ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการเลือกใช้บริการสนามฟุตบอลหญ้าเทียม ในจังหวัดมหาสารคาม
DOI:
https://doi.org/10.14456/ajmt.2023.5คำสำคัญ:
ปัจจัยส่วนบุคคล, สนามฟุตบอลหญ้าเทียม , ส่วนประสมทางการตลาดบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการเลือกใช้บริการสนามฟุตบอลหญ้าเทียมในจังหวัดมหาสารคาม และ 2) เปรียบเทียบระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการเลือกใช้บริการสนามฟุตบอลหญ้าเทียมของผู้ใช้บริการที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ใช้บริการสนามฟุตบอลหญ้าเทียมในจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 200 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า ผู้ใช้บริการสนามหญ้าเทียมให้ความสำคัญกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ทั้ง 7 ด้าน โดยรวมอยู่ระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางจัดจำหน่าย ด้านบุคลากร ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านกระบวนการ และด้านลักษณะทางกายภาพ ตามลำดับ และผู้ใช้บริการสนามฟุตบอลหญ้าเทียมที่มีปัจจัยส่วนบุคคล ด้านอายุ อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกัน ให้ระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการเลือกใช้บริการแตกต่างกัน ทั้งนี้ผู้ประกอบการสามารถนำผลการศึกษาไปใช้ในการวางแผนทำธุรกิจสนามหญ้าเทียมเพื่อสร้างความพึงพอใจต่อลูกค้าในการใช้บริการ
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (2560-2564). กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
จีรวัฒน์ อุส่าห์ดี, นิชานาถ มานุจำ, ณัฐกิตติ์ นะรานรัมย์, และ วิจิตรา โพธิสาร. (2564). ส่วนประสมทางการตลาดและ
การกลับมาซื้อซ้ำของลูกค้าร้านกุนเชียง 5 ดาวในจังหวัดสุรินทร์. วารสารวิชาการเทคโนโลยีการจัดการ, 2(1),
-16.
ตฤณสิษฐ์ วรพันธ์พิมล, อิราวัฒน์ ชมระกา, และ ชัชชัย สุจริต. (2565). คุณภาพการบริการและความไว้วางใจของลูกค้าที่มีต่อการตัดสินใจเข้าใช้บริการสนามฟุตบอลหญ้าเทียมอุตรดิตถ์ยูไนเต็ด. วารสารวิทยาการจัดการ
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 4(3), 63-78.
ธวัชชัย เพชรศักดา. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกสนามฟุตบอลหญ้าเทียมของผู้ใช้ในจังหวัดเชียงใหม่.
(การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยแม่โจ้).
ธีรารัตน์ เพ็ชรโยธิน. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสนามฟุตบอลหญ้าเทียมของสนามฟุตบอล Non
Socce. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).
บุญเรียง ขจรศิลป์. (2549). สถิติวิจัย (พิมพ์ครั้งที่9). นนทบุรี: โรงพิมพ์พีเอส. พริ้นท์.
พรขวัญ เกาแกกูล, เสาวลี แก้วช่วย, นักรบ ระวังการณ์, และ วรรณชลี โนริยา. (2563). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดที่มีผลต่อการใช้บริการสนามฟุตบอลหญ้าเทียมในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ, 46(2), 283-295.
วทัญญู ลีวงศ์วรกุล. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจในการติดตามกีฬาฟุตบอลไทยของคนไทย. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).
วิวิธ เสนาวัตร. (2556). รูปแบบให้บริการที่มีประสิทธิผลของสนามฟุตบอลหญ้าเทียมในร่มในเขตกรุงเทพมหานคร.
วารสารสุทธิปริทัศน์, 27(83), 78-96.
เวนิส บรรพตา. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้บริการสนามฟุตบอลหญ้าเทียมให้เช่าของผู้ใช้บริการในเขตอำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์).
ศุภเชษฐ์ ทิตย์สีแสง. (2559). กลยุทธ์ทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการสนามฟุตบอลหญ้าเทียม ในเขตอำเภอ
เมือง จังหวัดเชียงใหม่. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยแม่โจ้).
สมบัติ ท้ายเรือคำ. (2551). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.
อภิทัย บำรุงพนิชถาวร. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกสนามฟุตบอลหญ้าเทียม: กรณีศึกษาผู้ใช้บริการ
สนามฟุตบอลหญ้าเทียม WINNING SEVEN.วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏ
มหาสารคาม, 6(2), 245-256.
อาทิตยา พาหิรัญ. (2554). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการที่มีผลต่อคนวัยทำงานในการเลือกสนามฟุตบอลหญ้า
เทียมให้เช่าในจังหวัดเชียงใหม่. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques (3rd ed.). New York : John Wiley and Sons Inc.
Hair, J., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis (7th ed.).
Kotler,P. & Keller,K. (2016). Marketing Management (15th ed.). NewJersey: Pearson Education.
Nunnally J.C. & Bernstein I.H. (1994). Psychometric theory (3rd ed.). New York: McGraw-Hill.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับคณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว