ยุทธศาสตร์การพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นเพื่อส่งเสริม ทักษะการเป็นผู้ประกอบการสมัยใหม่

ผู้แต่ง

  • กัลยา นาคลังกา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • ขวัญมิ่ง คำประเสริฐ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • เกรียงไกร โพธิ์มณี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • ปิยะลักษณ์ อัครรัตน์ โรงเรียนร่วมฤดีวิเทศศึกษา ราชพฤกษ์

DOI:

https://doi.org/10.14456/tisr.2025.23

คำสำคัญ:

ยุทธศาสตร์การพัฒนา, หลักสูตรระยะสั้น, ทักษะการเป็นผู้ประกอบการสมัยใหม่

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการ รวมถึงสภาพแวดล้อมภายในและภายนอก และสร้างยุทธศาสตร์การพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นเพื่อส่งเสริมทักษะการเป็นผู้ประกอบการสมัยใหม่ ผลการวิจัยพบว่า 1) วิชาที่มีความต้องการเรียนมากที่สุดคือ การตลาดออนไลน์ เวลาเรียนที่เหมาะสม คือ 6-8 ชั่วโมง 2 วันต่อสัปดาห์ สถานที่เรียนต้องมีความพร้อมด้านอุปกรณ์และเทคโนโลยี ผู้สอนมีความรู้และประสบการณ์จริง มีการรับรองคุณวุฒิ ระดับคะแนนทักษะการเป็นผู้ประกอบการสมัยใหม่ที่ต้องพัฒนาเพิ่มเติม ได้แก่ การคิดอย่างมีเหตุผล การจูงใจคน ภาษาต่างประเทศ กฎหมาย การใช้เทคโนโลยี การตลาด การเงินการบัญชี และการสร้างแบรนด์ 2) ยุทธศาสตร์การพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นเพื่อส่งเสริมทักษะการเป็นผู้ประกอบการสมัยใหม่ประกอบด้วย 2 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 หลักสูตรผู้ประกอบการมืออาชีพ มี 4 กลยุทธ์ย่อย ได้แก่ (1) กลยุทธ์ด้านทักษะการเป็นผู้ประกอบการ (2) กลยุทธ์ด้านทักษะด้านเทคนิค (3) กลยุทธ์ด้านทักษะการจัดการ (4) การประเมินผลการเรียนรู้ และยุทธศาสตร์ที่ 2 การบริหารจัดการหลักสูตรอย่างมีมาตรฐาน มี 6 กลยุทธ์ ได้แก่ (1) กลยุทธ์ด้านอาจารย์ (2) กลยุทธ์ด้านเวลาและสถานที่เรียน (3) กลยุทธ์ด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ (4) กลยุทธ์ด้านกลุ่มเป้าหมาย (5) กลยุทธ์ด้านหน่วยงานความร่วมมือ (6) กลยุทธ์ด้านหน่วยงานรับผิดชอบ

References

จุรี ทัพวงษ์, ปวริศา จรดล และ นภาภรณ์ ธัญญา. (2567). รูปแบบการจัดการศึกษาสำหรับผู้เรียนหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการ ของวิทยาลัยเทคนิคบางแสน. วารสารพุทธจิตวิทยา, 9(1), 37-50.

ดำรงค์ วัฒนา. (2566). การจัดทำยุทธศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิธิภักดิ์ กทิศาสตร์, ธารีรัตน์ ขูลีลัง, ณฐภศา เดชานุเบกษา, ธนาภรณ์ ทัศนภักดิ์, นนทภรณ์ บุญจึงเจริญรัตน์ และ ปริญญา ทองคำ. (2565). กลยุทธ์การพัฒนาการจัดการศึกษาแบบบูรณาการระหว่างการทำงานกับการเรียนการสอน สำหรับหลักสูตรธุรกิจดิจิทัล. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 16(1), 185-195.

นุดี หนูไพโรจน์, จารุวรรณ นิธิไพบูลย์, ศุภโชคชัย นันทศรี และ ธิติพัฒน์ เอี่ยมนิรันดร์. (2565). การวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักสูตรอบรมระยะสั้นการผลิตสื่อโฆษณาดิจิทัล. วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมนิด้า, 9(2), 19-35.

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2566-2570).

พรประสิทธิ์ เด่นโมฬี. (2564). การพัฒนาหลักสูตรผู้ประกอบการด้วยการเรียนผ่านออนไลน์เพื่อส่งเสริมความเป็นผู้ประกอบการของนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. (2565). ข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครว่าด้วยการศึกษาตลอดชีวิตและระบบคลังหน่วยกิต พ.ศ.2565. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. (2566). แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. (2561). แนวทางการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้น. สืบค้นจาก https://nurse.sru.ac.th/wp-content/uploads/2018/08/25610814_แนวทางการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้น.pdf.

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. (2564). คู่มือการจัดทำหลักสูตรระยะสั้น. สืบค้นจาก https://issuu.com/acadsrru/docs/ilovepdf_merged_2_merged_2_1_.

รัตนธรรม์ จินดามังกร. (2566). ยุทธศาสตร์การจัดทำแผนพัฒนาชุมชนด้านคุณภาพชีวิตของประชาชนกรุงเทพมหานคร: กรณีศึกษา กลุ่มกรุงเทพเหนือ. ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (ม.ป.ป.). การจัดการศึกษาในระบบธนาคารหน่วยกิตระดับอุดมศึกษา. สืบค้นจาก https://regis.dusit.ac.th/main/wp-content/uploads/simple-file-list/4_การจัดการศึกษาในระบบธนาคารหน่วยกิตระดับอุดมศึกษา-สกอ.pdf.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2565). รายงานสถานการณ์ MSME ปี 2565. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2565). สำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม พ.ศ.2565. สืบค้นจาก www.nso.go.th/nsoweb/sammano3/.

สุดฉกาจ สุดแก้ว. (2563). การศึกษารูปแบบการเรียนรู้ การสร้างทักษะผู้ประกอบการของกลุ่มครูผู้สอน สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย ในประเทศไทย ในบริบทการศึกษา นอกระบบ (Non-formal education). สารนิพนธ์ การจัดการมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล.

สุรเกียรติ ธาดาวัฒนาวิทย์. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นผู้ประกอบการสมัยใหม่ของผู้ประกอบการรายใหม่ด้านอุตสาหกรรมบริการและท่องเที่ยว. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม, 12(2), 42-54.

อังคณา เรืองชัย. (2555). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้น เรื่อง การทำน้ำสมุนไพรเพื่อเป็นอาชีพเสริมในครอบครัว. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

Constable, A. (2021). Key Skills of a 21st-Century Entrepreneur and Why They're Important. Retrieved from www.forbes.com/councils/forbescoachescouncil/2021/12/28/key-skills-of-a-21st-century-entrepreneur-and-why-theyre-important/.

Derrow, C. (2022). Key Tech Skills for Modern Entrepreneurs. Retrieved from www.entrepreneurshiplife.com/key-tech-skills-for-modern-entrepreneurs/.

Goodwin University. (2022). Hard, Technical, and Soft Skills that Every Entrepreneur Should Learn. Retrieved from www.goodwin.edu/enews/entrepreneur-skills-to-learn/.

Karan, R. (2024). 10 Entrepreneurial Skills Every Professional Must Develop. Retrieved from www.shiksha.com/online-courses/articles/entrepreneurial-skills/.

Tarver, E. (2024). 5 Skills Every Entrepreneur Should Have. Retrieved from www.investopedia.com/articles/personal-finance/080615/5-skills-every-entrepreneur-needs.asp.

Thompson, J. (2023). Part of the Job: 7 Skills All Entrepreneurs Must Master. Retrieved from www.business.com/articles/7-skills-all-entrepreneurs-must-master/.

United Nations Development Programme. (2021). Youth Social Entrepreneurship-Some learnings for success. Retrieved from www.undp.org/asia-pacific/news/youth-social-entrepreneurship-some-learnings-success.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-02-16

How to Cite

นาคลังกา ก., คำประเสริฐ ข., โพธิ์มณี เ., & อัครรัตน์ ป. (2025). ยุทธศาสตร์การพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นเพื่อส่งเสริม ทักษะการเป็นผู้ประกอบการสมัยใหม่. สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย, 14(1), บทความที่ 23. https://doi.org/10.14456/tisr.2025.23