คุณลักษณะหลักของผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรในจังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • เฉลิมเจษฎ์ สมานุหัตถ์
  • ชาติชาย จรัญศิริไพศาล
  • อัษฎา วรรณกายนต์

คำสำคัญ:

คุณลักษณะ, สมรรถนะหลัก, ผู้จัดการสหกรณ์การเกษตร

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบริบท ปัญหาและอุปสรรคของคุณลักษณะหลักของผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรในจังหวัดสุรินทร์ และเพื่อศึกษากำหนดรูปแบบแนวทางคุณลักษณะหลักของผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรในจังหวัดสุรินทร์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ที่ใช้วิธีการศึกษาแบบการวิจัยเชิงอนาคต การศึกษาผู้วิจัยใช้เทคนิคการวิจัยแบบเดลฟาย ซึ่งเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลความคิดเห็นจากผู้จัดการสหกรณ์การเกษตร และผู้เชี่ยวชาญ ผู้มีประสบการณ์ด้านการสหกรณ์การเกษตรในจังหวัดสุรินทร์ จำนวน 18 คน และพัฒนาเป็นแบบสอบถามสำหรับเก็บข้อมูลจากสมาชิก เจ้าหน้าที่ บุคลากร หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในกลุ่มเกษตรกรและสหกรณ์การเกษตร จำนวน 200 คน เพื่อให้ได้ข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์ความตรงเชิงโครงสร้างกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยใช้สถิติการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ด้วยโปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลทางสังคมศาสตร์ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เพศชาย ร้อยละ 74.20 เพศหญิง ร้อยละ 25.80 จำแนกอายุ 36-40 ปี ร้อยละ 35.46 อายุ 31-35 ปี ร้อยละ 33.01 อายุต่ำกว่า 30 ปี ร้อยละ 21.84 อายุ 40 ปีขึ้นไป ร้อยละ 9.69 จำแนกตามวุฒิการศึกษา ปริญญาตรี ร้อยละ 44.25 คน มัธยมศึกษา ร้อยละ 34.77 ประถมศึกษา ร้อยละ 18.39 สูงกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 2.59 จำแนกรายได้ต่อเดือน มีรายต่อเดือน  20,001-30,000 บาท ร้อยละ 37.36  มีรายได้ต่อเดือน 1,001-20,000 บาท ร้อยละ 33.70 มีรายได้ต่อเดือนสูงกว่า 30,000 บาท ร้อยละ 11.70 มีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 10,000 บาท ร้อยละ 17.24 เมื่อพิจารณาน้ำหนักปัจจัยด้านทักษะ พบว่า ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละองค์ประกอบ พบว่า ด้านการใช้คำพูด ด้านทักษะพฤติกรรม มีความต้องการมากที่สุด ด้านทักษะการเขียน ด้านทักษะการใช้ภาษา มีความต้องการรองลงมาตามลำดับ ด้านความรู้ พบว่า ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละองค์ประกอบ พบว่า ด้านความรู้ทางด้านวิธีการ ด้านความรู้เรื่องการจัดการทั่วไป มีความต้องการมากที่สุด ด้านความรู้ทางด้านเทคนิค ด้านความรู้ในเรื่องอื่นๆ มีความต้องการรองลงมาตามลำดับ ด้านแรงจูงใจ พบว่า ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายละเอียดแต่ละองค์ประกอบ พบว่า ด้านแรงจูงใจที่มาจากตนเอง ด้านแรงจูงใจจากบุคคลภายนอก ด้านแรงจูงใจที่มาจากสมาชิกและเจ้าหน้าที่ มีความต้องการมากที่สุด ด้านสมรรถนะหลัก พบว่า อยู่ในเกณฑ์ระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละองค์ประกอบ พบว่า ด้านภายในองค์กร ด้านภาวะผู้นำ มีความต้องการมากที่สุด ด้านทัศนคติ ด้านองค์ประกอบด้านอื่นๆ มีความต้องการรองลงมาตามลำดับ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-13