการจัดทำคำแถลงนัยสำคัญอย่างมีส่วนร่วมสามารถสร้างความเข้าใจกระบวนการทำให้เกิดความเข้าใจในการปรับประโยชน์ใช้สอยอาคารที่มีคุณค่าและความสำคัญ และส่งผลทำให้เกิดกลไกในการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่เพื่อให้เกิดการใช้งานในพื้นที่เมือง เป็นแนวทางสำหรับการปรับประโยชน์ใช้สอยพื้นที่แห่งอื่น ๆ ต่อไป
References
จุฬาลักษณ์ ไพบูลย์ฟุ้งเฟื่อง และ ต้นข้าว ปาณินท์. (2562). การก่อรูปของพื้นที่สาธารณะในย่านชุมชนเก่า: กรณีศึกษาชุมชนพาดสาย ย่านเยาวราช. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร. 12(6), 646-662.
จิราพร จิวานุวงศ์. (2560). พิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต กรณีศึกษาชุมชนบนถนนปากแพรก อ.เมือง จ.กาญจนบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันอาศรมศิลป์)
ชวิตรา ตันติมาลา. (2560). พื้นที่สาธารณะและการผลิตพื้นที่: ความหมายใหม่ของความสัมพันธ์ทางสังคม.วารสารบรรณศาสตร์ มศว. 10(1), 92-103.
ธิป ศรีสกุลไชยรัก, ธนภัทร อานมณี และ ธนา อุทัยภัตรากูร. (2563). การศึกษาคุณค่าเชิงอัตลักษณ์ และความต้องการทางสังคมในการอนุรักษ์พัฒนาสถานีรถไฟหัวลำโพง. กรุงเทพฯ: สถาบันอาศรมศิลป์.
นฤมล นิ่มนวล. (2565). การจัดการพื้นที่สาธารณะในเขตเมืองเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนและเป็นธรรม: กรณีศึกษากรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 9(1), 45-58.
นัชชา ทิพเนตร. (2565). การมีส่วนร่วมของประชาชนและรูปแบบการมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบล จังหวัดนครราชสีมา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(8), 395-413.
ภูรี อำพันสุข และ วิมลรัตน์ อิสระธรรมนูญ. (2562). การปรับประโยชน์ใช้สอยอาคารประวัติศาสตร์เพื่อเป็นพื้นที่การเรียนรู้สร้างสรรค์ กรณีศึกษา อาคารในพื้นที่อนุรักษ์ของกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการสาระศาสตร์, 3, 367-379.
ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์. (2565). บ้านพักข้าราชการส่วนภูมิภาค อำนาจเมืองหลวงในต่างจังหวัด กับการทำให้เป็นพื้นที่สาธารณะของ. สืบค้นจาก https://plus.thairath.co.th/topic/spark/101816
มลชฎาภร สุขการ และ พรทิพย์ กิ้มนวน, (2563). กิจกรรมและปัจจัยทางกายภาพในพื้นที่สาธารณะเมืองเก่านครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล, 32, 28-42.
ยงธนิศร์ พิมลเสถียร. (2563). หลักคิดด้านคุณค่าของการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระราชูปถัมภ์.
วิมลรัตน์ อิสระธรรมนูญ. (2560). คำศัพท์และวิธีการอนุรักษ์: เอกสารประกอบการสอนวิชาการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศุภชัย ชัยจันทร์ และ ณรงพน ไล่ประกอบทรัพย์. (2559). แนวคิดสาธารณะของพื้นที่สาธารณะในเมือง. วารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 15(2), 71-83.
โสมชยา ธนังกุล และ ฟ้อน เปรมพันธุ์. (2562). ภูมิเมืองกาญจน์ ย่านปากแพรก. กาญจนบุรี: สำนักพิมพ์ศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎกาญจนบุรี.
Australia ICOMOS. (2018). The Burra Charter. Retrieved from https://australia.icomos.org/
Heritage NSW. (2021). Investigating heritage significance Heritage. New South Wales: Office of NSW, NSW Departmentof Planning.
UN-Habitat. (2020). Public space site-specific assessment. Nairobi: UN-Habitat.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับคณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว