ความพอใจต่อคุณลักษณะของรสชาติและการบรรจุภัณฑ์ของการแปรรูปเครื่องในโค

ผู้แต่ง

  • จักเรศ เมตตะธำรงค์ คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร https://orcid.org/0000-0003-2389-2155
  • กนกอร นักบุญ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร
  • กรรณิการ์ สมบุญ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร
  • ศิริพร สารคล่อง คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร
  • เดือนรุ่ง สุวรรณโสภา คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร
  • ชเวง สารคล่อง คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร
  • จุฬาสินี แมนสถิตย์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร

คำสำคัญ:

ความพอใจ, รสชาติ, บรรจุภัณฑ์, การแปรรูปเครื่องในโค

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพอใจต่อคุณลักษณะของรสชาติและการบรรจุภัณฑ์ของการ   แปรรูปเครื่องในโค การวิจัยครั้งนี้ใช้เทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบร่วม (Conjoint analysis) กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ ผู้บริโภคที่อยู่ในจังหวัดสกลนคร นครพนม มุกดาหาร และกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ จำนวน 400 คน การสร้างเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งได้มาจากการศึกษาวรรณกรรม และงานวิจัยที่ทำการศึกษาก่อนหน้านี้ เพื่อสกัดคุณลักษณะ (Attribute) และค่าระดับ (Level) ซึ่งได้คุณลักษณะออกมา 3 คุณลักษณะคือ รสชาติ ลักษณะของบรรจุภัณฑ์ และขนาดบรรจุ โดยที่รสชาติมี 4 ระดับ ลักษณะของบรรจุภัณฑ์มี 2 ระดับ และขนาดบรรจุภัณฑ์มี 3 ระดับ จากนั้น นำแต่ละคุณลักษณะไปสร้างแบบสอบถามและนำไปเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง ดำเนินการวิเคราะห์ ผลการวิจัยความพอใจต่อคุณลักษณะของรสชาติและการบรรจุภัณฑ์ของการแปรรูปเครื่องในโคมีดังนี้ องค์ประกอบที่มีค่าปัจจัยความสำคัญมากที่สุดคือ รสชาติมีค่าความสำคัญที่ 37.61 รองลงมาคือลักษณะของขนาดบรรจุภัณฑ์ และลักษณะของบรรจุภัณฑ์ มีค่าความสำคัญอยู่ที่ 35.61 และ 26.77 ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์อรรถประโยชน์รวมชี้ให้เห็นว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่พึงพอใจเครื่องในโครสชาติเค็ม ลักษณะของขนาดบรรจุภัณฑ์ขนาด 50 กรัม และลักษณะของบรรจุภัณฑ์เป็นถุงอลูมิเนียมฟอยล์

Author Biography

จักเรศ เมตตะธำรงค์, คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร

Mettathamrong, Jakret., Prajudtasri, Parnisara., and Rattanaphunt, Chudchai. (2016). Knowledge Management model for group career development in Sakon Nakhon Province. The 12th International Conference “ASIAN Community Knowledge Networks for the Economy, Society, Culture, and Environmental Stability”, 6-11 June 2016, Century Park Hotel & University of the Philippines, Diliman Campus.

Mettathamrong, Jakret. (2017). The Effects of Mobile Phone Using Habits among Thai Teenagers and Youths on Their Daily Routines. The 13th International Conference “ASIAN Community Knowledge Networks for the Economy, Society, Culture, and Environmental Stability”, 8-12 July 2017, University of Miyazaki, Japan.

จักเรศ เมตตะธำรงค์, จันทิมา พรหมเกษ, และ ชัดชัย รัตนะพันธ์. (2560). ปัจจัยการรวมกลุ่มเพื่อพัฒนาอาชีพของชาวบ้านในจังหวัดสกลนคร. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, 9(12), 140-158.

จักเรศ เมตตะธำรงค์, วรรณิดา สารีคำ และ สมชาติ ดีอุดม. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลในการมีส่วนร่วมของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานวิทยาเขตสกลนครต่อการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม. วารสารศรีปทุมปริทัศน์, 18(2), 7-17.

จักเรศ เมตตะธำรงค์, วรรณิดา สารีคำ และ ปาณิสรา ประจุดทะศรี. (2561). องค์ประกอบปัจจัยในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน, วารสารการจัดการสมัยใหม่, 16(2) (กรกฎาคม-ธันวาคม 2561), 29-41.

จักเรศ เมตตะธำรงค์, จันทิมา พรหมเกษ และ กนกกาญจน์ วิชาศิลป์. (2562). ปัจจัยเชิงสาเหตุพื้นฐานของผู้ประกอบการที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจการของวิสาหกิจชุมชนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. วารสาร Veridian E-Journal, Silpakorn University, Humanities, Social Sciences and arts, 12(1), January – February, 38-50.

จักเรศ เมตตะธำรงค์, จันทิมา พรหมเกษ และ กนกกาญจน์ วิชาศิลป์. (2562). การวิเคราะห์โมเดลองค์ประกอบเชิงยืนยันของการบริหารจัดการวิสาหกิจชุนในจังหวัดสกลนครเพื่อมุ่งสู่ไทยแลนด์ 4.0. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 7(3), 249-260.

จันทิมา พรหมเกษ, จักเรศ เมตตะธำรงค์ และ วรรณิดา สารีคำ. (2562). ผลกระทบของศักยภาพผู้ประกอบการสมัยใหม่ และนวัตกรรมการตลาดที่มีผลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี, 13(2), 79-96.

ธนพล เมตตะธำรงค์, อติ ไทยานันท์ และ จักเรศ เมตตะธำรงค์. (2562). การวัดประสิทธิภาพการดำเนินงานกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ในประเทศไทย โดยวิธี Data envelopment analysis. Veridian E-Journal, Silpakorn University, Humanities, Social Sciences and arts, 12(6), 1262-1279.

 วรรณิดา สารีคำ, จันทิมา พรหมเกษ และ จักเรศ เมตตะธำรงค์. (2562). ศักยภาพการจัดการห่วงโซ่อุปทานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่มีต่อผลการดำเนินงานของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรในจังหวัดสกลนคร. วารสาร Veridian E-Journal, Silpakorn University, Humanities, Social Sciences and arts, 12(5), 1482-15000

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-19