การบริหารจัดการอ้อยไฟไหม้
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการ , การวิเคราะห์ SWOT , อ้อยไฟไหม้บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางและมาตรการในการแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้ โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการระดมความคิดเห็นแบบกลุ่มย่อย (Focus Group) จากเกษตรกรชาวไร่อ้อย ผู้แทนสมาคมชาวไร่อ้อย ผู้แทนโรงงานน้ำตาล ผู้นำชุมชน และผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ในพื้นที่ 4 จังหวัดต้นแบบปลอดการเผาอ้อย ตัดอ้อยสด ได้แก่ กาญจนบุรี ราชบุรี ชัยภูมิ และเลย และใช้เครื่องมือใน การวิเคราะห์ คือ SWOT Analysis และ TOWS Matrix เพื่อกำหนดกลยุทธ์และแนวทางในการแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้ โดยได้แนวทางที่ควรดำเนินการในระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว ได้แก่ แนวทางระยะสั้น การรณรงค์ลด ละ เลิก เผาอ้อย และส่งเสริมให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ แนวทางระยะกลาง พัฒนาสถาบันเกษตรกรชาวไร่อ้อย นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาใช้ให้ครอบคลุมการผลิตอ้อยตัดสดทั้งระบบ ส่งเสริมการใช้เครื่องจักรกลการเกษตรขนาดเล็ก สร้างมูลค่าเพิ่มชีวมวลอ้อย และแนวทางระยะยาว วางรากฐานการแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้อย่างตรงจุด ด้วยการบังคับใช้กฎหมายระเบียบต่าง ๆ จากนั้นดำเนินการวิจัยเพื่อป้องกันปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภัยธรรมชาติ ขยายผลสู่การปฏิบัติจริง ร่วมกับสร้างมาตรการทางสังคม ควบคู่กับมาตรการทางกฎหมายเพื่อแก้ไขและป้องปรามเพื่อนำไปสู่การจัดการปัญหาอ้อยไฟไหม้ที่เป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืน
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับคณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว