ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาพลักษณ์และการรับรู้คุณภาพการบริการ ของประชาชนที่ใช้บริการสถานีรถไฟจังหวัดนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
การรับรู้ , คุณภาพบริการ , ภาพลักษณ์, สถานีรถไฟจังหวัดนครศรีธรรมราชบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการรับรู้ภาพลักษณ์ของสถานีรถไฟนครศรีธรรมราช 2) ศึกษาการรับรู้คุณภาพการบริการของประชาชนที่มาใช้บริการ และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาพลักษณ์กับการรับรู้คุณภาพการบริการของประชาชนที่มาใช้บริการสถานีรถไฟนครศรีธรรมราช ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ ประชาชนที่มาใช้บริการสถานีรถไฟนครศรีธรรมราช กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณของยามาเน่ (Yamane) จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า 1) การรับรู้ภาพลักษณ์ของสถานีรถไฟนครศรีธรรมราช ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านช่องทางกระจายสินค้า รองลงมา คือ ด้านราคา ด้านสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านการบริการ ด้านองค์การ ด้านการส่งเสริมการตลาด ตามลำดับ 2) การรับรู้คุณภาพการบริการของประชาชนที่มาใช้บริการ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านลักษณะทางกายภาพของการให้บริการ รองลงมา คือ ด้านความเชื่อถือไว้วางใจได้ ด้านการตอบสนองต่อลูกค้า ด้านการเข้าใจและเห็นใจผู้รับบริการ ด้านการให้ความมั่นใจต่อลูกค้า ตามลำดับ 3) การรับรู้ภาพลักษณ์กับการรับรู้คุณภาพการบริการของประชาชนที่มาใช้บริการสถานีรถไฟนครศรีธรรมราช มีความสัมพันธ์ทางบวก อยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งสามารถนำผลการวิจัยไปเป็นแนวทางในการส่งเสริมแก้ไขภาพลักษณ์ ทำกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดต่อการเลือกใช้บริการของผู้โดยสาร เพื่อตอบสนองความต้องการและการตัดสินใจเลือกใช้บริการขนส่งรถไฟของผู้โดยสารต่อไป
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับคณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว