เกาะหมาก: แบบจำลองการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่ยั่งยืน ศักยภาพและปัจจัยความสำเร็จ
DOI:
https://doi.org/10.14456/tisr.2025.28คำสำคัญ:
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ, เกาะหมาก, ความยั่งยืน, การจัดการทรัพยากร, การมีส่วนร่วมของชุมชนบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ศึกษาศักยภาพและปัจจัยความสำเร็จของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศบนเกาะหมาก จังหวัดตราด โดยใช้แนวทางวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำคัญ 25 คน ครอบคลุมภาครัฐ เอกชน ภาคการศึกษา และชุมชน ผลการวิจัยพบว่า เกาะหมากมีศักยภาพสูงด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ประกอบด้วย 1) ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว 2) การจัดการที่ดินอย่างยั่งยืน 3) การให้ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม และ 4) การมีส่วนร่วมของชุมชน นอกจากนี้ ยังพบปัจจัยความสำเร็จ 5 ประการ ได้แก่ 1) การจัดการสิ่งแวดล้อม 2) การจัดการความรู้ 3) การเป็นแหล่งท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ 4) การยกระดับประสบการณ์การท่องเที่ยว และ 5) การมีส่วนร่วมจากหลายภาคส่วน การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า การพัฒนาการท่องเที่ยวบนเกาะหมากไม่เพียงมุ่งเน้นการอนุรักษ์ธรรมชาติ แต่ยังรวมถึงการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ การบูรณาการความรู้ทางวิชาการ และความร่วมมือจากทุกภาคส่วน งานวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เป็นกรอบแนวทางในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนในพื้นที่อื่นๆ และเป็นกรณีศึกษาที่สำคัญสำหรับการวางแผนด้านการท่องเที่ยวระดับภูมิภาคและประเทศ
References
กมลกนก เกียรติศักดิ์ชัย และ ชื่นชนก โควินท์. (2563). สมรรถนะของคนในชุมชนเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำในพื้นที่เกาะหมาก จังหวัดตราด. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 14(2), 16-30.
กรมการท่องเที่ยว. (2557). รายงานผลการจัดทำแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวสีเขียว โครงการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวสีเขียว (Green Tourism). กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
กรมการท่องเที่ยว. (2565). แผนพัฒนาบริการท่องเที่ยว พ.ศ.2566-2570. สืบค้นจาก www.dot.go.th/storage/กองพัฒนาบริการ/แผนกองฯ/QtftdpYXKOCrXLds1f5xJfseslXaXcpgu3q3oDnM.pdf.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการท่องเที่ยวสีเขียว (Green Tourism). สืบค้นจาก http://tourismlibrary.tat.or.th/medias/T26666.pdf.
ชาคริต อ่องทุน และ นรินทร์ สังข์รักษา. (2562). การปฏิบัติที่เป็นเลิศในการจัดการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำ: กรณีศึกษาชุมชนในภาคตะวันออกของไทย. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 13(2), 374-384.
ธนภูมิ ปองเสงี่ยม และ พยอม ธรรมบุตร. (2558). ศักยภาพทรัพยากรการท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 8(2), 17-26.
นิคมศม อักษรประดิษฐ์ และ ธีรศักดิ์ อุ่นอารมย์เลิศ. (2560). กระบวนการบริหารจัดการการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Tourism) กรณีศึกษาพื้นที่เกาะหมาก จังหวัดตราด. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 9(2), 205-216.
นิคมศม อักษรประดิษฐ์ และ ธีรศักดิ์ อุ่นอารมย์เลิศ. (2560). กระบวนการบริหารจัดการการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Tourism) กรณีศึกษาพื้นที่เกาะหมาก จังหวัดตราด. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 9(2), 205-216.
บุตรี จารุจินดา, กมลพร กัลยาณมิตร, สถิตย์ นิยมญาติ และ ทัศนีย์ ลัขณาภิชนชัช. (2567). การพัฒนาการท่องเที่ยวภาคตะวันออกให้มีชื่อเสียงในระดับนานาชาติ. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 13(2), 174-190.
ภัญนภัส พฤกษากิจ, ปิยาภรณ์ รัตโนภาส, จาตุรันต์ แช่มสุ่น และ ลัญจกร สัตย์สงวน. (2565). ความพึงพอใจของชุมชนบนเกาะหมาก เพื่อเป็นการยกระดับการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวต้นแบบ. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 10(2), 138-147.
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน). (2565). The Net Zero Promise. สืบค้นจาก www.dasta.or.th/uploads/file/202301/1674014283_f0f805cf87926b73d899.pdf.
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน). (2563). แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำในพื้นที่พิเศษ. กรุงเทพฯ: องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน).
อนุวัฒน์ ชมภูปัญญา และ ธนัสถา โรจนตระกูล. (2565). การพัฒนาศักยภาพชุมชนแบบมีส่วนร่วมสู่ชุมชนท่องเที่ยวที่ยั่งยืน. วารสารการพัฒนาการเรียนรู้สมัยใหม่, 7(8), 414-430.
อารยา สุนทรวิภาต, ลักษมณ บุญมา, ธัชนันท์ สังวาลย์, กนกรัชต์ กาสาวพานิชย์ และ พัชรี ปรีเปรมโมทย์. (2565). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว และแนวทางการยกระดับการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน: เกาะหมาก จังหวัดตราด. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์, 4(4), 297-312.
อิสระพงษ์ พลธานี และ อุมาพร บุญเพชรแก้ว. (2560). องค์ประกอบศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลเกาะหมาก จังหวัดตราด. วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์, 12(24), 95-102.
Boonratana, R. (2010). Community-Based Tourism in Thailand: The Need and Justification for an Operational Definition. Kasetsart Journal of Social Sciences, 31(2), 280-289.
Buckley, R. (2020). Nature tourism and mental health: parks, happiness, and causation. Journal of Sustainable Tourism, 28(9), 1409-1424.
Dodds, R., & Holmes, M. (2020). Is Blue Flag certification a means of destination competitiveness? A Canadian context. Ocean & Coastal Management, 192, 105192.
Gössling, S., Peeters, P., Ceron, J., Dubois, G., Patterson, T., & Richardson, R. (2005). The eco-efficiency of tourism. Ecological Economics, 54(4), 417-434.
Li, J., Hu, Y., & Li, S. (2022). Green tourism management in protected areas: A system-based approach. Journal of Sustainable Tourism, 30(5), 893-907.
Lopez, E., Perez, A., & Garcia, M. (2021). Stakeholder collaborations in eco-tourism: Key factors for community engagement. Journal of Ecotourism, 20(3), 245-259.
Stone, L., & Stone, T. (2011). Community-based tourism enterprises: challenges and prospects for community participation; Khama Rhino Sanctuary Trust, Botswana. Journal of Sustainable Tourism, 19(1), 97-114.
UN Tourism. (2021). Guidelines for integrated sustainable tourism development. Madrid: UN Tourism.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 Authors

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.