การศึกษานำร่องเพื่อออกแบบแผนที่ความจริงเสมือนแบบล้ำลึกสำหรับวัดมหาวนารามจังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ชาญศักดิ์ ศรีสวัสดิ์สกุล คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • วรัณศณางค์ บุณฑริก คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

DOI:

https://doi.org/10.14456/ajmt.2023.8

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยว, การออกแบบแผนที่ความจริงเสมือน, วัดมหาวนาราม, อุบลราธานี

บทคัดย่อ

       จังหวัดอุบลราชธานีเป็นจังหวัดการท่องเที่ยวเมืองรองทำให้ไม่ได้ถูกเลือกเป็นตัวเลือกต้น ๆ ของนักเดินทางท่องเที่ยวมากนัก ดังนั้นการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานอุบลราชธานี ได้พยายามจะประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวโดยใช้หัวข้ออุบลราชธานี เมืองแห่ง 4 แสง ซึ่งแสงธรรม เป็นหนึ่งใน 4 แสงนี้ เนื่องจากอุบลราชธานีมีวัดที่สวยงามและ มีประวัติยาวนาน เช่น วัดมหาวนาราม เป็นต้น ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงต้องการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อช่วยประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันระบบแผนที่ทัศนาจรความจริงเสมือนสำหรับวัดมหาวนารามพระอารามหลวง จังหวัดอุบลราชธานี และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อระบบที่พัฒนาขึ้น ระบบแผนที่ความจริงเสมือนจะถูกพัฒนาขึ้นโดยการใช้เทคโนโลยีภาพแบบมุมมอง 360 องศา โดยใช้วัดมหาวนาราม ซึ่งเป็นวัดอารามหลวง และเป็นวัดโบราณที่มีความเก่าแก่และตั้งอยู่ใจกลางเมืองอุบลราชธานีทำให้เป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยวและประชาชนในพื้นที่ ระบบที่พัฒนาขึ้นจะสามารถใช้งานได้จริง และถูกนำไปทดลองใช้กับประชากรผู้ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดอุบลราชธานีและเคยเยี่ยมชมวัดมหาวนาราม โดยทำการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีบังเอิญ การประเมินผลความพึงพอใจโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ที่สอบถามเกี่ยวกับด้านต่าง ๆ ในการใช้งานระบบ งานวิจัยนี้มีกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้สนใจทดลองใช้ระบบทั้งหมด 83 กลุ่มตัวอย่างข้อมูลที่ได้ถูกนำมาประมวลผลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลจากการวิเคราะห์พบว่าโดยรวแล้ว ผู้เข้าร่วมตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจในการใช้งานระบบในระดับมากที่สุด ผลที่ได้จากการศึกษาและงานวิจัยนี้จะถูกนำไปใช้เพื่อพัฒนาระบบให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และ ใช้งานกับวัด อื่น ๆ ต่อไป

References

กรมการปกครอง. (2023). สถิติจำนวนประชากรทางทะเบียนราษฏร. [เว็บไซต์]. สืบคันจาก https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/displayData

ดลพร ศรีฟ้า. (2564). การเดินทางข้ามกาลเวลาผ่านความจริงเสมือนในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติฟินแลนด์. วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร, 5(2), 99-106.

เกวรินทร์ จันทร์ดํา, สิทธิเดช วชิราศรีศิริกุล, และจารุกัญญ์ จิตรวงศ์นันท์. (2565). การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันความเป็นจริงเสมือน 360 องศา ส่งเสริมการท่องเที่ยวรอบกว๊านพะเยา, การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ, 8(2), 67-80.

อธิษฐ์ คู่เจริญถาวร และ สรชัย ชวรางกูร. (2565). การพัฒนาพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมเรื่อง กรุงศรีอยุธยาในฐานะเมืองท่า. วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา, 14(2), 103–116.

เบญนภา พัฒนาพิภัทร และ ภูวนาท พัฒนาพิภัทร. (2565). การพัฒนาแอปพลิเคชันแนะนำการใช้งานห้องปฏิบัติการ ด้านสื่อสารมวลชน ร่วมกับเทคโนโลยีความจริงเสมือน กรณีศึกษา : ห้องปฏิบัติการคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์, 26(1), 72–83.

มะลิวัลย์ สินน้อย. (2558). ฐานข้อมูลวัดในจังหวัดอุบลราชธานี. [เว็บไซต์]. สืบคันจาก http://www.esanpedia.oar.ubu.ac.th/ubon_temple/pdf/fTP0019.pdf

Guideubon. (2023). พ่อเมืองอุบลฯ ชูเมือง 4 แสง ดึงดูดนักท่องเที่ยว. [เว็บไซต์]. สืบคันจาก https://www.guideubon.com/2.0/ubon-news/433/

Bailenson, J. (2018). Experience on demand: What virtual reality is, how it works, and what it can do. New York: Norton & Company.

Burdea, G. C., & Coiffet, P. (2003). Virtual reality technology. New Jersey:John Wiley & Sons.

Chiao, H.-M., Chen, Y.-L., & Huang, W.-H. (2018). Examining the usability of an online virtual tour-guiding platform for cultural tourism education. Journal of Hospitality, Leisure, Sport & Tourism Education, 23, 29-38.

Cho, Y.-H., Wang, Y., & Fesenmaier, D. R. (2002). Searching for experiences: The web-based virtual tour in tourism marketing. Journal of Travel & Tourism Marketing, 12(4), 1-17.

Davis, F. (1989). Perceived usefulness, perceived ease of use, and user acceptance of information technology. MIS Quarterly, 13(3), 319-340.

Insta360. (2023). Insta360 X3. [website]. Retrieved from: https://www.insta360.com/product/insta360-x3

Lapentor. (2022). Lapentor. [website]. Retrieved from: https://lapentor.com/pricing/

Mohammad, A.O. & Ismail, H. (2009). Development and evaluation of an interactive 360 virtual tour for tourist destinations. Journal of Information Technology Impact, 9, 137-182.

Spielmann, N., & Mantonakis, A. (2018). In virtuo: How user-driven interactivity in virtual tours leads to attitude change. Journal of Business Research, 88, 255–264.

Steuer, J. (1992). Defining virtual reality: Dimensions determining telepresence. Journal of Communication, 42(4), 73-93.

University of Dubai. (2021). University of Dubai Virtual Tour. [website]. Retrieved from: https://ud.ac.ae/360-Virtual-Tour

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-29

How to Cite

ศรีสวัสดิ์สกุล ช., & บุณฑริก ว. (2023). การศึกษานำร่องเพื่อออกแบบแผนที่ความจริงเสมือนแบบล้ำลึกสำหรับวัดมหาวนารามจังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย. วารสารวิชาการเทคโนโลยีการจัดการ, 4(2), 110–123. https://doi.org/10.14456/ajmt.2023.8